ข้ามไปเนื้อหา

ข้าวหลามดง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ข้าวหลามดง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Magnoliids
อันดับ: Magnoliales
วงศ์: Annonaceae
สกุล: Goniothalamus
สปีชีส์: G.  laoticus
ชื่อทวินาม
Goniothalamus laoticus
(Finet & Gagnep.) Bân

ข้าวหลามดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Goniothalamus laoticus) ชื่ออื่น จำปีหิน (ชุมพร) นมงัว (ปราจีนบุรี) เป็นไม้ตระกูลเดียวกับกระดังงา เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-7 เมตร ทรงพุ่มโปร่ง เปลือกต้นสีเทาอมดำ เนื้อไม้เหนียว ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ ใช้เป็นสมุนไพรหลังคลอดบุตร ทางภาคอีสานแก่นต้นเป็นส่วนผสมของยารักษาโรคซางในเด็ก[1]

ลักษณะ

[แก้]

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับสองข้างกิ่ง แผ่นใบรูปขอบขนาน กว้าง 3-4 ซม. ยาว 10-16 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่ม ผิวใบด้านบนสีเขียวกว่าผิวใบด้านล่าง ก้านใบยาวราว 0.8 ซม. ดอก เป็นดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบตามลำต้นหรือกิ่ง 1-3 ดอก กลีบเลี้ยงมีขนาดเล็ก 3 กลีบ สีเขียวแผ่กางออก กลีบดอกมี 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น ๆ ละ 3 กลีบ ชั้นนอกรูปไข่ กว้าง 2.5-3 ซม. ยาว 4-5 ซม.ชั้นในยาว 1 เซนติเมตรประกบกันเป็นรูปสามเหลี่ยม กลีบดอกชั้นนอกอวบหนารูปหอก กว้าง 2.5-3 เซนติเมตร ยาว 4-5 เซนติเมตร ก้านดอกยาวประมาณ 1 ซม ดอกอ่อนสีเขียว เมื่อบานเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือชมพูกางออก จากกัน เมื่อบานมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก 3-3.5 เซนติเมตร ส่งกลิ่นหอมเย็น ดอกบาน 2-3 วัน แล้วจึงโรย มีอีกพันธุ์หนึ่งที่ดอกบาน แล้วเปลี่ยนจากสีเขียวอมเหลืองเป็นสีส้มแดงแล้วจึงโรย ซึ่งเป็นพันธุ์ที่หายากมากกว่า ออกดอกทยอยตลอดปี ดอกส่งกลิ่นหอมเย็นตลอดวัน ผล ออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-12 ผล แต่ละผลรูปรี ยาว 2-3 ซม. ไม่มีก้านผล ผลแก่สีเขียวอมเหลือง มี 2-5 เมล็ด

ขยายพันธุ์ ด้วยการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในที่ร่ม และมีแสงแดดรำไร ปลูกในกระถางควรใช้วิธีการทาบกิ่ง ส่วนวิธี การตอนพบว่าออกรากได้ยากมาก

อ้างอิง

[แก้]
  1. สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. พรรณไม้พื้นบ้านอีสาน เล่ม 1. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2544 หน้า 41