ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1996
ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคง แห่งสหประชาชาติที่ 1996 | ||
---|---|---|
ซูดานใต้ | ||
วันที่ | 8 กรกฎาคม 2011 | |
การประชุม ครั้งที่ | 6,576 | |
รหัส | S/RES/1996 ((2011) เอกสาร) | |
เรื่อง | สถานการณ์ในซูดานใต้ | |
สรุปการลงคะแนนเสียง |
| |
ผล | ตกลงรับ | |
องค์ประกอบคณะมนตรีความมั่นคง | ||
สมาชิกถาวร | ||
สมาชิกไม่ถาวร | ||
|
ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1996 ได้รับการรับรองเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 หลังจากการต้อนรับเอกราชของซูดานใต้จากซูดานแล้ว คณะมนตรีได้จัดตั้งคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้ (UNMISS) เป็นระยะเวลาเริ่มต้นหนึ่งปี[1]
ข้อมติ
[แก้]ข้อสังเกต
[แก้]ในคำนำของข้อมติที่ 1996 คณะมนตรีความมั่นคงเน้นย้ำถึงความสำคัญของแนวทางที่ครอบคลุมเพื่อเสริมสร้างสันติภาพซึ่งกล่าวถึงสาเหตุพื้นฐานของความขัดแย้งและหลักการความมั่นคงและการพัฒนาที่เสริมซึ่งกันและกัน มติไม่เห็นด้วยกับการคงอยู่ของความขัดแย้งและผลกระทบที่มีต่อประชาชนพลเรือน ขณะเดียวกันก็เน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างสันติภาพหลังความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านการเสริมสร้างสถาบันของชาติ
ในขณะเดียวกัน สมาชิกคณะมนตรีเรียกร้องให้มีการร่วมมือกันระหว่าง UNMISS และปฏิบัติการรักษาสันติภาพอื่น ๆ ในพื้นที่ หน่วยงานของสหประชาชาติ และองค์การอื่น ๆ เพื่อดำเนินการสร้างสันติภาพหลังสงคราม นอกจากนี้ คณะมนตรียังเรียกร้องให้มีข้อตกลงต่าง ๆ ระหว่างรัฐบาลซูดานและกองทัพปลดปล่อยประชาชนซูดาน (SPLA/M) เกี่ยวกับสถานะของเอบิเย ความมั่นคงชายแดน และความมั่นคงในรัฐบลูไนล์และคอร์โดฟานใต้
การกระทำ
[แก้]ภายใต้บทที่ VII ของกฎบัตรสหประชาชาติ คณะมนตรีได้จัดตั้ง UNMISS ขึ้นเป็นระยะเวลาเริ่มต้นหนึ่งปี โดยตั้งใจที่จะต่ออายุเพิ่มเติมหากจำเป็น คณะมนตรีได้ตัดสินใจว่าภารกิจนี้จะประกอบด้วยทหาร 7,000 นายและตำรวจ 900 นาย[2] การพิจารณาว่าจะลดจำนวนทหารลงเหลือ 6,000 นายหรือไม่นั้น จะพิจารณาในอีกสามถึงหกเดือนข้างหน้า[3]
UNMISS ได้รับมอบหมายให้เน้นในเรื่องของความมั่นคงและการพัฒนา รวมถึงการสนับสนุนการเสริมสร้างสันติภาพและการสร้างรัฐ การสนับสนุนรัฐบาลของซูดานใต้ในการแก้ไขข้อขัดแย้ง การปกป้องพลเรือน การสถาปนาหลักนิติธรรม และการเสริมสร้างความมั่นคงและความยุติธรรม[4] ได้รับอนุญาตให้ใช้ "วิธีการที่จำเป็นทั้งหมด" เพื่อบังคับใช้คำสั่ง
ข้ิมติเรียกร้องให้มีการเข้าถึงโดยไม่มีการขัดขวางและความร่วมมืออย่างเต็มที่กับ UNMISS จากทุกประเทศ เรียกร้องให้กองทัพต่อต้านของพระเจ้ายุติการโจมตีพลเรือนในซูดานใต้ และยุติการใช้ทหารเด็ก ซูดานใต้ถูกกระตุ้นให้เพิ่มการมีส่วนร่วมของสตรีในสังคมและปฏิรูประบบเรือนจำ
ท้ายที่สุด เลขาธิการ พัน กี-มุน ได้รับการกระตุ้นให้ชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับปฏิบัติการและรายงานความคืบหน้า
ดูเพิ่ม
[แก้]- รายการข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1901 ถึง 2000 (พ.ศ. 2552 - 2554)
- สงครามกลางเมืองซูดานครั้งที่สอง
- ความขัดแย้งในเซาท์คอร์โดฟานและบลูไนล์
- การลงประชามติแยกซูดานใต้เป็นเอกราช พ.ศ. 2554
- กองกำลังชั่วคราวรักษาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติสำหรับเอบิเย
- ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1990
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "With independence less than a day away, Security Council authorises United Nations Mission in Republic of South Sudan". United Nations. July 8, 2011.
- ↑ Carlstrom, Gregg (2011-07-09). "South Sudan celebrates 'new beginning'; New flag raised as crowd of tens of thousands of Sudanese and foreign dignitaries observe birth of a country". Al Jazeera English. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-09. สืบค้นเมื่อ 2021-03-01.
{{cite web}}
: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์) - ↑ "UN Security Council Votes to Bolster South Sudan". Voice of America. 8 July 2011.
- ↑ Varner, Bill (7 July 2011). "South Sudan to Get 7,900 UN Peacekeepers, Envoys Say". Bloomberg L.P.