กุ้งตะกาด
หน้าตา
กุ้งตะกาด | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Arthropoda |
ไฟลัมย่อย: | Crustacea |
ชั้น: | Malacostraca |
อันดับ: | Decapoda |
อันดับย่อย: | Dendrobranchiata |
วงศ์: | Penaeidae |
สกุล: | Metapenaeus |
สปีชีส์: | M. affinis |
ชื่อทวินาม | |
Metapenaeus affinis H. Milne Edwards, ค.ศ. 1837 |
กุ้งตะกาด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Metapenaeus affinis) อยู่ในวงศ์ Penaeidae เป็นกุ้งขนาดกลาง กรียาวตรง มีฟันด้านบน 8-9 อัน ด้านล่างไม่มีฟัน สันท้ายกรียาวประมาณร้อยละ 75 ของเปลือกหัว สันที่ปล้องท้องตั้งแต่ปล้องที่ 4-6 ส่วนกลางของอวัยวะเพศเมียรูปวงรี ด้านข้างโค้งและยกตัวสูงขึ้นสี น้ำตาลอ่อน กรีและรยางค์ต่าง ๆ สีน้ำตาลแดง บางตัวมีสีแดงบริเวณด้านล่างของส่วนหัว รยางค์และแพนหางสีแดงคล้ำ
ถิ่นอาศัย
[แก้]พบชุกชุมในแม่น้ำ-ลำคลองแทบทุกจังหวัดในเขตอ่าวไทย ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย
อาหาร
[แก้]กินจุลินทรีย์ ตัวอ่อนของแมลงน้ำ ไรน้ำ และซากสัตว์น้ำ
ขนาด
[แก้]ความยาวประมาณ 7-20 ซ.ม.
ประโยชน์
[แก้]ใช้ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เช่น ต้มยำ ย่าง หรือ ทอด เป็นต้น
ชนิดอื่น ๆ
[แก้]- กุ้งตะกาดหิน ชื่อวิทยาศาสตร์ Metapenaeus ensis
- ลักษณะทั่วไป ลำตัวยาวมีสีเทาอ่อน มีจุดสีน้ำเงินกระจายอยู่ข้างตัว กรีและเปลือก หัวมีสีจางโคนกรีมีสัณฐานเป็นสามเหลี่ยม ด้านบนของกรีมีฟัน 8-10 ซี่ ด้านล่างเรียบ หางสีฟ้าเขียวปนแดง ส่วนลักษณะที่นับว่าแตกต่างจากกุ้งตะกาดในสกุลเดียวกัน คือ กรีของกุ้งตะกาดหินจะมีลักษณะเรียวยาวเชิดขึ้นเล็กน้อย หางไม่มีหนาม และสันที่อยู่จากโคนกรีจะเป็นสีขาวจรดขอบหลัง
- กุ้งตะกาดหางแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Metapenaeus monoceros
- ลักษณะทั่วไป เป็นกุ้งขนาดกลาง กรียาวตรง มีฟันหางด้านบน 9 อัน ด้านล่างไม่มีฟัน สันท้ายกรียาวจรดขอบหลังของเปลือกหัว สันบนปล้องท้องเริ่มจากปล้องที่หนึ่งเป็นสันตื้นและปรากฏเป็นสันชัดเจนตั้งแต่ปล้องที่ 3-6 ส่วนกลาง อวัยวะเพศเมียเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมปลายมนด้านข้างยกสูงขึ้นสีน้ำตาลแดงอ่อน ระยางค์สีขาวสลับแดงชมพู กรีสันบนปล้องท้องและแพนหางสีน้ำตาลแดง
- กุ้งตะกาดกรีดำ, กุ้งตะกาดหางม่วง ชื่อวิทยาศาสตร์ Metapenaeus intermedius
- ลักษณะทั่วไป ลำตัวค่อนข้างแบนข้าง กรีตรง ฟันหยัก 10 อันทางด้านบน ด้านล่างไม่มีฟันหยัก สันท้ายกรีขยายถึงส่วนท้ายของเปลือกหัว หนามปลายปล้องที่สี่บนขาเดินคู่ที่หนึ่งยาวเท่ากับหนามปลายปล้องที่สาม บนขาเดินคู่ที่สี่ปรากฏส่วนของเหงือกติดกับลำตัว แขนงแยกจากปล้องที่สองของขาเดิน คู่ที่ห้าไม่มีสันบนหลังของปล้องท้องเริ่มจากปล้องที่สี่จรดปล้องที่หก ปลายหางประกอบด้วยหนามเล็ก ๆ แบบไม่ตรึงแน่นจำนวนสามคู่สีขาวครีมหรือสีน้ำตาลอ่อน กรีสีแดงคล้ำ ระยางค์สีน้ำตาลอ่อน แพนหางสีฟ้า ปลายหางสีแดงเข้ม สันบนหลังของปล้องท้องที่ห้าและที่หกสีแดงคล้ำ
- กุ้งตะกาดขาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Metapenaeus moyebi
- ลักษณะทั่วไป รูปเรียว กรียาว ปลายกรียาวเลยฐานของหนวดร่องเฉียงบริเวณเปลือกหัวส่วนหน้าสั้น ไม่มีสันตามแนวยาวของเปลือกหัว หนามที่ขาเดินคู่ที่หนึ่งไม่มี ปลายหางเป็นขอบหยัก มีหนามขนาดเล็กจำนวนมาก ส่วนปลายของอวัยวะเพศผู้ขยายออกคล้ายกระเปาะสีขาวขุ่น ระยางค์ว่ายน้ำและส่วนหางสีเขียวคล้ำ ขาสีขาว