กำแพงแอตแลนติก
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
กำแพงแห่งแอตแลนติก | |
---|---|
ส่วนหนึ่งของจักรวรรดิไรซ์ที่สาม | |
ชายฝั่งตะวันตกของยุโรปภาคพื้นทวีปและสแกนดิเนเวีย | |
กำแพงแห่งแอตแลนติกได้แสดงเอาไว้ในเส้นสีเหลือง | |
ประเภท | ป้อมปราการแนวป้องกัน |
ข้อมูล | |
ควบคุมโดย | ไรช์เยอรมัน |
สภาพ | บางส่วนได้ถูกทำลาย; ส่วนใหญ่ยังคงหลงเหลืออยู่ |
ประวัติศาสตร์ | |
สร้าง | ค.ศ. 1942– ค.ศ. 1944 |
สร้างโดย | แรงงานทาสบังคับ |
การใช้งาน | ค.ศ. 1942–45 |
วัสดุ |
|
การต่อสู้/สงคราม | สงครามโลกครั้งที่สอง |
เหตุการณ์ | ปฏิบัติการเนปจูน ปฏิบัติการอันเดอร์โก การตีโฉบฉวยแซ็ง-นาแซร์ การตีโฉบฉวยดีแยป |
ข้อมูลสถานี | |
ผู้บัญชาการ ในอดีต | Erwin Rommel (1943–44) |
ผู้เข้าถือครอง | เวร์มัคท์ |
กำแพงแห่งแอตแลนติก (เยอรมัน: Atlantikwall) เป็นระบบการป้องกันชายฝั่งทะเลที่กว้างขวางและป้อมปราการที่ถูกสร้างขึ้นโดยนาซีเยอรมนี ค.ศ. 1942 และ ค.ศ. 1944 ตลอดตามแนวชายฝั่งของยุโรปภาคพื้นทวีปและสแกนดิเนเวียเพื่อป้องกันการรุกรานของฝ่ายสัมพันธมิตรบนพื้นที่ยุโรปที่อยู่ภายใต้การยึดครองของนาซีจากแผ่นดินสหราชอาณาจักรในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง การจัดสรรและดำเนินการของกำแพงแห่งแอตแลนติกได้คอยกำกับดูแลโดยกองทัพบกเยอรมัน ด้วยการได้รับสนับสนุนบางส่วนจากกองกำลังภาคพื้นดินลุฟท์วัฟเฟอ กองทัพเรือเยอรมันได้กระจัดกระจายคอยดูแลรักษาเครือข่ายการป้องกันชายฝั่ง ได้จัดตั้งเขตการป้องกันทางทะเลหลายแห่ง[1]
ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งให้สร้างป้อมปราการในปี ค.ศ. 1942 ด้วยคนงานชาวฝรั่งเศสจำนวนเกือบล้านคนได้ถูกเกณฑ์บังคับเพื่อสร้างมัน กำแพงแห่งนี้มักจะถูกกล่าวถึงบ่อยๆในโฆษณาชวนเชื่อนาซี โดยที่ขนาดและความแข็งแกร่งของมันนั้นมักจะพูดเกินความเป็นจริง ป้อมปราการแห่งนี้ยังได้รวมไปถึงปืนป้องกันชายฝั่งขนาดมหึมา, ฐานยิงปืนใหญ่, ปืนครก และปืนใหญ่ และทหารเยอรมันจำนวนหลายพันนายได้ถูกส่งไปประจำการในแนวป้องกันแห่งนี้[a] เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรได้ยกพลขึ้นบกเข้าหาดนอร์ม็องดีในปี ค.ศ. 1944 แนวป้องกันส่วนใหญ่ได้ถูกโจมตีจนแตกภายในไม่กี่ชั่วโมง ปัจจุบัน ซากปรักหักพังของกำแพงยังคงตั้งอยู่ในทุกๆประเทศที่ถูกสร้างขึ้น แม้ว่าโครงสร้างส่วนมากได้จมลงสู่ทะเลหรือไม่ก็ถูกรื้อถอนไปหลายปี
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Lohmann W. & Hildebrand H., Die Deutsche Kriegsmarine, Verlag Hans-Henning Podzun, Bad Nauheim (1956)
- ↑ J.E Kaufmann,The Atlantic Wall: History and Guide, 2012