วีกเกสต์ลิงก์
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
วีกเกสต์ลิงก์ (อังกฤษ: Weakest Link) คือรายการควิซโชว์ ออกอากาศครั้งแรกในสหราชอาณาจักรทางช่อง BBC Two และ BBC One เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ออกแบบรายการโดย ฟินตัน คอยล์ (Fintan Coyle)และ เคธี ดันนิง (Cathy Dunning) พัฒนาเพื่อการออกอากาศโดย บีบีซี เอนเทอร์เทนเมนท์ เป็นรายการที่ถอดแบบมาดำเนินรายการในรูปแบบภาษาต่าง ๆ ทั่วโลก ถูกเรียกว่า "เกมโชว์แบบเรียลลิตี้" เพราะมีลักษณะคล้ายเรียลลิตี้โชว์ และเป็นรากฐานแห่งเรียลลิตี้โชว์ในปัจจุบัน ในสหราชอาณาจักร ดำเนินรายการโดย แอนน์ รอบินสัน (Anne Robinson) โดยในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ออกอากาศเป็นตอนที่ 1,000 ส่วนในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555 นั้นได้ออกอากาศตอนสุดท้าย
รูปแบบทั่วไปของรายการ
[แก้]รูปแบบต้นฉบับมีลักษณะการแข่งขันแบบเป็นกลุ่ม 8-9 คน โดยผลัดกันตอบคำถามความรู้ทั่วไป เวลาในการตอบคำถามเวอร์ชันต้นฉบับจะมีเริ่มต้นที่ 3 นาที รอบถัดไปลดลงทีละ 10 วินาทีส่วนรอบสุดท้ายจะมีเวลา 1 นาที 30 วินาที เป้าหมายในแต่ละรอบคือการตอบคำถามให้ถูกต้องติดต่อกันเพื่อสะสมเงินรางวัลตามขั้น หากตอบคำถามผิดเงินรางวัลที่สะสมตามขั้นจะหายไป ก่อนการถามคำถามของผู้ดำเนินรายการผู้เข้าแข่งขันสามารถพูดคำว่า "เก็บ" ได้ (ภาษาอังกฤษ"Bank") ซึ่งจะทำให้เงินรางวัลตามขั้นที่สะสมถูกเก็บไว้เป็นเงินรางวัลรวมอย่างปลอดภัย และการสะสมเงินรางวัลก็จะเริ่มต้นขึ้นใหม่ เมื่อผู้ดำเนินรายการถามคำถามแก่ผู้เข้าแข่งขันแล้วผู้เข้าแข่งขันไม่สามารถตอบคำถามได้ หรือไม่ตอบคำถาม ก็จะถือว่าตอบคำถามผิด และเมื่อเวลาในการตอบคำถามของในแต่ละรอบหมดลงเงินรางวัลสะสมที่ไม่ได้ถูกเก็บก็จะหายไป
ในแต่ละรอบการแข่งขันผู้เล่นแต่ละท่านจะต้องลงคะแนนให้แก่ผู้เข้าแข่งขันท่านอื่นที่คิดว่าเป็น "จุดอ่อน" ผู้ที่ได้รับการลงคะแนนมากที่สุดจะถูกกำจัดออกไปจากเกม (กรณีคะแนนโหวตเสมอกันจะให้ผู้ที่แกร่งในแต่ละรอบเป็นผู้กำจัดออก) เมื่อมีผู้เข้าแข่งขันถูกกำจัดออกไป จะต้องสัมภาษณ์กับทีมงาน รวมทั้ง เวลาในการตอบคำถามในรอบต่อไปก็จะถูกลดลง 10 หรือ 15 วินาที ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ
การลงคะแนน
[แก้]เมื่อจบการถามคำถามในแต่ละรอบ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องลงคะแนนให้ผู้เล่นที่พวกเขาคิดว่าเป็น "จุดอ่อน" ซึ่งผู้ที่เป็นจุดอ่อนอาจจะเข้าข่ายกรณีดังต่อไปนี้
- ไม่เคยตอบคำถามถูก
- ตอบผิดแล้วทำเงินรางวัลหายมากที่สุด
- ใช้เวลาในการตอบคำถามนานเกินไป
- ตอบคำถามผิดน้อยเกินไป
ในขณะลงคะแนนมีเพียงผู้ชมทางบ้านเท่านั้นที่ทราบผ่านทางผู้บรรยายว่าใครคือผู้ที่แกร่งที่สุด และใครคือจุดอ่อน โดยมาจากสถิติในการตอบคำถาม (ซึ่งในบ้างเทปจะให้คนดูในห้องส่งโหวตให้)[1] ส่วนในขณะที่ผู้เข้าแข่งขันกำลังแข่งขันนั้นจะถูกกระตุ้นให้ไร้ความปราณีแก่ผู้เข้าแข่งขันท่านอื่น การลงคะแนนเป็นกลยุทธ์หนึ่งของผู้เล่นที่มีไหวพริบที่จะทำให้ตนชนะ และทำให้มีเงินรางวัลรวมมากที่สุด ระหว่างการลงคะแนนให้กับผู้เข้าแข่งขันที่เป็นจุดอ่อนผู้ดำเนินรายการจะถามผู้เข้าแข่งขันว่าเขาลงคะแนนให้ใคร และทำไมถึงลงคะแนนให้ผู้เข้าแข่งขันท่านนั้น เมื่อถึงเวลาในการกำจัดผู้เข้าแข่งขันออก ผู้ดำเนินรายการจะกล่าวคำว่า "คุณคือจุดอ่อนของทีม เชิญค่ะ" (อังกฤษ: You are the weakest link — goodbye!) (ฮีบรู: !אתה החוליה החלשה, שלום) (ดัตช์: Jij bent de zwakste schakel, Tot ziens) (ฝรั่งเศส: Vous êtes le maillon faible)
กลยุทธ์ในการแข่งขัน
[แก้]ผู้เล่นที่ตอบคำถามผิดบางครั้งอาจจะไม่ถูกเพ่งเล็ง นักวิเคราะห์แนะนำว่าการตอบคำถามถูกอย่างน้อยร้อยละ 60 จะเหมาะสมที่สุด ถ้าน้อยกว่านี้จะเสี่ยงต่อการถูกลงคะแนนให้ออกในสถานะจุดอ่อน เนื่องจากเงินรางวัลที่ผู้ชนะจะได้จะมาจากคำถามที่แต่ละคนตอบถูก ถ้าทำได้ดีมากกว่านั้นก็อาจจะถูกเพ่งเล็งจากผู้เข้าแข่งขันท่านอื่น โดยเกรงว่าผู้เข้าแข่งขันคนนั้นจะเป็นผู้ชนะ การวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับเงินรางวัลรวม แนะนำให้ใช้วิธีเก็บเงินรางวัลหลาย ๆ วิธี โดยหากไม่เก็บเมื่อเงินรางวัลสะสมมากสุดก็เก็บเงินรางวัลสะสมในทุก ๆ คำถาม ส่วนมากกลุ่มผู้เข้าแข่งขันจะเก็บเงินรางวัลสะสมในทุก ๆ 3 - 4 คำถาม
รอบสุดท้าย
[แก้]เมื่อเหลือผู้เข้าแข่งขัน 2 ท่าน พวกเขาจะต้องร่วมกันแข่งขันเกมในรอบสุดท้าย โดยจะมีกติกาเหมือนดังรอบก่อน ๆ มีเวลา 1 นาที 30 วินาที (90 วินาที) แต่ในรอบนี้เงินรางวัลที่สะสมได้เมื่อหมดรอบจะถูกเพิ่มเป็น 2 เท่าหรือ 3 เท่าก่อนที่จะถูกรวมเข้าไปในเงินรางวัลรวมเพื่อเป็นเงินรางวัลให้แก่ผู้ชนะเกม ในรอบนี้จะไม่มีผู้ที่ถูกกำจัดออก
รอบตัวต่อตัว
[แก้]ในรอบนี้ผู้เข้าแข่งขัน 2 ท่านจะต้องตอบคำถามเป็นชุด คนละ 3-5 คำถาม ผู้ที่แกร่งที่สุดจากรอบที่แล้วจะได้เลือกว่าใครจะเป็นผู้ตอบคำถามก่อน ใครที่ตอบคำถูกมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ (ตอบคำถามถูกต้องสูงสุด 3 ข้อ) และจะกลับบ้านไปพร้อมเงินรางวัลทั้งหมดที่สะสมมา ส่วนผู้แพ้จะกลับบ้านมือเปล่าเช่นเดียวกับผู้เข้าแข่งขันอื่นที่ถูกกำจัดออก ในกรณีที่จำนวนข้อที่ผู้เข้าแข่งขันตอบถูกเสมอกันกับอีกคนหนึ่ง เกมจะเข้าสู่ช่วงต่อเวลา โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องตอบคำถามแบบข้อต่อข้อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะมีท่านใดท่านหนึ่งตอบถูกและอีกท่านตอบผิด
ในแต่ละตอน มีเงินรางวัลรวมมากที่สุด ซึ่งผู้ชนะได้รับเงินรางวัลสูงถึง 10,000 ปอนด์ และในตอนการแข่งขันของผู้มีชื่อเสียงเพื่อการกุศลมีเงินรางวัลสูงถึง 50,000 ปอนด์
ความสำเร็จของรายการ
[แก้]ในสหราชอาณาจักร แอนน์ รอบินสัน (Anne Robinson) เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รายการประสบความสำเร็จโดยในรายการกำจัดจุดอ่อนนี้เธอจะพูดจาเสียดสี แหน็บแนม และตำหนิ กลุ่มผู้เข้าแข่งขันที่ไม่สามารถทำเงินรางวัลสะสมได้ตามเป้าหมาย ซึ่งเป็นจุดขายของรายการ จนทำให้คำพูดที่กล่าวว่า "คุณคือจุดอ่อนที่สุดของทีม เชิญค่ะ" (อังกฤษ: You are the weakest link — goodbye!) เป็นคำพูดที่ติดปากผู้ชมอย่างรวดเร็ว (ผู้ที่คิดคำพูดนี้ขึ้นมาคือ Jeremy Paxman ผู้ดำเนินรายการ University Challenge) ผู้บรรยายในฉบับสหราชอาณาจักรคือ Jon Briggs
หลาย ๆ องค์ประกอบของรายการนี้มีแรงบันดาลใจมาจากรายการบิกบราเธอร์ และ Who Wants to Be a Millionaire? (เกมเศรษฐี) แต่รูปแบบของรายการนั้นค่อนข้างจะแปลกไปจากรายการอื่นอย่างชัดเจน กล่าวคือมีการเปิดฉากต่อสู้กันทางสีหน้า ท่าทางและวาจาของผู้เข้าแข่งขัน โดยใช้ผู้ดำเนินรายการเป็นตัวกระตุ้น ในบางประเทศรายการถูกสื่อต่าง ๆ วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก แต่อย่างไรก็ตาม ในหลาย ๆ ประเทศ รายการนี้ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
รายการภาษาต่าง ๆ ทั่วโลก
[แก้]Legend: ยังออกอากาศอยู่; ยกเลิกการออกอากาศแล้ว;
ประเทศ | ชื่อ | ผู้ดำเนินรายการ | สถานีโทรทัศน์ | เงินรางวัลสูงสุด | เวลาออกอากาศ |
---|---|---|---|---|---|
โลกอาหรับ | الحلقة الأضعف | Rita Khoury | Future Television | US$16,000 | 2002 |
ออสเตรเลีย | Weakest Link | Cornelia Frances | Seven Network | A$100,000 | 2001–2002 |
อาเซอร์ไบจาน | Zəif Bənd | Kamila Babayeva | Lider TV | AZM9,000 | 2004–2006 |
Solmaz Süleymanlı | 2012–2014 | ||||
เบลเยียม | De Zwakste Schakel | Goedele Liekens | VTM | 2,000,000BEF (49,578.705 €) | 2001 |
ชิลี | El Rival Más Débil | Catalina Pulido | Canal 13 | CL$40,000,000 | 2004 |
จีน | 汰弱留强·智者为王 | Chen Lu Yu | Nanjing TV | CN¥200,000 | Unknown |
智者为王 | Shen Bing | ||||
Xia Qing | |||||
เช็กเกีย | Nejslabší! Máte padáka! | Zuzana Slaviková | TV Nova | Kč1,000,000 | 2002–2004 |
โครเอเชีย | Najslabija karika | Nina Violić | HRT1 | kn 90,000 | 2004–2010 |
Daniela Trbović | |||||
เดนมาร์ก | Det Svageste Led | Trine Gregorius | DR1 | KR200,000 | 2001–2002 |
เอสโตเนีย | Nõrgim Lüli | Tuuli Roosma | Kanal 2 | KR500,000 | 2004 |
ฟินแลนด์ | Heikoin Lenkki | Kirsi Salo | MTV3 | €15,000 | 2002–2005 |
€16,000 | |||||
€18,000 | |||||
ฝรั่งเศส | Le Maillon Faible | Laurence Boccolini | TF1 | 150,000F (22,867.3526 €) | 2001–2007 |
€20,000 | |||||
€50,000 | |||||
จอร์เจีย | სუსტი რგოლი | Nino Burduli | Rustavi 2 | ლ10,000 | 2005-2007 |
เยอรมนี | Der Schwächste fliegt! | Sonja Zietlow | RTL Television | DM50,000 (25,564.5941€) | 2001–2002 |
€50,000 | |||||
กรีซ | Ο Πιο Αδύναμος Κρίκος |
Elena Akrita | MEGA | ₯5,000,000 (14,763.5143€) | 2001–2003 |
€15,000 | |||||
ฮ่องกง | 一筆OUT消 | เจิ้ง อวี้หลิง | TVB Jade | HK$3,000,000 | 2001–2002 |
ฮังการี | A Leggyengébb Láncszem | Krisztina Máté | TV2 | 3,000,000 Ft | 2001–2004 |
Nincs Kegyelem | 6,000,000 Ft | ||||
อินเดีย | Kamzor Kadii Kaun | Neena Gupta | Star Plus | Rs.2,500,000 | 2002–2003 |
ไอร์แลนด์ | Weakest Link | Eamon Dunphy | TV3 | €10,000 | 2001–2002 |
อิสราเอล | החוליה החלשה | Pnina Dvorin | Channel 10 | ₪100,000 | 2002–2004 |
Hana Laszlo | ₪90,000 | ||||
อิตาลี | L'Anello Debole | Enrico Papi | Italia 1 | €15,000 | 2001 |
ญี่ปุ่น | ウィーケストリンク☆一人勝ちの法則 | Shiro Ito | Fuji Television | JP¥16,000,000 | 2002 |
มาซิโดเนียเหนือ | Најслаба алка | Zivkica Gjurcinovska | Alfa TV | 420,000 MKD | 2010–2011 |
เม็กซิโก | El Rival Más Debil | Montserrat Ontiveros | TV Azteca | MX$200,000 | 2003–2010 |
Lolita Cortés | 2014-present | ||||
มอลโดวา | Veriga Slaba | Andrei Gheorghe | Kanal 1 | ||
เนเธอร์แลนด์ | De Zwakste Schakel | Chazia Mourali | RTL 4 | €10,000 | 2001–2004 |
นิวซีแลนด์ | Weakest Link | Louise Wallace | TV ONE | NZ$20,000 | 2001–2002 |
นอร์เวย์ | Det Svakeste Ledd | Anne Grosvold | NRK | KR200,000 | 2004 |
ฟิลิปปินส์ | Weakest Link | Edu Manzano | IBC | PHP1,000,000 | 2001–2002 |
Allan K. | |||||
โปแลนด์ | Najsłabsze Ogniwo | Kazimiera Szczuka | TVN | 27,000 zł | 2004-2006 |
โปรตุเกส | O Elo Mais Fraco | Julia Pinheiro | RTP1 | €10,000 | 2002–2003 |
Luisa Castel-Branco | |||||
Pedro Granger | 2011–2012 | ||||
โรมาเนีย | Lanţul Slăbiciunilor | Andrei Gheorghe | ProTV | lei50,000 | 2001 |
รัสเซีย | Слабое Звено | Mariya Kiselyova | ORT | 300,000 ₹ 400,000 ₹ 350,000 ₹ 1,000,000 ₹ (celebrity editions) |
2001–2005 |
Nikolai Fomenko | Channel 5 | 350,000 ₹ | 2007–2008 | ||
Mariya Kiselyova | Mir | 320,000 ₹ 400,000 ₹ |
2020– | ||
เซอร์เบีย | Najslabija Karika | Sandra Lalatovic | BKTV | RSD3,000,000 | 2002 |
สิงคโปร์ | 智者生存 | Cui Lixin | MediaCorp TV Channel 8 | S$100,000 | 2002-2003 |
Weakest Link | Asha Gill | MediaCorp TV Channel 5 | S$1,000,000 | ||
สโลวีเนีย | Najšibkejši Člen | Violeta Tomič | RTVSLO | 2,400,000 SIT | 2005 |
แอฟริกาใต้ | Weakest Link | Fiona Coyne | SABC3 | R50,000 | 2003–2008 |
R100,000 | |||||
สเปน | El Rival Más Débil | Nuria González | TVE1 | €7,200 | 2002–2004 |
Karmele Aranburu | TVE2 | ||||
สวีเดน | Svagaste Länken | Kajsa Ingemarsson | TV4 | 100,000 kr | 2011–2013 |
ไต้หวัน | Weakest Link 智者生存 | Belle Yu | STAR Chinese Channel | NT$400,000 | 2002–2003 |
Tseng Yang Qing | |||||
ไทย | Weakest Link กำจัดจุดอ่อน | กฤษติกา คงสมพงษ์ | ช่อง 3 อ.ส.ม.ท. | 1,000,000 บาท | 2002–2003 |
ตุรกี | En Zayıf Halka | Hülya Uğur Tanrıöver | Show TV | TL 0.1 trillion | 2001–2002 |
Baybars Altuntaş | TV8 | ₺ 54,000 | 2015 | ||
สหราชอาณาจักร | Weakest Link | Anne Robinson | BBC | £10,000 (Daytime) | 2000–2012 2017– |
£50,000 (Primetime) | |||||
สหรัฐอเมริกา | Weakest Link | Anne Robinson | NBC | US$1,000,000 | 2001–2002 |
Jane Lynch | 2020– | ||||
George Gray | Syndicated | US$75,000 | 2001–2003 | ||
US$100,000 |
กำจัดจุดอ่อน (ไทย)
[แก้]รูปแบบภาษาไทย มีชื่อรายการว่า "กำจัดจุดอ่อน" เริ่มออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ผลิตโดย บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (ในชื่อ บางกอกการละคอน) ดำเนินรายการโดย ดร. กฤษติกา คงสมพงษ์ ในเวลา 22.20 น.- 23.20 น. ทุกคืนวันพฤหัสบดี รูปแบบรายการเป็นมีลักษณะแบบเดียวกันในหลายประเทศ (กติกาจะเหมือนกับของเวอร์ชันสหรัฐอเมริกา) จำนวนผู้เข้าแข่งขันมีทั้งหมด 8 ท่าน โดยมาจากการคัดเลือกจากทางบ้านเพื่อชิงเงินรางวัลสูงสุด 1,000,000 บาท
รูปแบบการแข่งขัน
[แก้]รอบที่ | จำนวนผู้เข้าแข่งขัน | ระยะเวลาที่ใช้ในการแข่งขัน |
---|---|---|
1 | 8 | 2 นาที 30 วินาที |
2 | 7 | 2 นาที 20 วินาที |
3 | 6 | 2 นาที 10 วินาที |
4 | 5 | 2 นาที |
5 | 4 | 1 นาที 50 วินาที |
6 | 3 | 1 นาที 40 วินาที |
7 | 2 (เงินรางวัล 2 เท่า) | 1 นาที 30 วินาที |
ระดับเงินรางวัล
[แก้]จำนวนคำถามที่ตอบถูกต้องติดต่อกัน | เงินรางวัลสะสม |
---|---|
1 | 1,000 |
2 | 2,500 |
3 | 5,000 |
4 | 10,000 |
5 | 25,000 |
6 | 50,000 |
7 | 75,000 |
8 | 125,000 |
การตอบรับและกระแสวิพากษ์วิจารณ์
[แก้]รายการนี้ได้รับกระแสตอบรับในทางลบ เนื่องจากถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยสื่อสิ่งพิมพ์ในประเทศไทยบางสำนักบางยี่ห้อ รวมไปถึงผู้ชมบางส่วนที่ไม่เข้าใจกฎกติกาการเล่นเกมของรายการ โดยการกล่าวหามีลักษณะไปในทำนองว่า "เป็นรายการที่สร้างขัดแย้ง แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ไม่เหมาะสมต่อศีลธรรม และวัฒนธรรมของไทย" จึงทำให้ถูกเฝ้าจับตาโดยสื่อของประเทศไทย เช่นเดียวกับในประเทศฮ่องกง จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ที่มีผู้เข้าแข่งขันตัดสินใจฆ่าตัวตายหลังจากที่บันทึกเทปรายการเสร็จ ทางรายการก็ได้ปรับลดความดุดันลงเพื่อไม่ให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ซ้ำอีก แต่การปรับเนื้อหาดังกล่าวทำให้ความนิยมของรายการลดลงไปเช่นเดียวกันอันเนื่องจากการตัดรูปแบบเอกลักษณ์และเสน่ห์ของรายการ จนกระทั่งวันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2545 รายการ The Weakest Link กำจัดจุดอ่อน ได้ทำการออกอากาศเป็นตอนสุดท้ายและยุติการออกอากาศลงในที่สุดก่อน พ.ศ. 2546 โดยหลังจากนั้น ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบรายการเกมโชว์ใหม่พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็นรายการ Magic Box กล่องวิเศษ ซึ่งออกอากาศต่อจากรายการนี้ ในวันและเวลาเดียวกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2546 โดยมีสรยุทธ สุทัศนะจินดา เป็นผู้ดำเนินรายการ
สื่อต่าง ๆ ในไทย
[แก้]รายการกำจัดจุดอ่อนที่ฉายในประเทศไทยนั้นเป็นที่นิยม ต่อมาได้ถูกล้อเลียนในรูปแบบสื่อต่าง ๆ เช่น ตลก การ์ตูน รวมไปถึงเกมคอมพิวเตอร์ และในปัจจุบัน ถูกหยิบยกนำมาล้อเลียนอีกครั้งในรูปแบบสื่อออนไลน์ เช่น Youtube
ภาคตลก
[แก้]สำหรับตลกกำจัดจุดอ่อนนั้นจะเป็นการแสดงตลกล้อเลียนรายการ ซึ่งมีการเปลี่ยนชื่อรายการเป็นชื่ออื่น ๆ เช่น
- The Weakest Link กำจัดจุดอ่อน (ไม่มีการเปลี่ยนชื่อรายการ) (ก่อนบ่ายคลายเครียด) พิธีกร: ธงธง มกจ๊กและตี๋ ดอกสะเดา
- The Weakest Link กำจัดจุด...อ่อน ๆ (ตี 10) พิธีกร: เสนาลิง
- จุดอ่อนของตึกสาม (ละครซิทคอม ตึกสามเพดานสูง) พิธีกร: ดารณีนุช โพธิปิติ
- กำจัดใครก่อน พิธีกร: น้อย โพธิ์งาม
- เดอะชิเก้นลิงก์ กำจัดไก่อ่อน (สาระแนโชว์) พิธีกร: เปิ้ล นาคร
- เดอะวินตื้บลิงก์ กำจัดปัญญาอ่อน พิธีกร: อาคม ปรีดากุล (ค่อม ชวนชื่น)
- เดอะโป๊กเกอร์ลิงก์ กำจัดวัยละอ่อน (ชิงร้อยชิงล้าน) พิธีกร: หม่ำ จ๊กมก
- The Weakest Mom (5432 โชว์) พิธีกร: พุทธชาด พงศ์สุชาติ
กำจัดตลกอ่อน
[แก้]เป็นรายการที่จัดโดยทีมงานของทางรายการกำจัดจุดอ่อนเอง โดยเป็นการแก้เผ็ดผู้เข้าแข่งขันที่ล้อเลียนรายการ โดยให้ผู้เข้าแข่งขันมาแข่งขันรายการ "กำจัดจุดอ่อน" ของจริง ซึ่งมีพิธีกรคือคุณกฤติกา คงสมพงษ์ ในรอบแรกนั้นพิธีกรจะถามเฉพาะคำถามที่ยากกว่าคำถามปกติที่ใช้ในการแข่งขันจริง ทำให้ผู้เข้าขันแต่ละคนถึงกับหน้าซีด แต่เมื่อจบการแข่งขันในรอบแรก ทางทีมงานจึงมาเฉลยว่าเป็นการแก้เผ็ดกับพิธีกรที่ล้อเลียนรายการ และให้เล่นเกมกันใหม่โดยไม่ใช้บรรยากาศแบบนี้ จึงได้มีการเล่นเกมใหม่โดยเปลี่ยนชื่อเป็น The Weakest Joker กำจัดตลกอ่อน ซึ่งมีแต่คำถามตลก ๆ และคำถามประหลาด ๆ โดยผลการแข่งขันปรากฏว่าผู้ที่ชนะและไม่ถูกกำจัดออกคือธงธง มกจ๊ก และในตอนท้ายทางรายการได้บริจาคเงินทั้งหมดหนึ่งแสนบาทแก่มูลนิธิการกุศล