ข้ามไปเนื้อหา

คดีระหว่างนายทะเบียนพรรคการเมือง กับพรรคประชาธิปัตย์ (2553)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คดีระหว่างนายทะเบียนพรรคการเมือง กับพรรคประชาธิปัตย์ (2553)
(คดียุบพรรคประชาธิปัตย์)
หน้าต้นและหน้าท้าย คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 15/2553
สาระแห่งคดี
ข้อกล่าวหา ผู้ร้องกล่าวหาว่า ผู้ถูกร้องได้ใช้ไปโดยผิดวัตถุประสงค์ซึ่งเงินที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดสรรให้
คำร้อง ผู้ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้อง และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าและกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้อง
คู่ความ
ผู้ร้อง นายทะเบียนพรรคการเมือง
(อภิชาต สุขัคคานนท์)
ผู้ถูกร้อง พรรคประชาธิปัตย์
ศาล
ศาล ไทย ศาลรัฐธรรมนูญ
องค์คณะ ชัช ชลวร
จรัญ ภักดีธนากุล
นุรักษ์ มาประณีต
บุญส่ง กุลบุปผา
สุพจน์ ไข่มุกด์
อุดมศักดิ์ นิติมนตรี
วินิจฉัย
" ยกคำร้อง "
คำวินิจฉัย
คำวินิจฉัย คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 15/2553
เรื่อง นายทะเบียนพรรคการเมืองขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์
ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2553
กฎหมาย พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550
เว็บไซต์
ดูเบื้องล่าง

คดีระหว่างนายทะเบียนพรรคการเมือง กับพรรคประชาธิปัตย์ (2553) เป็นคดีรัฐธรรมนูญในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2553 ซึ่ง อภิชาต สุขัคคานนท์ นายทะเบียนพรรคการเมือง ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวหาว่า พรรคประชาธิปัตย์ใช้จ่ายไปโดยผิดวัตถุประสงค์ของกฎหมายซึ่งเงินจำนวนยี่สิบเก้าล้านบาทที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดสรรให้จากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ขัดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 66 อนุมาตรา (2) และ (3) จึงขอให้ศาลมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ และตัดสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าและกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 98[1] [2]

คดีนี้ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2553 ด้วยมติสี่ต่อสองว่า กฎหมายกำหนดให้ผู้ร้องยื่นคำร้องมาภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ปรากฏแก่ตนว่าผู้ถูกร้องฝ่าฝืนกฎหมายอันเป็นเหตุให้ถูกยุบได้ มว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องมาล่วงระยะเวลาสิบห้าวันดังกล่าวนี้ จึงไม่ชอบที่จะพิจารณาวินิจฉัยคำร้องสืบไป และให้ยกคำร้อง[3]

ภาพรวม

[แก้]

คำร้องของผู้ร้อง

[แก้]

ผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2553 สรุปได้ว่า

  1. ข้อเท็จจริง
    1. ผู้ถูกร้องเป็นพรรคการเมือง ตามนิยามของ พ.ร.บ. พรรคการเมือง 2541 มาตรา 92 และ พ.ร.บ. พรรคการเมือง 2550 มาตรา 135 โดย พ.ร.บ. ทั้งสองให้พรรคการเมืองที่ได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนฯ มีหน้าที่ใช้เงินเช่นว่าโดยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกฎหมาย และมีหน้าที่จัดทำรายงานการใช้เงินดังกล่าวสำหรับแต่ละปีปฏิทินโดยถูกต้องตามความเป็นจริง แล้วเสนอรายงานนั้นต่อ กกต. ในปีปฏิทินถัดไป
    2. คณะกรรมการกองทุนฯ มีมติในการประชุมครั้งที่ 11/2547 (69) เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2547 จัดสรรเงินจากกองทุนฯ เป็นจำนวน หกสิบแปดล้านเจ็ดแสนเก้าหมื่นแปดพันสี่ร้อยบาท ให้แก่ผู้ถูกร้อง ตามที่ผู้ถูกร้องได้ขอมาเป็นเงินสิบเก้าล้านบาท สำหรับจะนำไปใช้ในโครงการของตนจำนวนยี่สิบเอ็ดโครงการ ในจำนวนนี้ ประกอบด้วย (1) โครงการจัดทำป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ริมทางหลวง จำนวนสองป้าย เป็นเงินสิบล้านบาท ทั้งที่จริงแล้ว มีทั้งหมดสิบป้าย และ (2) โครงการจัดทำป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ จำนวนหนึ่งแสนเจ็ดหมื่นห้าพันหนึ่งร้อยสิบห้าป้าย เป็นเงินสามสิบเจ็ดล้านเก้าแสนเก้าหมื่นเก้าพันเก้าร้อยห้าสิบห้าบาท ทั้งที่จริงแล้ว จัดทำไปเพียงหนึ่งแสนป้าย และสิ้นเงินสามสิบล้านบาท ในการขอเงินครั้งนี้ ผู้ถูกร้องแจ้งว่าได้สมทบเงินเข้ากองทุน เป็นจำนวนสิบแปดล้านเก้าแสนเก้าหมื่นเก้าพันเก้าร้อยห้าสิบห้าบาท ทั้งที่จริงแล้ว สมทบเข้ามาเพียงสิบเอ็ดล้านบาท
    3. กกต. ได้โอนเงินตามที่คณะกรรมการกองทุนฯ อนุมัติข้างต้น เข้าบัญชีของผู้ถูกร้องเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2548 เป็นเงินห้าสิบห้าล้านเจ็ดแสนสามหมื่นแปดพันสี่ร้อยบาท และต่อมาในวันที่ 10 มกราคม 2548 ผู้ถูกร้องได้เสนอมายังกองทุนฯ เพื่อขอปรับลดวงเงินในโครงการ (1) ลงแปดล้านบาท แล้วนำเงินแปดล้านบาทนั้นมารวมกับวงเงินของโครงการ (2) และคณะกรรมการกองทุนฯ เห็นชอบด้วย

คำให้การแก้คดีของผู้ถูกร้อง

[แก้]

ทางพิจารณา

[แก้]

ภาพรวม

[แก้]

ศาลรัฐธรรมนูญได้กำหนดประเด็นพิจารณาดังต่อไปนี้[3]

  1. ประเด็น 1 ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่
  2. ประเด็น 2 การกระทำของผู้ถูกร้อง อยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.พรรคการเมือง 2541 หรือ พ.ร.บ.พรรคการเมือง 2550
  3. ประเด็น 3 ผู้ถูกร้องใช้จ่ายไปตามโครงการซึ่งเงินอันได้รับอนุมัติจากกองทุนฯ หรือไม่
  4. ประเด็น 4 ผู้ถูกร้องทำขึ้นโดยถูกต้องซึ่งรายงานการใช้จ่ายเงินอันได้รับอนุมัติจากกองทุนฯ หรือไม่
  5. ประเด็น 5 มีเหตุให้ยุบพรรคผู้ถูกร้อง และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้เกี่ยวข้อง หรือไม่

โดยศาลกล่าวว่า "เพื่อให้การพิจารณาวินิจฉัยคดีเป็นไปตามลำดับที่เหมาะสม จึงเห็นควรวินิจฉัยในประเด็นที่ 2 ก่อน"

ประเด็น 2 การกระทำของผู้ถูกร้อง อยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.พรรคการเมือง 2541 หรือ พ.ร.บ.พรรคการเมือง 2550

[แก้]

สำหรับประเด็น 2 ซึ่งมีข้อพึงพิจารณาว่า การกระทำของผู้ร้องอยู่ในบังคับของกฎหมายฉบับใด ระหว่าง พ.ร.บ.พรรคการเมือง 2541 หรือ พ.ร.บ.พรรคการเมือง 2550 นั้น ศาลเห็นว่า[3]

  1. เนื่องจากผู้ร้องกล่าวหาว่า ผู้ถูกร้องฝ่าฝืนกฎหมายในช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2547-2548 เป็นเหตุให้ต้องยุบพรรคผู้ถูกร้อง โดยช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.พรรคการเมือง 2541 แต่ขณะยื่นคำร้อง พ.ร.บ.พรรคการเมือง 2541 ดังกล่าว ได้ถูกยกเลิกและแทนที่โดย พ.ร.บ.พรรคการเมือง 2550 แล้ว
  2. ดังนั้น ในส่วนสารบัญญัติ อันว่าด้วยการกระทำใดเป็นความผิดหรือไม่นั้น ต้องว่ากันตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง 2541 และส่วนวิธีสบัญญัติ อันว่าด้วยคดีจะต้องดำเนินไปเช่นไรนั้น ต้องว่ากันตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง 2550

ประเด็น 1 ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่

[แก้]

สำหรับประเด็น 2 ซึ่งมีข้อพึงพิจารณาว่า กระบวนการซึ่งผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้อง ได้ดำเนินไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือประการใดนั้น ศาลเห็นว่า[3]

  1. คดีนี้ ผู้ร้องกล่าวหาว่าผู้ถูกร้องได้ใช้ไปโดยผิดวัตถุประสงค์ซึ่งเงินที่ กกต. จัดสรรให้จากกองทุนฯ ในการนี้ พ.ร.บ.พรรคการเมือง 2550 มาตรา 93 วรรคสอง วางหลักเกณฑ์ให้ นายทะเบียน โดยความเห็นชอบของ กกต. ยื่นคำร้องเช่นว่าต่อศาลภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ปรากฏแก่นายทะเบียนว่าพรรคการเมืองนั้น ๆ มีเหตุจะต้องถูกยุบ เพราะฉะนั้น พึงพิเคราะห์เสียก่อนว่า นายทะเบียนได้ยื่นคำร้องมาตามหลักเกณฑ์นี้หรือไม่
  2. ข้อเท็จจริงฟังได้จากเอกสารของผู้ร้องเองว่า
    1. เดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 กรมสอบสวนคดีพิเศษ และเกียรติอุดม ส.ส. พท. ได้แจ้งให้ อภิชาต ซึ่งดำรงตำแหน่งทั้งประธาน กกต. และนายทะเบียน (ผู้ร้อง) ทราบ และขอให้ตรวจสอบว่าผู้ถูกร้องได้ฝ่าฝืน พ.ร.บ.พรรคการเมือง 2550 หรือไม่ เป็นสองกรณี คือ กรณีหนึ่ง ซึ่ง บ.ทีพีไอ จ่ายเงินค่าจ้างทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้แก่ บ.เมซไซอะ นั้น เป็นการอัน บ.ทีพีไอ กระทำขึ้นเพื่ออำพรางการที่ตนบริจาคเงินให้แก่ผู้ถูกร้อง ใช่หรือไม่ และอีกกรณีหนึ่ง ผู้ถูกร้องใช้เงินจากกองทุนฯ ไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และจัดทำรายงานการใช้เงินขึ้นโดยผิดไปจากความเป็นจริง ใช่หรือไม่
    2. หลังรับเรื่องแล้ว อภิชาตได้นำเรื่องเข้าที่ประชุม กกต. เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2552 และที่ประชุมมีมติให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนเรื่องดังกล่าว มีอิศระเป็นประธาน โดยคณะกรรมการเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าคดีไม่มีมูลทั้งสองกรณี จึงรายงานให้ กกต. ทราบ ต่อมาวันที่ 17 ธันวาคม 2552 กกต. ประชุมกัน (การประชุมครั้งที่ 144/2552) เพื่อพิจารณารายงาน แล้วลงมติด้วยเสียงข้างมาก ให้นายทะเบียนร้องคดีตามกฎหมาย แต่อภิชาต ในฐานะประธาน กกต. ซึ่งอยู่ในเสียงข้างน้อยเห็นว่า คดีไม่มีมูลทั้งสองกรณี กล่าวคือ กรณีบริจาคเงินนั้น เห็นว่า บ.ทีพีไอหาได้บริจาคเงินแก่ผู้ถูกร้องไม่ และกรณีการใช้เงินนั้น เห็นว่า ไม่พบความผิดปรกติในระบบเอกสารแต่ประการใด เชื่อว่าผู้ถูกร้องได้ใช้เงินไปโดยชอบแล้ว หากเป็นความผิดหลงของผู้กล่าวหาเอง
    3. หลัง กกต. มีมติให้นายทะเบียนร้องคดีดังกล่าวแล้ว วันที่ 29 ธันวาคม 2552 อภิชาต ในฐานะนายทะเบียน ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อเตรียมการตามกฎหมาย โดยมี มล.ประทีบ เป็นประธาน และคณะกรรมการนี้ทำงานเสร็จสิ้น พร้อมรายงานข้อเท็จจริงและความเห็นต่อนายทะเบียนในวันที่ 12 เมษายน 2553 วันเดียวกันนั้น อภิชาต ในฐานะประธาน กกต. ได้เรียกประชุม กกต. เป็นการด่วนเพื่อพิจารณารายงาน (การประชุม กกต. ครั้งที่ 41/2553) และที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ว่า ให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องโดยกระบวนวิธีตามกฎหมาย อภิชาตจึงบันทึกความเห็นไว้ในเอกสารว่า "ให้นายทะเบียนพรรคการเมือง โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบห้าวัน..."
    4. วันที่ 21 เมษายน 2553 กกต. จึงประชุมกันอีกครั้ง (การประชุม กกต. ครั้งที่ 43/2553) แต่อภิชาตขาดประชุม ในการนี้ ที่ประชุมลงมติเอกฉันท์ให้นายทะเบียนยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อมีคำสั่งให้ยุบพรรคผู้ถูกร้อง และให้ถือว่าความเห็นของอภิชาตในวันที่ 12 เมษายน 2553 ข้างต้น เป็นความเห็นของนายทะเบียน จากนั้น ในวันที่ 26 เมษายน 2553 ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อตั้งต้นคดี
  3. ศาลมีความเห็นเป็นสองทาง ซึ่งมีผลเป็นอย่างเดียวกัน คือ
    1. ทางหนึ่ง กฎหมายได้แยกอำนาจหน้าที่ระหว่างประธาน กกต. และนายทะเบียนไว้ชัดเจน แม้จะกำหนดให้ประธาน กกต. ทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนก็ตาม ประกอบกับนายทะเบียนไม่ได้มีอำนาจเข้าร่วมการประชุมของ กกต. ความเห็นที่อภิชาตทำไว้ในที่ประชุม กกต. ข้างต้นนั้น จึงเป็นความเห็นในฐานะประธาน กกต. หาใช่ในฐานะนายทะเบียนไม่ ที่ กกต. ให้ถือเช่นนั้น จึงนับว่าข้ามขั้นตอนอันเป็นสาระสำคัญที่กฎหมายวางไว้ เท่ากับว่ายังไม่มีการให้ความเห็นชอบแก่นายทะเบียนให้ไปยื่นคำร้องต่อศาล เพราะฉะนั้น นายทะเบียนจึงไม่มีอำนาจยื่นร้องคดีนี้ได้
    2. ทางหนึ่ง กรณีเงินบริจาค และกรณีการใช้งินนั้นกฎหมายวางหลักเกณฑ์ในการยื่นคำร้องต่างกันดังพรรณนามาแล้วข้างต้น ตามข้อเท็จจริงที่ฟังได้ กกต. ได้มีมติเสียงข้างมากในการประชุมครั้งที่ 144/2552 วันที่ 17 ธันวาคม 2552 ให้นายทะเบียนไปร้องคดีทั้งสองกรณีพร้อม ๆ กันตามกฎหมาย ทั้งที่พึงปฏิบัติแยกกัน แม้ในการประชุมครั้งต่อ ๆ มา คือ ครั้งที่ 41/2553 และ 43/2553 กกต. จะมีมติโดยให้นายทะเบียนไปร้องคดี ก็เป็นเพียงการยืนยันมติเดิมเท่านั้น ซ้ำ กกต. และนายทะเบียนยังได้ดำเนินกระบวนแต่งต้งคณะกรรมการตรวจสอบและทำความเห็นมากมายอีก ศาลเห็นว่า เป็นความไม่ชัดเจนในการปรับใช้กฎหมายของ กกต. เอง สำหรับคำร้องคดีกรณีการใช้เงินนั้น ก็ในเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2552 เป็นวันที่ กกต. เห็นชอบให้นายทะเบียนไปร้องคดี ซึ่งนับว่าเป็นวันที่ความปรากฏแก่นายทะเบียนว่ามีการฝ่าฝืนกฎหมาย ระยะเวลาสิบห้าจึงต้องเริ่มนับแต่บัดนั้น ซึ่งนายทะเบียนมายื่นคำร้องเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2553 นั้น ย่อมนับว่าล่วงระยะเวลาสิบห้าวันแล้ว เพราะฉะนั้น คดีจึงขาดอายุความ
  4. เมื่อกระบวนการยื่นคำร้องได้เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่ชอบที่ศาลจะพิจารณาวินิจฉัยคำร้องในประเด็นอื่น ๆ อีกสืบไป

วินิจฉัย

[แก้]

ศาลเห็นว่า เมื่อวินิจฉัยแล้วว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องมาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย จึงมิพักต้องพิจารณาประเด็นอื่น ๆ อีก ที่สุดวินิจฉัยด้วยมติสี่ต่อสอง ให้ยกคำร้อง[3]

ความเห็นส่วนตนของตุลาการ

[แก้]

เห็นด้วย

เห็นแย้ง

งดออกเสียง

อื่น ๆ

มิได้ร่วมทำคดี


ปุจฉา วิสัชนา ชัช จรัญ จรูญ เฉลิมพล นุรักษ์ บุญส่ง วสันต์ สุพจน์ อุดมศักดิ์ หมายเหตุ
การกระทำของผู้ถูกร้อง อยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.พรรคการเมือง 2541 หรือ พ.ร.บ.พรรคการเมือง 2550 ส่วนสารบัญญัติให้ว่าตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง 2541 ส่วนวิธีสบัญญัติให้ว่าตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง 2550
ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ ผู้ร้องหาได้ยื่นคำร้องโดยชอบด้วยกฎหมายไม่
ผลแห่งคดีพึงเป็นเช่นไร ยกคำร้อง

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. ไทยรัฐ, 6 พฤษภาคม 2553 : ออนไลน์.
  2. ไทยรัฐ, 3 มกราคม 2553 : ออนไลน์.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 ศาลรัฐธรรมนูญ, 29 พฤศจิกายน 2553 : ออนไลน์.

อ้างอิง

[แก้]

ข่าว

[แก้]

ไทยรัฐ

[แก้]
  • (2552, 28 กรกฎาคม). 'ประจวบ'ให้การเงิน258ล้าน ว่าจ้างเมซไซอะฯ [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  • (2553, 3 มกราคม). สำนวนหลวม กกต.พริ้ว คดีเงินบริจาคปชป. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  • (2553, 3 มีนาคม). "เฉลิม"กลับลำร่วมอภิปรายไม่ไว้วางใจ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  • (2553, 6 พฤษภาคม). กกต. เตรียมเชือดบุญจง แจกเบี้ยยังชีพ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  • (2553, 14 พฤศจิกายน). โพลชี้คลิปฉาวศาล รธน. เป็นเกมการเมือง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  • (2553, 18 พฤศจิกายน). ตำรวจส่งสำนวนคลิปศาลรธน.ให้ปปช.แล้ว. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  • (2553, 27 พฤศจิกายน).
    • ตุลาการรธน.ถอนตัว. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
    • มาร์คมึนศาลรธน. 3-3เสียง ยกคำร้องหรือไม่. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).

โพสต์ทูเดย์

[แก้]
  • (2553, 27 กันยายน). ตู่ฟุ้งมีคลิปลับตุลาการศาลรธน. . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  • (2553, 3 ตุลาคม). ชวนถกทีมคดียุบพรรคก่อนเบิกความพรุ่งนี้. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  • (2553, 4 ตุลาคม).
    • บัญญัติ-ประดิษฐ์เบิกความ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์ เก็บถาวร 2010-10-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
    • บัญญัติซัดพยานบริษัททำป้ายไร้น้ำหนัก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  • (2553, 7 ตุลาคม). ทวีเล็งฟ้องธาริตให้การเท็จคดียุบปชป. . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์ เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  • (2553, 15 ตุลาคม). พท.ปูดอักษรย่อ"ว-พ"วิ่งเต้นยุบพรรค. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  • (2553, 16 ตุลาคม). พท.แฉคลิปลับปชป.วิ่งเต้นคดียุบพรรคพรุ่งนี้. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์ เก็บถาวร 2010-10-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  • (2553, 17 ตุลาคม).
    • พร้อมพงศ์เปิดคลิปโชว์อ้าง 2 ฝ่ายรู้เห็นกัน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
    • วิรัชโต้พท.สร้างคลิปดิสเครดิต. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
    • สดศรีแนะตุลาการเคลียร์คลิปฉาว. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์ เก็บถาวร 2010-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
    • เสื้อแดงแพร่คลิปคดียุบพรรคปชป. . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  • (2553, 23 ตุลาคม). ชัช ลั่นไม่ทิ้งเก้าอี้. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  • (2553, 25 ตุลาคม). มีอะไรอยู่ในคลิป. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  • (2553, 18 ตุลาคม).
    • 'ชัย' เชื่อ คลิปศาลรธน.ไม่กระทบคดียุบปชป. . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
    • ซัดแผนทำลายศาลรธน. . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
    • สั่งปลดพสิษฐ์พ้นเลขาฯปธ.ศาลรัฐธรรมนูญ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  • (2553, 19 ตุลาคม).
    • จรัญชี้คลิปฉาวเป็นอาญาแผ่นดิน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
    • อภิวันท์ ปัดคลิปฉาวเป็นฝีมือพท. . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  • (2553, 20 ตุลาคม). ปชป.เอาผิดพท.แพร่คลิปฉาว. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  • (2553, 26 ตุลาคม). สตช.เริ่มสอบคลิปฉาวล็อบบี้ยุบปชป. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  • (2553, 27 ตุลาคม). ศาลรธน.เอาผิดแพร่คลิป. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  • (2553, 28 ตุลาคม).
    • จตุพรท้าชัชรับคลิปฉาว. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
    • ตร.ประสานฮ่องกงส่ง พสิษฐ์ กลับไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
    • ปชป.ยื่นคำแถลงปิดคดียุบพรรค. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
    • เล็งออกหมายจับมือปล่อยคลิปฉาวปชป. . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  • (2553, 29 ตุลาคม).
    • ปชป.ยันไม่ป้องวิรัชเอี่ยวคลิปฉาว. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
    • ปชป. วอนหยุดกดดันศาลรธน. . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  • (2553, 31 ตุลาคม).
    • บัญญัติชี้คลิปฉาวมุ่งทำลายศาล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
    • ปชป.จี้รัฐล่าตัวพสิษฐ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
    • โผล่อีกคลิปขย้ำศาลรธน. . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  • (2553, 1 พฤศจิกายน).
  • (2553, 2 พฤศจิกายน). ศาลรธน.แจ้งกองปราบเอาผิดคลิปชุด 2. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  • (2553, 4 พฤศจิกายน).
    • นายกฯแจงกระทู้ไม่เพิกเฉยคลิปฉาว. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  • วิสุทธิ์ไม่ห่วงพท.ถูกยุบขอเพียงกฎหมายเป็นธรรม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  • (2553, 5 พฤศจิกายน). คลิปฉาวศาลรธน.ถ่ายมุม"พสิษฐ์". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  • (2553, 16 พฤศจิกายน). ศาลอนุมัติหมายจับ"พสิษฐ์ - ชุติมา". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  • (2553, 23 พฤศจิกายน). วิรัชถูกถอดพ้นคดียุบปชป. . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  • (2553, 24 พฤศจิกายน).
    • บทปรารภอภิสิทธิ์ - ชวนเผยความกดดันคดียุบปชป. . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
    • พร้อมพงศ์เมินตุลาการรธน.ฟ้อง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  • (2553, 26 พฤศจิกายน). เสร็จศึกรธน.เผชิญศึก ยุบปชป. 29 พ.ย.ระทึกคำตัดสิน . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  • (2553, 27 พฤศจิกายน).
    • บัญญัติ ชี้"จรูญ" ถอนตัว ไม่กระทบตัดสินยุบพรรค. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
    • ปชป.ปัดเตรียมนายกฯ-พรรคสำรอง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
    • ปชป.วอนทุกฝ่ายเลิกกดดันศาล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
    • สุเทพกั๊กเป็นนายกฯแทนมาร์ค. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • คมชัดลึก. (2552, 8 มีนาคม). บัญญัติ : “ ถ้าจะอภิปราย ต้องมาอภิปรายผมสิถึงจะถูก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  • BBC. (2010, 29 November). Thai court dismisses governing party funding case. [Online]. Available: <link>. (Accessed: 29 November 2010).
  • CNN. (2010, 29 November). Thai court dismisses case against ruling party. [Online]. Available: <link เก็บถาวร 2016-03-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>. (Accessed: 29 November 2010).
  • Reuters.
    • (2010, 29 November). Q+A: What happens if Thailand's Democrats are found guilty?. [Online]. Available: <link>. (Accessed: 29 November 2010).
    • (2010, 29 November). Thai court dismisses case against PM's party. [Online]. Available: <link>. (Accessed: 29 November 2010).
  • The Nation. (2010, 18 October). Embattled Pasit not in town. [Online]. Available: <link เก็บถาวร 2010-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>. (Accessed: 27 November 2010).

วัสดุทางนิติบัญญัติและตุลาการ

[แก้]
  • ศาลรัฐธรรมนูญ. คำวินิจฉัย เรื่อง นายทะเบียนพรรคการเมืองขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]