ข้ามไปเนื้อหา

ครอบฟันสี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ครอบฟันสี
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Malvales
วงศ์: Malvaceae
สกุล: Abutilon
สปีชีส์: A.  indicum
ชื่อทวินาม
Abutilon indicum
(Link) Sweet[1]
ชื่อพ้อง[2] [3]
รายการ
  • Abutilon asiaticum (L.) Sweet
  • Abutilon badium S.A. Husain and Baquar
  • Abutilon cavaleriei H.Lév.
  • Abutilon cysticarpum Hance ex Walp.
  • Abutilon indica
  • Abutilon indicum var. microphyllum Hocr.
  • Abutilon indicum var. populifolium (Lam.) Wight and Arn.
  • Abutilon indicum var. populifolium Wight and Arn. ex Mast
  • Abutilon populifolium (Lam.) G.Don
  • Abutilon populifolium (Lam.) Sweet
  • Sida asiatica L.
  • Sida indica L.
  • Sida populiflora Lam.
ครอบฟันสี (Abutilon indicum) หรือ Indian abutilon
ภาพประกอบทางพฤกษศาสตร์ ครอบฟันสี (Abutilon indicum)

ครอบฟันสี หรือ มะก่องข้าว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Abutilon indicum) ชื่อสามัญ: Country mallow เป็นไม้พุ่มที่เป็นวัชพืชและพืชในตำรับยาสมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณหลากหลาย มีดอกสีเหลืองล้วน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

[แก้]

ครอบฟันสี (A. indicum) เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก อาจยืนต้นหรืออายุสั้นปีเดียวแบบพืชล้มลุก [4] ลำต้นตั้งตรงแตกหลายกิ่ง สูง 1 - 2.5 ม. เปลือกต้นสีเทาแตกลาย (ในประเทศไทยมักไม่สูงเกิน 1.5 เมตร) บริเวณลำต้นและปลายกิ่งอ่อนอาจแกมสีแดง

ใบ รูปหัวใจ กลมค่อนไปทางรี ปลายใบแหลม ยาว 3 - 9 ซม. กว้าง 2.5 - 7 ซม .ขอบใบหยักไม่สม่ำเสมอปลายหยักแหลม (serrate) เนื้อใบบางถึงค่อนข้างหนา ก้านใบย่อยขนาด 1-2 มม. มักโค้งออกด้านนอก ก้านใบยาว 2-4 ซม. ก้านใบสีเทามีขนเล็กน้อยขึ้นประปราย ขนสีขาวนวลหรือเทาอ่อน ยาว 1 มม. [5]

ดอก เดี่ยว สีเหลืองล้วน หรือสีแสดเหลืองล้วน ดอกกลมมีกลีบดอกหมุนและอาจซ้อนหรือไม่ซ้อนกัน ดอกออกตามซอกใบ เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 - 2.5 ซม. ก้านดอกยาว 4 -5 ซม. เป็นปล้อง ๆ ใกล้ปลายก้าน (มีติ่งช่วงปลายก้าน) สีเทาแกมเหลือง กลีบเลี้ยงสีเขียวรูปกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 6-10 มม. มีขนสีเทาหนาแน่น กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่แบบกว้างปลายยอดแหลม กลีบดอกสีเหลืองสม่ำเสมอ กลีบดอก 7-8 มม. ก้านเกสรเป็นสะเก็ด ก้านเกสรและก้านชูอับเรณูสั้น อับเรณูสีเหลือง รังไข่ 15-20 ตำแหน่ง [5]

ผล ทรงกลมแป้นหัวตัด หรือค่อนไปทางทรงกระบอกเล็กน้อย เป็นรูปเฟือง มีฟัน (mericarp) 15 - 20 ซีก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 ซม. ปลายค่อนข้างแหลม ในส่วนขอบบนของผลหักเป็นมุมฉากและมีจะงอยสั้น ๆ มีขนปกคลุมแน่นที่โคนผล เมล็ด 2-3 เมล็ดต่อซีก เมล็ดรูปไต มีขนรูปดาวปกคลุมเมล็ดมีลักษณะเป็นเกล็ดเบาบาง [6][7]

ครอบฟันสี (A. indicum) มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์คล้ายกับ ครอบจักรวาล (A. hirtum) แต่ครอบฟันสีมีลักษณะเด่น คือ ใบยาวทรงรี ขอบใบหยักน้อย ดอกสีเหลืองล้วน (ไม่มีจุดกลางดอกสีแดงเข้ม) [8]

อนุกรมวิธานและการตั้งชื่อ

[แก้]

ครอบฟันสี (Abutilon indicum) ชื่ออื่น: มะก่องข้าว ก่องข้าว (เชียงใหม่) โผงผาง (โคราช)[9] ฟันสี (ภาคกลาง) [10] country mallow และชื่อที่กำกวมซ้ำมักใช้สับสนกับพืชในสกุลเดียวกันและมีลักษณะใกล้เคียงกัน ได้แก่ ครอบจักรวาล (Abutilon hirtum) และ ปอบแปบ (Abutilon theophrasti) ชื่ออื่นในต่างประเทศ ได้แก่

การแพร่กระจายและถิ่นกำเนิด

[แก้]

เอเชียตะวันออก (ภาคใต้ของจีน) อนุทวีปอินเดีย เอเชียอาคเนย์ทั้งภาคพื้นทวีปและภาคมหาสมุทร ได้แก่ เมียนมาร์ ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย

มีหลายชนิดย่อย ในประเทศไทยมีชนิดย่อย A. indicum var. guineense (Schumach.) K.M.Feng และ A. indicum subsp. albescens (Miq.) Borss.Waalk.

นิเวศวิทยา

[แก้]

ครอบฟันสี (A. indicum) เป็นวัชพืชที่พบได้ทั่วไปในป่าพงรกร้าง บริเวณที่โล่ง แสงแดดส่องถึงตลอดวัน และแถบอากาศร้อนกึ่งอบอุ่น เติบโตได้ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลถึงระดับความสูง 1,600 ม. [12] ถูกระบุว่าเป็นเป็นวัชพืชต่างถิ่นรุกรานในเอเชียและโอเชียเนีย แต่ยังไม่ถือว่าเป็นภัยคุกคามในระดับสูง ครอบฟันสีถูกใช้อย่างแพร่หลายในระดับท้องถิ่นในฐานะพืชสมุนไพรโบราณ และอาจได้รับการแนะนำให้นำเข้าเพาะปลูกเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ [7] ครอบฟันสีหลุดรอดจากการเพาะปลูกและแพร่กระจายเป็นวัชพืชในเขตร้อนได้ง่าย [13]

เคมี

[แก้]

ทั้งต้น มีสารสำคัญกลุ่ม Flavonoid glycoside ได้แก่ Gossypin, Gossypitrin, Cyanidin-3-rutinoside [14]

  • ใบ มีสารสำคัญกลุ่ม Mucilage, Tannins [14]
  • ราก มีสารสำคัญกลุ่ม Asparagin [14]
  • เมล็ด มีสารสำคัญกลุ่ม β-Sitosterol
  • กากเมล็ด ประกอบด้วย Raffinose (C18  H32  O16) [14]

การใช้ประโยชน์

[แก้]
ครอบฟันสี (Abutilon indicum)

โดยทั่วไปในตำรับยาแผนโบราณ ส่วนต่าง ๆ ของครอบฟันสีใช้เป็นยาขับเสมหะ, ยาระบาย, ยาระบาย, ขับปัสสาวะ, ยากล่อมประสาท, ฝาดสมาน, ยาบำรุงกำลัง, แก้อาการชัก[15] ต้านการอักเสบ [16] ยาถ่ายพยาธิและยาแก้ปวด . และรักษาโรคเรื้อน แผลพุพอง ปวดหัว หนองใน และกระเพาะปัสสาวะอักเสบ [17] โดยใช้ส่วนต่าง ๆ ตากแห้งและบดเป็นผง ทั้งนี้การใช้ควบคุมโรคเบาหวานต้มกินเพื่อใช้คุมระดับน้ำตาลในเลือดยังไม่ได้รับผลการวิจัยยืนยัน [18]

ต้น ใช้บำรุงเลือด ช่วยขับลม แก้อาการชัก ในอินเดียซึ่งมีโรคที่เกี่ยวข้องกับการปนเปื้อนของฟลูออไรด์เกิดขึ้นในประชากรเกือบ 62 ล้านคน ลำต้น A. indicum ใช้ในการเตรียมถ่านกัมมันต์ของกรดไนตริกเพื่อกำจัดฟลูออไรด์ไอออนจากน้ำที่ปนเปื้อน [12] และได้รับการเสนอแนะว่าเป็นพืชที่มีศักยภาพในการใช้สำหรับการบำบัดสภาพดินที่ปนเปื้อนโลหะหนัก [12]

ใบ ใช้ต้มกับน้ำ ใช้อมบ้วนปาก แก้ปวดฟันและแก้เหงือกอักเสบ นอกจากนี้ยังใช้ กินเป็นยาหล่อลื่นขับเสมหะ ขับปัสสววะ [13] เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยเจริญอาหาร [8]

ราก แก้ลม ช่วยบำรุงธาตุ แก้มุตกิต และบรรเทาอาการไอ บำบัดรักษาไข้ผอมเหลือง ช่วยบำรุงกำลัง ใช้ กินเป็นยาขับปัสสาวะ [8]

ดอก ช่วยฟอกลำไส้ ใช้ กินเป็นยาขับปัสสาวะ [8]

เมล็ด ใช้เป็นยาระบายและมีประโยชน์ในกรณีของโรคริดสีดวงทวาร [13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Abutilon indicum". Pacific Island Ecosystems at Risk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-26. สืบค้นเมื่อ 2008-06-18.
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ WCSP
  3. http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-2610681
  4. http://www.qsbg.org/database/Botanic_Book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2052
  5. 5.0 5.1 http://www.dnp.go.th/botany/Herbarium/Archives/PlantGeneraOfThailand/abutilon.html
  6. ดร.ธารธรรมแก้ว เชื้อเมือง. สมุนไพรสำคัญที่ควรรู้. กรุงเทพฯ: กำแก้ว, 2545.
  7. 7.0 7.1 https://www.cabi.org/isc/datasheet/1979
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 https://landgreenday.blogspot.com/2019/07/blog-post_18.html
  9. http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_17_1.htm
  10. http://www.qsbg.org/database/plantdb/mdp/medicinal-specimen.asp?id=62
  11. "Archived copy". Archived from the original on 2016-12-18. Retrieved 2016-12-06. https://web.archive.org/web/20161218123731/http://www.ekamravan.in/medicinal_detail.htm
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 https://www.cabi.org/isc/datasheet/1979
  13. 13.0 13.1 13.2 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-21. สืบค้นเมื่อ 2020-11-04.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_17_1.htm
  15. Anticonvulsant activity of Abutilon indicum Leaf. Dharmesh K Golwala, Laxman D Patel, Santosh K Vaidya, Sunil B Bothara, Munesh Mani, Piyush Patel. International Journal of Pharmacy and Pharmaceutical Sciences (IJPPS) (ISSN 0975-1491), Sagar, India. 2010: Volume 2, Issue 1, page: 66-72. https://innovareacademics.in/journal/ijpps/Vol2Issue1/256.pdf
  16. Anti-inflammatory activity of Abutilon indicum Linn. Leaf. DK Golwala, LD Patel,SB Bothara, SK Vaidya, AR Sahu, S Kumar. Research Journal of Pharmaceutical & Technology (ISSN Online: 0974-360X; Print: 0974-3618), Raipur, India. 2010: Volume 3, Issue 1, page: 433-439. https://rjptonline.org/AbstractView.aspx?PID=2010-3-1-32
  17. Nishanta Rajakaruna; Cory S. Harris; G.H.N. Towers (2002). "Antimicrobial Activity of Plants Collected from Serpentine Outcrops in Sri Lanka" (PDF). Pharmaceutical Biology. 40 (3): 235–244. doi:10.1076/phbi.40.3.235.5825 https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1076/phbi.40.3.235.5825
  18. "เรื่องน่ารู้ของครอบฟันสี : ยาเบาหวาน ยาไต ยาแก้เจ็บคอ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-21. สืบค้นเมื่อ 2009-11-30.