ขวัญเรือน เทียนทอง
ขวัญเรือน เทียนทอง | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระแก้ว | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี 227 วัน) | |
ก่อนหน้า | ฐานิสร์ เทียนทอง |
เขตเลือกตั้ง | อำเภอเมืองสระแก้ว อำเภอเขาฉกรรจ์ และ อำเภอวังน้ำเย็น (เฉพาะตำบลทุ่งมหาเจริญ) |
คะแนนเสียง | 42,183 (41.67%) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ขวัญเรือน ยุวถาวร 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พลังประชารัฐ (2565—ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | พิเชษฐ์ เทียนทอง (เสียชีวิต) |
ขวัญเรือน เทียนทอง (เกิด 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระแก้ว 1 สมัย นายกสมาคมองค์กรสตรีและสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดสระแก้ว อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสระแก้ว อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว
ประวัติ
[แก้]ขวัญเรือน เทียนทอง เกิดเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 เป็นบุตรสาวของนายจินคูณ และ นางหมู ยุวถาวร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาชุมชน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์[1]
ขวัญเรือนสมรสกับนายพิเชษฐ์ เทียนทอง น้องชายของเสนาะ เทียนทอง มีบุตร-ธิดา 4 คน คือ ฐานิสร์ เทียนทอง, อนุรักษ์ เทียนทอง, ตรีนุช เทียนทอง และบดี เทียนทอง[2][3]
งานการเมือง
[แก้]ขวัญเรือน เคยดำรงตำแหน่งเป็นกำนันตำบลวัฒนานคร ในปี พ.ศ. 2535 ก่อนที่จะได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสระแก้ว ในปี พ.ศ. 2549 และได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว ในช่วง พ.ศ. 2564 ถึง พ.ศ. 2566 ก่อนที่จะลาออกในเวลาต่อมา
ขวัญเรือน ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2566 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ขวัญเรือน เทียนทอง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ
สมาชิกวุฒิสภา
[แก้]ขวัญเรือน เทียนทอง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภามาแล้ว 1 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[4]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 7 เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ง.ภ.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เอกสารประกอบการพิจารณา ผู้ได้รับการเสนอให้ปริญญากิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-07-25. สืบค้นเมื่อ 2023-07-25.
- ↑ "'เสนาะ เทียนทอง' นักปั้นนายกฯ ผู้เกิดและดับ..ใต้เงาปืน เจ้าพ่อวังน้ำเย็นและนมโรงเรียน". thepeople. 2019-04-01.
- ↑ "ป.ป.ช. เปิดเซฟ 'แม่-ลูกเทียนทอง' รวยอู้ฟู่พันล้าน". 2023-04-28.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๘, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒๖, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2487
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดสระแก้ว
- สกุลเทียนทอง
- นักธุรกิจชาวไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระแก้ว
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสระแก้ว
- นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว
- นักการเมืองพรรคพลังประชารัฐ
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ม.