ข้ามไปเนื้อหา

กูฟียะห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชายชาวเยเมนสวมกูฟียะห์ในแบบผ้าโพกหัวและมีผ้าคลุมไหล่บนบ่า

กูฟียะห์ (อาหรับ: كُوفِيَّة, อักษรโรมัน: kūfiyya)[1] หรือ ฮัตตะห์ (حَطَّة, ḥaṭṭa) เป็นเครื่องประดับศีรษะสวมโดยผู้ชายในแถบตะวันออกกลาง กูฟียะห์พัฒนามาจากผ้าพันคอและมักทำจากผ้าฝ้าย[2] นิยมสวมทั่วไปในพื้นที่แห้งแล้งเพื่อป้องกันอันตรายจากอาการไหม้แดด ฝุ่นและทราย กูฟียะห์ในรูปแบบอื่นเรียกว่า กูตระห์ (อาหรับ: غُترَة, อักษรโรมัน: ḡutra) และชีมัก (อาหรับ: شماغ, อักษรโรมัน: šumāḡ) ชาวอาหรับมักใช้อะกัล (อาหรับ: عِقَال, อักษรโรมัน: ʕiqāl) หรือเชือกสีดำทำจากขนแพะในการตรึงกูตระห์ให้เข้าที่[3]

ที่มา

[แก้]
ภาพวาดอับดุลลอฮ์ บิน ซะอูด อัลซะอูด เอมีร์แห่งดิริยะห์ สวมกูตระห์กับอะกัล (ค.ศ. 1823)

กูฟียะห์มีที่มาจากชาวเบดูอินที่อาศัยอยู่ในภูมิอากาศแบบทะเลทราย พวกเขาใช้ผ้าคลุมศีรษะและใบหน้าเพื่อป้องกันแสงแดดและทราย[4][5] คำว่ากูฟียะห์มีรากศัพท์มาจากเมืองกูฟะห์ในอิรัก[6] และเกี่ยวข้องกับคำภาษาละตินยุคปลาย cofia รวมถึงสัมพันธ์กับคำว่า coif (หมวกคลุมศีรษะแบบรัดรูป) ในภาษาอังกฤษ[1]

คำว่า กูตระห์ มาจากรากศัพท์ในภาษาอาหรับ غتر (ghatr) แปลว่า "คลุม" มีบันทึกถึงการสวมกูตระห์มาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 และภาพของอับดุลลอฮ์ บิน ซะอูด อัลซะอูดสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่เป็นภาพแรก ๆ ของผู้สวมกูตระห์[3]

กูฟียะห์ในรูปแบบต่าง ๆ

[แก้]
ยัสเซอร์ อาราฟัตสวมกูฟียะห์ลายตาข่ายอันเป็นเอกลักษณ์ใน ค.ศ. 2001

กูฟียะห์ในแต่ละพื้นที่มีสี ลายและวิธีการผลิตที่แตกต่างกัน ชาวอาหรับ ชาวเคิร์ดและชาวยาซิดีสวมกูฟียะห์[7] ด้านชาวอิรักเชื้อสายเติร์กเมนสวมกูฟียะห์เช่นกันแต่เรียกว่า ยัมดานี[8] ขณะที่ชาวโอมานเรียกว่า มุสซาร์ โดยพวกเขาจะสวมกับหมวกกูมะอ์เมื่อมีโอกาสสำคัญ

กาวิน ยัง นักข่าวชาวอังกฤษบันทึกขณะเดินทางกับชาวอาหรับบึงในอิรักว่า "ซัยยิด ท้องถิ่น — กลุ่มผู้ได้รับการเคารพนับถือเนื่องจากสืบเชื้อสายจากศาสดามุฮัมมัดและอะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ สวมกูฟียะห์สีเขียวเข้ม ต่างจากผู้คนทั่วไปที่สวมกูฟียะห์ลายหมากรุกสีขาวดำ"[9]

ชาวจอร์แดนสวมกูฟียะห์รูปแบบหนึ่งเรียกว่า ชีมัก ซึ่งเป็นผ้าพันคอลายหมากรุกสีขาวแดง มีพู่ห้อย ทำจากผ้าฝ้าย ชีมักเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ประจำชาติจอร์แดนและเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องแบบทหารจอร์แดน[10][11]

กูฟียะห์ยังเป็นสัญลักษณ์สำคัญของชาวปาเลสไตน์ ในอดีตมีเพียงชาวบ้านและชาวนาสวมกูฟียะห์สีขาวกับอะกัล ส่วนคนในเมืองและชนชั้นนำสวมหมวกเฟซ (ตุรกีออตโตมัน: فس, อักษรโรมัน: fes)[12] กระทั่งการกบฏของชาวอาหรับในปาเลสไตน์ ค.ศ. 1936–1939 ที่ทุกคนเปลี่ยนมาสวมกูฟียะห์เหมือนกันตามคำสั่งของผู้บัญชาการกบฏชาวอาหรับ[13] กูฟียะห์กลับมามีความสำคัญช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 เมื่อชาวปาเลสไตน์เริ่มขบวนการต่อต้านและยัสเซอร์ อาราฟัต ผู้นำองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์สวมใส่จนเป็นเอกลักษณ์[14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Brill, E. J. (1993). E.J. Brill's First Encyclopaedia of Islam: 1913-1936. Ṭāʻif - Zūrkhāna (ภาษาอังกฤษ). BRILL. ISBN 978-90-04-09794-0.
  2. J. R. Bartlett (19 July 1973). The First and Second Books of the Maccabees. CUP Archive. p. 246. ISBN 978-0-521-09749-9. สืบค้นเมื่อ 17 April 2013. traditional Jewish head-dress was either something like the Arab's Keffiyeh (a cotton square folded and wound around a head) or like a turban or stocking cap
  3. 3.0 3.1 Lindisfarne & Ingham 1997, p. 45.
  4. Donica, Joseph (2020-11-10), "Head Coverings, Arab Identity, and New Materialism", All Things Arabia (ภาษาอังกฤษ), Brill, pp. 163–176, ISBN 978-90-04-43592-6, สืบค้นเมื่อ 2023-10-18
  5. "Ghutrah — who designed it?". Arab News (ภาษาอังกฤษ). 2013-08-07. สืบค้นเมื่อ 2023-10-18.
  6. "Keffiyeh - Definition, History, & Facts". Britannica. สืบค้นเมื่อ November 15, 2024.
  7. "Learn About Kurdish Dress".
  8. Salman, Mofak. "Altunköprü the ancient name of Türkmen Township" (PDF). They also wear a scarf which is known among the public as Jamadani
  9. Young, Gavin (1978) [First published by William Collins & Sons in 1977]. Return to the Marshes. Photography by Nik Wheeler. Great Britain: Futura Publications. pp. 15–16. ISBN 0-7088-1354-2. There was a difference here for nearly all of them wore dark green kefiyahs (or cheffiyeh) (headcloths) instead of the customary black and white check ones. By that sign we could tell that they were sayyids, like the sallow-faced man at Falih's.
  10. Penn, Lindsey (2020-09-25). "The Keffiyeh, the Shemagh, and the Ghutra". Arab America (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-06-14.
  11. "Jordanian Shemagh". Gerasa News Agency (ภาษาอาหรับ). สืบค้นเมื่อ November 15, 2024.
  12. Swedenburg, Ted (1995). Memories of Revolt: The 1936–1939 Rebellion and the Palestinian National Past. University of Minnesota Press. pp. 30–31. ISBN 978-1-557-28763-2.
  13. Report on the situation in Palestine, Part 1, CO 935/21. Confidential Print: Middle East, 1839–1969 (Report). p. 47 – โดยทาง Adam Matthew Digital.
  14. Torstrick, Rebecca (2004). Culture and Customs of Israel. Greenwood. p. 117. ISBN 978-0-313-32091-0.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]