ข้าวหมูตุ๋น
ข้าวหมูตุ๋น | |||||||||||||||
ข้าวหมูตุ๋น | |||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 炕肉飯 | ||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
| |||||||||||||||
ไต้หวันตอนใต้ | |||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 滷肉飯 | ||||||||||||||
|
ข้าวหมูตุ๋น (จีน: 炕肉飯; เป่อ่วยยี: khòng-bah-pn̄g, การสะกดอื่น ๆ 焢肉飯, 爌肉飯, 滷肉飯) เป็นอาหารประเภทก้ายฟ่านที่พบได้ในไต้หวัน แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค แต่โดยทั่วไปแล้วอาหารจะทำจากหมูสามชั้นปรุงในกระบวนการที่เรียกว่า ตุ๋นน้ำแดง และเสิร์ฟบนข้าว มักรับประทานกับผักดองจีน
หมูสามชั้นตุ๋นน่าจะมีต้นกำเนิดจากเมืองเฉวียนโจว ประเทศจีน และนำเข้ามาพร้อมกับผู้อพยพสู่ไต้หวันในช่วงราชวงศ์ชิง นอกเหนือจากข้าวหมูสับที่คล้ายกันแล้ว ข้าวหมูตุ๋นก็ค่อย ๆ กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเซียวจือของไต้หวัน ซึ่งพบได้ตามแผงขายอาหารหรือร้านเบ็นโตทั่วไป อาหารที่คล้ายกันสามารถพบได้ในอาหารแคะ อาหารสิงคโปร์ และอาหารมาเลเซีย[1] ข้าวหมูตุ๋นเป็นหนึ่งในอาหารไต้หวันที่โดดเด่นที่สุด[2]
นิรุกติศาสตร์
[แก้]แม้ว่า "焢" และ "爌" จะเป็นอักขระที่แตกต่างกัน แต่ทั้งสองมักใช้ในชื่ออาหารมากกว่า "炕" นอกจากนี้แม้ว่าทั้งสามตัวอักษรแต่ละตัวจะมีการออกเสียงที่แตกต่างกันในภาษาจีนกลาง แต่การออกเสียงภาษาฮกเกี้ยนของไต้หวันออกเสียง khòng เหมือนกัน จึงมักใช้เป็นภาษาพูด ดังนั้นอาหารจึงมักเรียกว่า kòngròufàn ในภาษาจีนกลาง[3][4][5]
ในภาคใต้ของไต้หวันข้าวหมูตุ๋นมักเรียกว่า 滷肉飯 (พินอิน: lǔròufàn) ซึ่งในภาคเหนือและภาคกลางของไต้หวันหมายถึงข้าวหมูสับ สำหรับข้าวหมูสับทางใต้มักใช้ชื่อ "肉燥飯" แทน[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 尹全海,崔振儉,固始移民與閩臺文化研究:唐人故里閩臺祖地九州社 崧博出版社 金石堂, 2010
- ↑ Hiufu Wong, Maggie. "40 of the best Taiwanese foods and drinks". edition.cnn.com. CNN. สืบค้นเมื่อ 8 April 2020.
- ↑ "【知識】焢肉飯還是爌肉飯?淺談這碗彰化特色美食". SUNMAI.Life 餐酒生活誌 (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). 11 February 2019. สืบค้นเมื่อ 8 October 2019.
- ↑ "【焢】火-08-12". 教育部異體字字典 (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). Ministry of Education. สืบค้นเมื่อ 8 October 2019.
- ↑ "【爌】火-15-19". 教育部異體字字典 (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). Ministry of Education. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-08. สืบค้นเมื่อ 8 October 2019.
- ↑ 黃琮淵 (27 August 2013). "滷肉飯郵票掀波 南部郵迷:沒三層肉 是肉燥飯". China Times (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). สืบค้นเมื่อ 8 October 2019.