ข้ามไปเนื้อหา

กูโจ

พิกัด: 35°44′54.8″N 136°57′51.6″E / 35.748556°N 136.964333°E / 35.748556; 136.964333
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กูโจ

郡上市
ทิวทัศน์ย่านกูโจฮาจิมัง ศูนย์กลางของนครกูโจ
ทิวทัศน์ย่านกูโจฮาจิมัง ศูนย์กลางของนครกูโจ
ธงของกูโจ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของกูโจ
ตรา
ที่ตั้งของกูโจ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดกิฟุ
ที่ตั้งของกูโจ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดกิฟุ
กูโจตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
กูโจ
กูโจ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 35°44′54.8″N 136°57′51.6″E / 35.748556°N 136.964333°E / 35.748556; 136.964333
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคชูบุ
จังหวัดจังหวัดกิฟุ กิฟุ
พบในบันทึกทางการครั้งแรกค.ศ. 82
จัดตั้งนคร1 มีนาคม ค.ศ. 2004
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีโทชิอากิ ฮิโอกิ[1]
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,030.75 ตร.กม. (397.97 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2019)
 • ทั้งหมด41,858 คน
 • ความหนาแน่น41 คน/ตร.กม. (110 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
หมายเลขโทรศัพท์0575-67-1121
ที่อยู่ศาลาว่าการนคร228 ชิมาตานิ ฮาจิมังโจ นครกูโจ จังหวัดกิฟุ 501-4297
ภูมิอากาศCfa
เว็บไซต์www.city.gujo.gifu.jp
สัญลักษณ์
ดอกไม้Magnolia kobus
ต้นไม้เมเปิ้ล

กูโจ (ญี่ปุ่น: 郡上市โรมาจิGujō-shi) เป็นนครที่ตั้งอยู่ในจังหวัดกิฟุ ประเทศญี่ปุ่น ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2019 มีประชากรอยู่ประมาณ 41,858 คน 15,341 ครัวเรือน และมีความหนาแน่นประชากรอยู่ที่ 41 คนต่อตารางกิโลเมตร[2] มีพื้นที่ทั้งหมด 851.21 ตารางกิโลเมตร (328.65 ตร.ไมล์) ย่านที่เป็นที่รู้จักคือ กูโจฮาจิมัง (ซึ่งเคยเป็นเทศบาลเมืองอิสระจนกระทั่ง ค.ศ. 2004 ที่มีการควบรวมเทศบาลต่าง ๆ เพื่อจัดตั้งนครกูโจ) เป็นที่รู้จักอย่างมากในการจัดงานเทศกาลอย่างยิ่งใหญ่ที่จัดขึ้นในช่วงฤดูร้อนมีชื่อว่า "กูโจโอโดริ"[3]

ภูมิศาสตร์

[แก้]

กูโจตั้งอยู่ทางตอนกลางทางด้านตะวันตกของจังหวัดกิฟุ ต้นน้ำของแม่น้ำนางาระตั้งอยู่ในกูโจ

ทางน้ ำ

[แก้]

ทางน้ำในกูโจยังคงไหลในลักษณะนี้มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 คลองและบ่อน้ำพุยังคงถูกใช้ในการล้างข้าว ผัก รวมถึงใช้ซักผ้า

กูโจฮาจิมังตั้งอยู่ในหุบเขาที่เป็นที่บรรจบของสามแม่น้ำใหญ่ คือ แม่น้ำโยชิดะ แม่น้ำนางาระ และแม่น้ำโคดาระ เนื่องจากน้ำจากแม่น้ำทั้งสามสายถูกใช้ในการอุปโภคบริโภค รสชาติของบรรดาอาหารท้องถิ่นทัั้ง อายุ โซบะ และสาเก จึงขึ้นอยู่กับแม่น้ำด้วย[4] ครัวเรือนบางครัวเรือนยังมีการใช้งานทางน้ำเล็ก ๆ สำหรับซักผ้าและล้างจานอยู่ อย่างไรก็ตาม พวกเขาต้องปฏิบัติตามกฎที่เคร่งครัด ซึ่งทำให้ครัวเรือนอื่น ๆ ยังคงสามารถเข้าถึงแหล่งน้ำที่สะอาดได้อยู่[4]

ภูมิอากาศ

[แก้]

กูโจมีลักษณะภูมิอากาศคือ มีฤดูร้อนที่ร้อนชื้น และฤดูหนาวที่มีอากาศอบอุ่นถึงหนาวเย็น (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Cfa) อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 12.8 °C (55.0 °F) โดยเฉลี่ยแล้ว อุณหภูมิจะสูงที่สุดในเดือนสิงหาคมที่ประมาณ 25.3 °C (77.5 °F) และต่ำสุดในเดือนมกราคมที่ประมาณ 0.8 °C (33.4 °F) ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 2,689.8 mm (105.90 in) โดยเดือนกรกฎาคมเป็นเดือนที่ฝนตกหนักที่สุด[5]

ข้อมูลภูมิอากาศของกูโจ (1991−2020 สภาวะปกติ, สภาวะรุนแรง 1978−ปัจจุบัน)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 16.7
(62.1)
19.7
(67.5)
25.2
(77.4)
29.7
(85.5)
34.2
(93.6)
35.9
(96.6)
39.8
(103.6)
39.8
(103.6)
39.1
(102.4)
32.2
(90)
23.6
(74.5)
20.6
(69.1)
39.8
(103.6)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 5.9
(42.6)
7.6
(45.7)
12.3
(54.1)
18.4
(65.1)
23.5
(74.3)
26.5
(79.7)
30.0
(86)
31.7
(89.1)
27.4
(81.3)
21.4
(70.5)
14.8
(58.6)
8.4
(47.1)
18.99
(66.19)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 0.8
(33.4)
1.5
(34.7)
5.4
(41.7)
11.2
(52.2)
16.5
(61.7)
20.5
(68.9)
24.3
(75.7)
25.3
(77.5)
21.3
(70.3)
14.9
(58.8)
8.5
(47.3)
3.1
(37.6)
12.78
(55)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) -2.7
(27.1)
-2.8
(27)
0.0
(32)
4.9
(40.8)
10.4
(50.7)
15.8
(60.4)
20.4
(68.7)
21.1
(70)
17.0
(62.6)
10.4
(50.7)
4.0
(39.2)
-0.5
(31.1)
8.17
(46.7)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -11.4
(11.5)
-14.1
(6.6)
-11.2
(11.8)
-3.6
(25.5)
-0.3
(31.5)
6.3
(43.3)
12.2
(54)
12.6
(54.7)
5.6
(42.1)
-0.6
(30.9)
-3.5
(25.7)
-9.1
(15.6)
−14.1
(6.6)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 109.4
(4.307)
110.6
(4.354)
185.9
(7.319)
219.8
(8.654)
230.6
(9.079)
291.8
(11.488)
419.6
(16.52)
324.6
(12.78)
339.3
(13.358)
215.3
(8.476)
140.1
(5.516)
129.0
(5.079)
2,689.8
(105.898)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 12.3 10.8 12.0 11.2 11.6 13.4 15.6 13.3 12.8 10.3 10.1 12.9 146.3
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 139.1 154.2 185.9 197.5 210.8 167.5 170.8 204.9 161.3 168.0 146.1 131.8 2,040.0
แหล่งที่มา: Japan Meteorological Agency[5][6]
ข้อมูลภูมิอากาศของนางาทากิ, กูโจ (1991−2020 สภาวะปกติ, สภาวะรุนแรง 1978−ปัจจุบัน)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 13.9
(57)
15.9
(60.6)
22.0
(71.6)
28.3
(82.9)
31.5
(88.7)
33.6
(92.5)
36.2
(97.2)
36.8
(98.2)
34.7
(94.5)
29.3
(84.7)
23.3
(73.9)
17.8
(64)
36.8
(98.2)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 4.0
(39.2)
5.1
(41.2)
9.4
(48.9)
16.1
(61)
21.5
(70.7)
24.7
(76.5)
28.1
(82.6)
29.7
(85.5)
25.5
(77.9)
20.0
(68)
13.5
(56.3)
6.8
(44.2)
17.03
(62.66)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) -0.2
(31.6)
0.3
(32.5)
3.8
(38.8)
9.8
(49.6)
15.3
(59.5)
19.3
(66.7)
22.9
(73.2)
24.0
(75.2)
20.0
(68)
14.0
(57.2)
7.9
(46.2)
2.4
(36.3)
11.63
(52.93)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) -3.5
(25.7)
-3.7
(25.3)
-0.7
(30.7)
4.3
(39.7)
9.7
(49.5)
14.8
(58.6)
19.1
(66.4)
20.0
(68)
16.0
(60.8)
9.6
(49.3)
3.6
(38.5)
-0.9
(30.4)
7.36
(45.25)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -12.4
(9.7)
-14.6
(5.7)
-9.6
(14.7)
-4.7
(23.5)
-0.6
(30.9)
6.5
(43.7)
11.8
(53.2)
11.6
(52.9)
4.9
(40.8)
-0.9
(30.4)
-4.5
(23.9)
-10.9
(12.4)
−14.6
(5.7)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 180.1
(7.091)
145.5
(5.728)
199.8
(7.866)
237.6
(9.354)
252.9
(9.957)
297.4
(11.709)
490.7
(19.319)
322.4
(12.693)
379.2
(14.929)
206.6
(8.134)
175.0
(6.89)
212.0
(8.346)
3,075.2
(121.071)
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) 223
(87.8)
162
(63.8)
88
(34.6)
2
(0.8)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
7
(2.8)
136
(53.5)
597
(235)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 17.7 14.2 14.3 12.8 12.0 14.0 16.1 13.3 13.3 11.1 12.9 18.2 169.9
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย (≥ 3 cm) 17.7 14.9 10.1 0.2 0 0 0 0 0 0 1.0 9.5 53.4
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 82.2 106.8 157.6 181.0 196.6 155.7 147.0 179.3 136.5 138.4 107.3 84.5 1,674.5
แหล่งที่มา: Japan Meteorological Agency[7][8]

เทศบาลใกล้เคียง

[แก้]

ประชากร

[แก้]

อ้างอิงจากข้อมูลการสำรวจจำนวนประชากรของญีปุ่น[9] ประชากรของนครกูโจลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1970 54,146—    
1980 52,690−2.7%
1990 50,986−3.2%
2000 49,377−3.2%
2010 44,491−9.9%
2020 38,997−12.3%

ประวัติ

[แก้]

ในช่วงการปฏิรูปที่ดินหลังการฟื้นฟูเมจิ พื้นที่แห่งนี้ถูกจัดให้อยู่ภายใต้การปกครองของอำเภอกูโจ จังหวัดกิฟุ เมืองฮาจิมังจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1889 โดยเป็นการจัดตั้งในระบบเทศบาล ต่อมาได้ควบรวมเมืองและหมู่บ้านต่าง ๆ ในอำเภอกูโจ ซึ่งได้แก่ เมืองฮาจิมัง เมืองชิโรโตริ เมืองยามาโตะ หมู่บ้านเมโฮ หมู่บ้านมินามิ หมู่บ้านทากาซุ และหมู่บ้านวาระ เพื่อจัดตั้งเป็นนครกูโจเมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 2004[10]

การเมืองการปกครอง

[แก้]

กูโจปกครองในรูปแบบนายกเทศมนตรี–สภา มีนายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และสภานครซึ่งเป็นสภาเดี่ยว มีสมาชิกสภาจำนวน 18 คน

อ้างอิง

[แก้]
  1. 市長の部屋. Gujo official website (ภาษาญี่ปุ่น). Gujo city. สืบค้นเมื่อ 8 August 2011.
  2. Gujō city official statistics (ในภาษาญี่ปุ่น)
  3. "Gujo Odori Festival 2019 - Don't Just Look Dance with Locals in Gifu!". FestivalGo (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-21. สืบค้นเมื่อ 2019-11-21.
  4. 4.0 4.1 http://www.gujohachiman.com/kanko/index_e.htm Gujo Hachiman Water
  5. 5.0 5.1 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値). JMA. สืบค้นเมื่อ May 30, 2022.
  6. 観測史上1~10位の値(年間を通じての値). JMA. สืบค้นเมื่อ May 30, 2022.
  7. 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値). JMA. สืบค้นเมื่อ May 30, 2022.
  8. 観測史上1~10位の値(年間を通じての値). JMA. สืบค้นเมื่อ May 30, 2022.
  9. Gujō population statistics
  10. 市政 > 郡上市の紹介 > 郡上市の歴史 > 近代(明治・大正・昭和時代). Gujo official website (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ August 17, 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]