ข้ามไปเนื้อหา

การให้วัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การฉีดวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย
จุดบริการวัคซีนโควิด-19 จุดหนึ่งที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในกรุงเทพมหานคร
วันที่28 กุมภาพันธ์ 2564 – ปัจจุบัน (3 ปี 10 เดือน 4 วัน)
ที่ตั้งประเทศไทย
สาเหตุการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย
เป้าหมายสร้างภูมิคุ้มกันต่อโควิด-19
ผู้เข้าร่วม55,281,158 คน ได้รับวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งโดส
50,220,477 คน ได้รับวัคซีนครบโดส
21,059,428 คน ได้รับวัคซีนบูสเตอร์หนึ่งโดส
(25 มีนาคม 2565)[1][2]
ผล110.56% ของประชากรไทยตามเป้าหมายได้รับวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งโดส
100.44% ของประชากรไทยตามเป้าหมายได้รับวัคซีนครบโดส
(เป้าหมาย: 50,000,000 คน)
เว็บไซต์https://dashboard-vaccine.moph.go.th/

จำนวนผู้ได้รับวัคซีนในประเทศไทยในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564[3]
* ร้อยละของประชากรที่มีสิทธิในการรักษา[4]

  ประชากรที่ยังไม่ได้รับวัคซีน: ประมาณ 23.003 ล้านคน (34.24%)
  ประชากรที่ได้รับวัคซีนแค่โดสเดียว: 9,745,446 คน (14.51%)
  ประชากรที่ได้วัคซีนครบสองโดส: 31,857,851 คน (47.42%)
  ประชากรที่ได้รับบูสเตอร์แรก: 2,572,899 คน (3.83%)
  ประชากรที่ได้รับบูสเตอร์ที่สอง: 2,809 คน (0.00%)

การนำเข้าวัคซีนจากแต่ละบริษัทในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564[3]

  ออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า: ประมาณ 36.606 ล้านโดส (43.78%)
  ซิโนแว็ก: ประมาณ 25.508 ล้านโดส (30.50%)
  ซิโนฟาร์ม (BBIBP-CorV): ประมาณ 13.231 ล้านโดส (15.82%)
  ไฟเซอร์-ไบออนเทค: ประมาณ 8.199 ล้านโดส (9.8%)
  โมเดอร์นา: ประมาณ 0.07 ล้านโดส (0.01%)
  จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน: ประมาณ 0.007 ล้านโดส (0.01%)

โครงการฉีดวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย ซึ่งกำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน เป็นการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับคนจำนวนมาก เพื่อรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่กำลังระบาดอยู่ในประเทศไทย โดยเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564

แผนการฉีดวัคซีนของประเทศในช่วงแรกต้องการใช้วัคซีนโควิด-19 ของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้าที่ผลิตในประเทศซึ่งบริษัทสยามไบโอไซแอนซ์ได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นหลัก คำสั่งห้ามนำเข้าวัคซีนยี่ห้ออื่น การสื่อสารแบบขาดความเป็นเอกภาพ การกระจายวัคซีนโดยไม่คำนึงถึงลำดับความเร่งด่วนรวมถึงการเลือกปฏิบัติ และความแคลงใจต่อประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของวัคซีนโควิด-19 ของซิโนแว็กซึ่งเป็นวัคซีนอีกชนิดที่นำมาใช้ในช่วงแรก ทำให้เกิดเสียงวิจารณ์อย่างมาก ต่อมาในเดือนมิถุนายน 2564 สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ประกาศจะนำเข้าวัคซีนเพิ่มเติมคือวัคซีนโควิด-19 BBIBP-CorV ของซิโนฟาร์ม หลังจากนั้นเริ่มมีคำสั่งอนุญาตให้ราชการส่วนท้องถิ่นและเอกชนนำเข้าวัคซีนยี่ห้ออื่นได้ ตามมาด้วยคำสั่งซื้อวัคซีนโควิด-19 ของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน

ยอดการฉีดวัคซีนในประเทศไทย ณ วันที่ 7 มิถุนายน 2564 อยู่ที่ 4.21 ล้านโดส[5] เริ่มมีการรณรงค์ฉีดวัคซีนทั่วประเทศในวันที่ 7 มิถุนายน แม้ว่ารัฐบาลจะตั้งเป้าให้ฉีดได้ครบ 100 ล้านโดสภายในสิ้นปี 2564 แต่ความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนยังคงเป็นไปอย่างล่าช้า ส่วนใหญ่เนื่องจากวัคซีนยังไม่เพียงพอ

ประวัติ

[แก้]
เอกสารระบุการฉีดวัควีนโควิด-19 เข็มที่หนึ่งของแอสตราเซเนกา

ช่วงนำเข้าวัคซีนซิโนแวคและแอสตราเซเนกา รอวัคซีนผลิตในประเทศ

[แก้]

ในเดือนพฤศจิกายน 2563 ทางการสั่งซื้อวัคซีนจากบริษัทแอสตราเซเนกา จำนวน 26 ล้านโดส ซึ่งจากข้อมูลการทดลองพบมีประสิทธิผลโดยรวมร้อยละ 70[6] เนื่องจากวัคซีนดังกล่าวต้องใช้ฉีดคนละ 2 โดส ทำให้เพียงพอต่อประชากรเพียง 13 ล้านคน[7] ก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะอนุมัติงบสั่งซื้อเพิ่ม 35 ล้านโดสในเดือนมกราคม 2564[8] ทั้งนี้ บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ซึ่งเป็นบริษัทในพระปรมาภิไธยได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต ซึ่งประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า "เมื่อรับวัคซีนมาแล้ว จะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่งอันนี้ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานให้บริษัทสยามไบโอไซเอนส์"[9] นอกจากนี้ยังมีการนำเข้าวัคซีนจากบริษัทซีโนแว็ก สัญชาติจีน จำนวน 2 ล้านโดส ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน 2564[10] ซึ่งบริษัทซีโนแว็กเป็นบริษัทที่เครือเจริญโภคภัณฑ์เข้าร่วมทุนด้วยจำนวน 1.5 หมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถือหุ้น 15%[11] ในเดือนมกราคม 2564 ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ถูกรัฐบาลแจ้งความฐานความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ หลังตั้งคำถามถึงบริษัทผลิตวัคซีนที่พระมหากษัตริย์เป็นเจ้าของ[12] หลายวันต่อมา อนุทิน ชาญวีรกุล โพสต์ตอบคำถามของธนาธร โดยตอนหนึ่งระบุว่า จำนวนและกรอบเวลาการสั่งซื้อวัคซีนนั้นเป็นไปตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ[13] อนุทินยังเปรียบเทียบว่าวัคซีนที่รัฐบาลนำเข้ามานั้นเปรียบได้กับการ "แทงม้าเต็ง"[14] ในเดือนเดียวกัน ยังมีการชูป้ายประท้วงในพื้นที่ศูนย์การค้าไอคอนสยาม ซึ่งมีใจความว่า วัคซีนโควิด-19 เป็นการหาความชอบให้แก่สถาบันพระมหากษัตริย์[15][16] ทางการมีกำหนดเริ่มฉีดวัคซีนเข็มแรกเริ่มจากบุคลากรการแพทย์ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์[17] ในเดือนกุมภาพันธ์ มีการเปิดเผยว่า ไทยเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่ได้รับวัคซีนจากโครงการโคแวกซ์[18] วัคซีนจากบริษัทซิโนแว็กและแอสตราเซเนกาถึงไทยในวันที่ 24 กุมภาพันธ์[19]

กระทรวงสาธารณสุขเปิดแผนกระจายวัคซีนล็อต 2 จำนวน 8 แสนโดส โดยแบ่งเป็นกลุ่มพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่ท่องเที่ยว[20] และหลังได้รับวัคซีนจากแอสตราเซเนกาเพิ่มอีก 5 ล้านโดสในเดือนพฤษภาคม 2564 จะเปิดให้จองวัคซีนผ่านออนไลน์และแอปพลิเคชันหมอพร้อม[21] ช่วงกลางเดือนมีนาคม มีข่าวว่า กองทัพบกจะให้แคดดี้สนามกอล์ฟฉีดวัคซีนโควิด-19 เนื่องจากมีผู้ใหญ่เกษียณไปใช้บริการ[22] ปลายเดือนมีนาคม 2564 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเปิดเผยผลสำรวจซีอีโอ 191 ราย พบว่า ร้อยละ 79.8 กังวลเรื่องการกระจายวัคซีนล่าช้า[23] ผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชนรายหนึ่งระบุว่า อีกสาเหตุหนึ่งที่เอกชนยังนำเข้าวัคซีนไม่ได้เนื่องจากบริษัทวัคซีนต้องการขายให้กับรัฐบาลเท่านั้นเพื่อเลี่ยงปัญหาการฟ้องร้องจากปัญหาไม่พึงประสงค์จากวัคซีน[24] วันที่ 25 มีนาคม 2564 วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสันได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นรายที่สาม[25] ต่อมา แพทย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดเผยว่า วัคซีนซิโนแวคและแอสตราเซเนกานั้นไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ เพียงแต่ป้องกันการป่วยตามสรรพคุณ[26] วันที่ 10 เมษายน 2564 นายกรัฐมนตรีลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อพิจารณาวัคซีนทางเลือก ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากโรงพยาบาลเอกชนด้วย[27] วันที่ 13 พฤษภาคม อย. ประกาศขึ้นทะเบียนวัคซีนโมเดอร์นา[28] วันที่ 14 พฤษภาคม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเปิดเผยผลการศึกษาของศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า ผู้ฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาและโคโรนาแว็คครบ 2 เข็ม หลังผ่านไป 4 สัปดาห์ มีภูมิคุ้มกันในระดับสูงร้อยละ 97.26 และ 99.4 ตามลำดับ[29] วันที่ 26 พฤษภาคม มีข่าวว่านักการเมืองฝ่ายรัฐบาลส่วนหนึ่งวิ่งเต้นเพื่อให้ท้องถิ่นของตนได้รับจัดสรรวัคซีนมากที่สุด จนทำให้บางจังหวัดได้รับจัดสรรวัคซีนมากกว่าพื้นที่ระบาด[30] ในวันเดียวกัน ศบค. ประกาศชะลอการลงทะเบียนจองวัคซีนผ่านแอปพลิเคชันหมอพร้อม เนื่องจากจะมีการจัดสรรวัคซีนใหม่โดยเปลี่ยนจากโควต้าจองมาเป็นการจัดสรรให้กับพื้นที่ระบาดก่อน ทั้งนี้ ข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขระบุว่ามียอดผู้จองวัคซีนผ่านแอปพลิเคชันดังกล่าวแล้ว 7.9 ล้านราย[31] นอกจากนี้ ยังมีประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาว่า สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์มีอำนาจนำเข้ายาและวัคซีนเพื่อใช้รักษาโควิด-19 ได้[32] อีกทั้งไม่ต้องรับผิดทางคดีทั้งปวง[33] ในเดือนพฤษภาคม 2564 มีรายงานว่าวัคซีนแอสตราเซเนกาจากประเทศอิตาลีจำนวน 50,000 โดสมาไม่ถึงมือทางการไทยตามกำหนด และเกิดความสับสนในช่วงเดือนพฤษภาคมว่า วัคซีนแอสตราเซนกามีเพียงพอกับยอดสั่งจองหรือไม่[34] วันที่ 28 พฤษภาคม อย. ขึ้นทะเบียนวัคซีนซิโนฟาร์ม[35] ข้อมูลในวันเดียวกันพบว่า ไทยมีวัคซีนซิโนแวค 6 ล้านโดส และแอสตราเซเนกา 117,000 โดส และกำลังนำเข้าวัคซีนซิโนแวคเพิ่มเติมในเดือนมิถุนายน ขณะที่วัคซีนแอสตราเซเนกาที่ผลิตในประเทศจะทยอยส่งมอบจนครบ 61 ล้านโดส[36]

สส. พรรคก้าวไกลวิจารณ์การวางแผนวัคซีนของรัฐบาลว่า ทำให้ต้องจ่ายค่าตรวจหาเชื้อ ค่ายาต้านไวรัสและค่านอนโรงพยาบาลที่แพงกว่าวัคซีนมาก นอกจากนี้แทนที่จะยอมจัดสรรงบซื้อวัคซีนเพียงไม่ถึง 1 แสนล้านบาท แต่กลับต้องใช้งบเพื่อเยียวยาถึง 7 แสนล้านบาท[37]

โครงการฉีดวัคซีนทั่วประเทศ และการอนุญาตให้นำเข้าวัคซีนยี่ห้ออื่น

[แก้]
ผู้เข้าฉีดวัคซีนนั่งคอยที่จุดบริการวัคซีนโควิด-19 จุดหนึ่งที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในกรุงเทพมหานคร

ระหว่างวันที่ 7–19 มิถุนายน 2564 มีการจัดสรรวัคซีนโควิด-19 (ซิโนแวคและแอสตราเซเนกา) จำนวน 3.5 ล้านโดสใน 13 เขตสุขภาพ[38] มีจุดฉีด 986 จุดทั่วประเทศ[39] วันที่ 7 มิถุนายน 2564 นายกรัฐมนตรีลงนามนำเข้าวัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน 25 ล้านโดสและซิโนแวค 8 ล้านโดส[40] สมาคมโรงพยาบาลเอกชนเปิดเผยราคาวัคซีนโมเดอร์นา 2 เข็มอยู่ที่ 3,800 บาท และจะสั่งซื้อ 10 ล้านโดส[41] วันที่ 8 มิถุนายน ศบค. ออกคำสั่งอนุญาตให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนซื้อวัคซีนได้[42] วันที่ 9 มิถุนายน มีข่าวว่ามีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนที่ลัดคิวฉีดวัคซีน[43] ก่อนต่อมามีการเปิดเผยว่าเป็นคนในครอบครัวของวินมอเตอร์ไซค์ที่เอาเสื้อไปใส่[44] วันที่ 13 มิถุนายน มีข่าวว่า ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโพสต์ประกาศในสื่อสังคมว่าโรงพยาบาลของตนได้รับจัดสรรวัคซีนไม่เพียงพอ และให้ประชาชนไปสอบถามกับกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งต่อมาโพสต์ดังกล่าวถูกลบ[45] วันที่ 17 มิถุนายน มีคำสั่งปลัดกระทรวงมหาดไทยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดจัดหาวัคซีนให้พนักงานไทยเบฟเวอเรจและครอบครัว 7.1 หมื่นคนทั่วประเทศ[46] วัคซีนซิโนฟาร์มลอตแรกมาถึงในวันที่ 20 มิถุนายน 2564[47] มีแพทย์และองค์การแพทย์ออกมาเรียกร้องให้นำเข้าวัคซีนทางเลือกและเลิกนำเข้าวัคซีนซิโนแวคเพิ่มเติม[48][49]

การจัดหาวัคซีน

[แก้]

ข้อมูล ณ วันที่ 18 กรกฎาคม 2564

วัคซีนหลัก

[แก้]

วัคซีนฟรีตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข

วัคซีน ปริมาณสั่งซื้อ จัดส่งแล้ว อนุมัติ มาถึงครั้งแรก นำไปใช้ อ้างอิง
สหราชอาณาจักรสวีเดน ออกซฟอร์ด-แอสตราเซเนกา 61 ล้าน 25.5 ล้าน 20 มกราคม 2564 24 กุมภาพันธ์ 2564 28 กุมภาพันธ์ 2564 [50]
จีน ซิโนแว็ก 31.1 ล้าน 26.52 ล้าน 22 กุมภาพันธ์ 2564 24 กุมภาพันธ์ 2564 28 กุมภาพันธ์ 2564 [51]
สหรัฐอเมริกาเบลเยียม จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน 5 ล้าน ไม่ทราบ 25 มีนาคม 2564 ปลายเดือนมิถุนายน 26 กรกฎาคม 2564 [52]
สหรัฐอเมริกาเยอรมนี ไฟเซอร์-ไบออนเทค 30 ล้าน 3.5 ล้าน 24 มิถุนายน 2564 30 กรกฎาคม 2564 5 สิงหาคม 2564 [53][54][55][56]

วัคซีนทางเลือก

[แก้]

วัคซีนที่ไม่ได้อยู่ในนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ต้องจัดซือผ่านหน่วยงานของรัฐ ซึ่งรัฐบาลจะไม่สนับสนุนค่าฉีดวัคซีน อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเหล่านี้จะยังคงนับอยู่ในโครงการฉีดวัคซีนทั่วประเทศ

วัคซีน ผู้นำเข้า ปริมาณสั่งซื้อ จัดส่งแล้ว อนุมัติ มาถึงครั้งแรก นำไปใช้ อ้างอิง
สหรัฐอเมริกา โมเดอร์นา องค์การเภสัชกรรม 5 ล้าน 5.6 แสน 13 พฤษภาคม 2564 1 พฤศจิกายน 2564 9 พฤศจิกายน 2564 [28][57]
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ 8 ล้าน รอจัดส่ง 13 พฤษภาคม 2564 รอจัดส่ง รอจัดส่ง [58]
จีน ซิโนฟาร์ม ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ 15 ล้าน 15 ล้าน 28 พฤษภาคม 2564 20 มิถุนายน 2564 25 มิถุนายน 2564 [35][47]

วัคซีนที่รอการยอมรับ

[แก้]

วัคซีนในระยะทดลอง

[แก้]
วัคซีน ชนิด (เทคโนโลยี) ความคืบหน้า
ไทยสหรัฐอเมริกา NDV-HXP-S (HXP-GPOVac)
มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยเท็กซัส ออสติน
เวกเตอร์เป็นไวรัสก่อโรคนิวคาสเซิล
(ตัดแต่งพันธุกรรมให้มีโปรตีนส่วนหนามของ SARS-CoV-2
โดยบางตัวมีและไม่มี CpG 1018 เป็นตัวเสริม)
ระยะ 1-2 (460)[60]
ทดลองแบบสุ่ม, ศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก, อำพรางผู้สังเกตการณ์
ช่วงเวลาและแหล่ง: มีนาคม 2564–พฤษภาคม 2565 ประเทศไทย[61]
ไทย จุฬาคอฟ19
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาร์เอ็นเอ ระยะ 1-2 (96)[62]
ศึกษาขนาดยา
ช่วงเวลาและแหล่ง: มกราคม–มีนาคม 2564 ไทย
ไทย Baiya SARS-CoV-2 Vax 1[63]
ใบยา ไฟโตฟาร์ม
ซับยูนิต ระยะ 1 (96)[64]
ทดลองแบบสุ่ม, ทดลองแบบเปิด, หาขนาดยา
ช่วงเวลาและแหล่ง: กันยายน–ธันวาคม 2564 ไทย
ออสเตรเลียไทย โควิเจน[65]
ไบโอเน็ตเอเชีย, เทคโนวาเลีย, มหาวิทยาลัยซิดนีย์
ดีเอ็นเอ ระยะ 1 (150)[66]
Double-blind, dose-ranging, ทดลองแบบสุ่ม, ศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก
ช่วงเวลาและแหล่ง: กุมภาพันธ์ 2564–มิถุนายน 2565 ออสเตรเลีย ไทย

ความเชื่อมั่นต่อวัคซีน

[แก้]

ผลสำรวจของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขเมื่อเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ได้ผลว่า มีบุคลากรการแพทย์ที่ต้องการรับวัคซีนโควิด-19 (ไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม) เพียงร้อยละ 55 โดยวัคซีนที่ต้องการอันดับหนึ่งคือวัคซีนของแอสตราเซเนกา และอันดับสองคือวัคซีนของซิโนแว็ก[19] การสำรวจของสวนดุสิตโพลในเดือนพฤษภาคม 2564 จำนวน 2,644 คน พบว่าวัคซีนที่ผู้ตอบเชื่อมั่นมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ไฟเซอร์ โมเดอร์นา จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน แอสตราเซเนกาและสปุตนิกวีตามลำดับ[67]

ข้อมูลจนถึงวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 พบว่ามีผู้เสียชีวิตหลังจากฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วจำนวน 9 คน แต่ทางการระบุสาเหตุการเสียชีวิตว่าเกิดจากโรคประจำตัวและปัจจัยอื่นทั้งหมด[68]

วันที 15 มิถุนายน 2564 ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กว่า พบปัญหาบุคคลที่ฉีดวัคซีนซิโนแวคและแอสตราเซเนกาสองเข็มแล้วยังมีภูมิคุ้มกันไม่เพียงพอ อาจต้องฉีดวัคซีนเพิ่มเป็นเข็มที่สาม[69] ในเดือนเดียวกัน อย. สั่งงดฉีดซิโนแวคบางล็อตเนื่องจากพบเป็นเจล[70]

ความกังวลต่อการใช้วัคซีนโคโรนาแว็ก (ของซิโนแวค)

[แก้]

แม้ว่าทางการจีนออกมายอมรับว่าวัคซีนซิโนแวคมีประสิทธิภาพต่ำก็ตาม[71] แต่กระทรวงสาธารณสุขและแพทย์บางส่วนยังคงยืนยันว่าวัคซีนดังกล่าวมีประสิทธิภาพ[72][73] วันที่ 21 เมษายน 2564 กระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดระยองจำนวน 6 รายมีอาการคล้ายโรคหลอดเลือดสมองภายใน 10 นาทีหลังฉีดวัคซีนโคโรนาแวค[74] วันที่ 5 พฤษภาคม 2564 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเสนอเกณฑ์จ่ายเงินชดเชยกรณีได้รับความเสียหายจากวัคซีน รายละ 1–4 แสนบาท[75] ในวันที่ 8 พฤษภาคม แพทย์จุฬาคนหนึ่งโพสต์เฟซบุ๊กบรรยายภาวะที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย โดยเฉพาะวัคซีนโคโรนาแว็ก[76] โดยตั้งชื่อว่า กลุ่มอาการทางระบบประสาทเฉพาะที่ที่สัมพันธ์กับการรับวัคซีน (immunization-related focal neurological syndrome, IRFN)[77][a] ผู้ป่วยมักมีอาการทางระบบรับสัมผัส เช่น รู้สึกชาด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย เช่น ปลายมือ มุมปาก และแก้ม มักพบเป็นข้างเดียวกันกับที่ฉีดวัคซีน นอกจากนี้อาจพบอาการตาบอดครึ่งซีก (hemianopia) ชั่วคราว และอาการอ่อนแรงชั่วคราวได้ด้วย และอาจพบร่วมกับอาการปวดศีรษะและอาเจียน[78] มักพบในผู้รับวัคซีนที่เป็นเพศหญิงอายุ 20-50 ปี[78] มีการตั้งข้อสังเกตว่ากลไกการเกิดภาวะนี้อาจเกี่ยวข้องกับการหดเกร็งของหลอดเลือดสมอง และยาทางจิตเวชบางชนิดอาจมีกลไกคล้ายคลึงกัน ทำให้มีคำแนะนำจากราขวิทยาลัยจิตแพทย์ในการเลือกหยุดยาบางชนิด ในกรณีที่สามารถหยุดได้โดยไม่มีอันตราย[79]

วัคซีนในประเทศ

[แก้]

ในเดือนมีนาคม 2564 เริ่มการทดลองวัคซีน NDV-HXP-S ที่มหาวิทยาลัยมหิดล[80][81][82] ส่วนในเดือนเมษายน 2564 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประกาศรับสมัครอาสาสมัครวัคซีน ChulaCov19 ระยะที่ 1 และ 2[83] ในขณะที่วัคซีนที่ผลิตด้วยใบยาสูบของบริษัทใบยาไฟโตฟาร์มร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังอยู่ในระยะก่อนการทดลองในมนุษย์ โดยคาดว่าจะเข้าสู่ระยะการทดลองในมนุษย์ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564[84] จนถึงเดือนเมษายน 2564 ขั้นตอนการผลิตวัคซีนของบริษัทสยามไบโอไซแอนซ์อยู่ในขั้นส่งตรวจคุณภาพวัคซีน และนายกรัฐมนตรียืนยันว่าเป็นไปตามกำหนดส่งมอบในเดือนมิถุนายน 2564[85][86]

ต้นเดือนมิถุนายน 2564 มีข่าวว่าทางการฟิลิปปินส์ระบุว่าทางการไทยจัดส่งวัคซีนแอสตราเซเนกาที่ผลิตโดยบริษัทสยามไบโอไซแอนซ์ล่าช้า[87] โดยก่อนหน้านี้ ในเดือนพฤษภาคม 2564 มีข่าวว่าบริษัทสยามไบโอไซแอนซ์ประกาศรับสมัครบุคลากรฝ่ายผลิต[88]

การกำหนดราคาของวัคซีน

[แก้]

วันที่ 1 กรกฎาคม มีข่าวว่า นายแพทย์เฉลิม หาญพาณิชย์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน มติล่าสุดของสมาคมกำหนดอัตราให้บริการฉีดวัคซีนโมเดอร์นา 2 เข็ม อยู่ที่ 3,300 บาท หรือ 1,650 บาท/เข็ม ในอัตราเดียวกันทุกโรงพยาบาลเอกชนที่ให้บริการ และเป็นราคาสุทธิที่รวมค่าวัคซีน ค่าบริการ และค่าประกันวัคซีนทั้งหมดแล้ว[89]

วันที่ 14 กรกฎาคม มีรายงานว่า ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จะเปิดให้ประชาชนทั่วไปจอง "วัคซีนซิโนฟาร์ม" ในวันที่ 18 ก.ค.64 จำนวน 40,000 โดส คาดว่าราคาไม่เกิน 888 บาท[90]

วันที่ 15 กรกฎาคม มีรายงานว่า นพ.บุญระบุว่า บมจ.ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จะลงนามสัญญาเพื่อนำเข้าวัคซีนต้านโควิด-19 กับ บริษัท ไบโอเอนเทค ที่มีโรงงานผลิตวัคซีนไฟเซอร์ในเยอรมนี และยินดีขายให้ภาคเอกชนที่ต้องการฉีด เบื้องต้นราคาต้นทุนอยู่ที่ 17 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส หรือราว 555 บาทต่อโดส ยังไม่รวมค่าขนส่ง ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคิดราคารวมโดยประมาณ 900 บาทต่อโดส[91]

กรณีอื้อฉาว

[แก้]

การใช้วัคซีนไม่ตรงตามแนวทางรักษา

[แก้]

วันที่ 20 พฤษภาคม มีข่าวว่ากรมควบคุมโรคชี้แจงว่าในวัคซีนแอสตราเซเนกา 1 ขวด ซึ่งกำหนดให้ใช้ 10 โดส สามารถดูดได้ 12 โดส ซึ่งอ้างว่าจะช่วยให้สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในประเทศเร็วขึ้น[92]

วันที่ 23 พฤษภาคม ยง ภู่วรวรรณเสนอให้ผู้ได้รับวัคซีนซิโนแวคฉีดวัคซีนสลับชนิดกัน หลังมีข่าวว่าประเทศตะวันตกไม่ยอมรับวัคซีนของจีน[93]

ในเดือนมิถุนายน มีข่าวว่ากรมควบคุมโรคมีแนวทางให้ฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 16 สัปดาห์ ขณะที่คำแนะนำขององค์การอนามัยโลกไม่แนะนำให้ฉีดเว้นห่างกันเกิน 12 สัปดาห์[94]

การรวมศูนย์อำนาจที่นายกรัฐมนตรีหรือ ศบค.

[แก้]

วันที่ 27 เมษายน 2564 มีข่าวว่า คณะรัฐมนตรีโอนอำนาจเกี่ยวกับการรับมือโควิด-19 ให้แก่นายกรัฐมนตรี[95] ในเดือนมิถุนายน 2564 อนุทิน ชาญวีรกุลยืนยันว่าปัญหาบางโรงพยาบาลได้รับจัดสรรวัคซีนไม่เพียงพอนั้น ไม่เกี่ยวกับกระทรวงสาธารณสุข แต่ขึ้นอยู่กับ ศบค.[96]

วันที่ 29 กันยายน 2564 ได้มีประกาศยกเลิกการโอนอำนาจตามกฎหมาย 31 ฉบับดังกล่าว กลับไปเป็นของรัฐมนตรีที่มีหน้าที่รับผิดชอบตามปกติ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564[97]

การกำหนดราคาของวัคซีน

[แก้]

วันที่ 12 กรกฎาคม 2564 องค์การเภสัชกรรม แถลงการณ์โต้โซเชียล แจงปมราคานำเข้า "วัคซีนโมเดอร์นา" ในราคา 584 บาทต่อโดส ไม่เป็นความจริง [98]

ปัญหาการนำเข้าวัคซีนบริจาคจากโปแลนด์

[แก้]

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์แถลงยุติการนำเข้าวัคซีนโมเดอร์นาจำนวน 1.5 ล้านโดส ซึ่งได้มีการเจรจารับบริจาคจากสำนักงานสำรองทางยุทธศาสตร์ของโปแลนด์ (RARS) ตามที่ภาคเอกชนผู้แทนได้ประสานงานไว้ โดยธรรมศาสตร์ขอให้กระทรวงการต่างประเทศออกจดหมายยืนยันในนามรัฐบาลไทย เนื่องจากผู้บริจาคประสงค์ให้หน่วยงานที่มีสถานะเป็นผู้แทนรัฐบาลแจ้งเจตนาที่จะรับบริจาค แต่กระทรวงการต่างประเทศไม่ออกหนังสือให้โดยแถลงว่าได้หารือกับกระทรวงการต่างประเทศโปแลนด์ ได้รับแจ้งว่าไม่อนุญาตให้นำวัคซีนที่ได้รับบริจาคไปจำหน่าย และฝ่ายไทยต้องได้รับ market authorization จากบริษัทผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายวัคซีนด้วย โดยธรรมศาสตร์ได้แจ้งก่อนหน้าว่า ในการรับบริจาคมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก มหาวิทยาลัยจึงจะรับวัคซีนจำนวน 1/3 ของที่ได้รับไว้เอง เพื่อให้บริการประชาชนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และจะมอบวัคซีนที่ได้รับอีก 2/3 ให้เอกชนที่เป็นหุ้นส่วน เพื่อนำไปจำหน่ายชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น[99]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. ระวังสับสนกับการตอบสนองที่เกี่ยวข้องกับความเครียดจากการก่อภูมิคุ้มกัน (immunization stress-related response, ISRR) ซึ่งมีบรรยายในวรรณกรรมขององค์การอนามัยโลก

อ้างอิง

[แก้]
  1. "รายงานความก้าวหน้าการให้บริการฉีดวัคซีนโควิด 19". กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 11 December 2021.[ลิงก์เสีย]
  2. "ความคืบหน้าการฉีดวัคซีน COVID-19 ในประเทศไทย". The Researcher Covid Tracker. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-03. สืบค้นเมื่อ 20 January 2022.
  3. 3.0 3.1 "Covid-19 Vaccination Dashboard". MOPH. 8 Nov 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-02. สืบค้นเมื่อ 8 Nov 2021.
  4. "UCINFO". NHSO. 27 Aug 2021. สืบค้นเมื่อ 27 Aug 2021.[ลิงก์เสีย]
  5. "ไทยฉีดวัคซีนโควิดแล้วกว่า 4.21 ล้านโดส". ฐานเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 8 June 2021.
  6. "เรื่องน่ารู้ของวัคซีนโควิด-19 ที่ไทยสั่งซื้อ". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 5 January 2021.
  7. "ทำความรู้จัก ออกซ์ฟอร์ด-แอสทราเซเนกา วัคซีนที่ไทยเลือก". มติชนออนไลน์. 2 January 2021. สืบค้นเมื่อ 5 January 2021.
  8. "ครม.ไฟเขียวงบซื้อวัคซีนโควิดเพิ่ม35ล้านโดส ฉีดให้คนไทย66ล้าน". โพสต์ทูเดย์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-28. สืบค้นเมื่อ 5 January 2021.
  9. "นายกฯ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ร.10 ทรงให้ "สยามไบโอไซเอนซ์" รองรับวัคซีนโควิด-19". BBC ไทย. 27 November 2020. สืบค้นเมื่อ 5 January 2021.
  10. "ข่าวดี ไทยเริ่มผลิตวัคซีน "โควิด-19" ในประเทศ รอบที่ 2 แล้ว". ไทยรัฐ. 3 January 2021. สืบค้นเมื่อ 5 January 2021.
  11. "'ซีพี' ทุ่ม 1.5 หมื่นล้านบาท ลงทุน บ.ผลิตวัคซีน 'ซิโนแวค'". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 5 January 2021.
  12. "Thailand Charges Opposition Figure with Defaming King". VOA (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 25 January 2021.
  13. "ตอบแล้ว! 'อนุทิน' แจงข้อสงสัยธนาธร กรณีจัดหาวัคซีน". มติชนออนไลน์. 26 January 2021. สืบค้นเมื่อ 26 January 2021.
  14. "อนุทิน เปรียบไทยซื้อวัคซีนของแอสตร้าฯเหมือน 'แทงม้าเต็ง' พร้อมหนุนหน่วยงานไทยผลิตวัคซีนเอง". มติชนออนไลน์. 11 February 2021. สืบค้นเมื่อ 10 April 2021.
  15. "อึ้ง! ยามห้างดัง ง้างมือตบหน้า นศ.สาว ถือป้ายแสดงออก ทางการเมือง". ข่าวสด. 19 January 2021. สืบค้นเมื่อ 19 January 2021.
  16. "Iconsiam guard accused of slapping student protester but guess which was taken to police?". Coconuts. 19 January 2021. สืบค้นเมื่อ 19 January 2021.
  17. "ดีเดย์! 14 กุมภาฯฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มแรก 12 ก.พ.ลงทะเบียนหมอพร้อม". มติชนออนไลน์. 25 January 2021. สืบค้นเมื่อ 26 January 2021.
  18. "ไทยตกขบวน 'COVAX' ชาติเดียวอาเซียนไม่ได้วัคซีนโควิด-19". workpointTODAY. สืบค้นเมื่อ 5 February 2021.
  19. 19.0 19.1 "วัคซีนโควิดล็อตแรกถึงไทย แต่กลุ่มเป้าหมายแรกพร้อมฉีดแค่ไหน". BBC ไทย. 24 February 2021. สืบค้นเมื่อ 24 February 2021.
  20. "ไทยกระจาย 'วัคซีนโควิด19' ล็อต 2 มากกว่า 22 จังหวัด". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 7 April 2021.
  21. "จองคิวฉีดวัคซีน ไทยถึงเป้าหมายเร็วขึ้น". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 7 April 2021.
  22. "หายสงสัย! เพจดังเฉลย ทบ. ฉีดวัคซีนแคดดี้ ก่อนเพราะอยู่ใกล้ทหารเกษียณ". Bright Today. 18 March 2021. สืบค้นเมื่อ 20 June 2021.
  23. "เอกชนกังวลรัฐฉีดวัคซีนล่าช้า ซ้ำเติมเศรษฐกิจ วอนเปิดทาง รพ.นำเข้า". ประชาชาติธุรกิจ. 30 March 2021. สืบค้นเมื่อ 8 April 2021.
  24. "ภาคท่องเที่ยวจี้รัฐหยุดผูกขาดวัคซีนโควิด วิกฤตเศรษฐกิจรอไม่ได้". BBC ไทย. 22 March 2021. สืบค้นเมื่อ 8 April 2021.
  25. "เกิดผลข้างเคียงอะไรบ้างกับคนไทย หลังเริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 8 April 2021.
  26. "'หมอจุฬาฯ' กระทุ้งรัฐต้องบอกความจริง ประสิทธิภาพวัคซีนโควิดไทยได้แค่ 62%". ผู้จัดการ. 9 April 2021. สืบค้นเมื่อ 10 April 2021.
  27. ""นายกฯ" ตั้ง 18 คณะทำงาน จัดหา "วัคซีนทางเลือก" ไร้ชื่อ "อนุทิน" ร่วม". ไทยรัฐ. 10 April 2021. สืบค้นเมื่อ 12 April 2021.
  28. 28.0 28.1 "วัคซีนโมเดอร์นา ได้รับการขึ้นทะเบียน จาก อย. มีผล 13 พ.ค." ประชาชาติธุรกิจ. 13 May 2021. สืบค้นเมื่อ 13 May 2021.
  29. "ผลการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในคนไทย สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีมาก ทั้ง "ซิโนแวค-แอสตร้าเซนเนก้า"". ผู้จัดการออนไลน์. 14 May 2021. สืบค้นเมื่อ 15 May 2021.
  30. "ศึกชิงวัคซีนโควิด สมรภูมินี้ใครชนะ". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 26 May 2021.
  31. ""หมอพร้อม" ชะลอลงทะเบียน ปรับแผนกระจายวัคซีนใหม่ ประยุทธ์ สั่ง". ประชาชาติธุรกิจ. 26 May 2021. สืบค้นเมื่อ 26 May 2021.
  32. "สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ประกาศเพิ่มอำนาจ สามารถนำเข้า จัดจำหน่ายวัคซีนได้เอง จับตานำเข้าวัคซีน 'ซิโนฟาร์ม' ทางเลือกปชช". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 26 May 2021.
  33. "ประกาศราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ อนุญาตให้จัดหาวัคซีนในสถานการณ์โควิด 19 และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 26 May 2021.
  34. "ย้อนไทม์ไลน์: โควิด-19 กับวัคซีนแอสตราเซเนกาที่หายไป". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 27 May 2021.
  35. 35.0 35.1 "ซิโนฟาร์ม อย. อนุมัติการขึ้นทะเบียนแล้ว". ประชาชาติธุรกิจ. 28 May 2021. สืบค้นเมื่อ 2 June 2021.
  36. "วัคซีนทางเลือกแรกของไทย กับเบื้องหลังปิดดีล "ซิโนฟาร์ม"". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 2 June 2021.
  37. "'วิโรจน์' ไล่ 'รัฐบาล' ลาออก จัดงบประมาณ 'ไร้สามัญสำนึก' เหมือนลูกทรพีตื๊อซื้อของเล่น ให้กองทัพซุกงบ". มติชนออนไลน์. 31 May 2021. สืบค้นเมื่อ 31 May 2021.
  38. ""ฉีดวัคซีนโควิด-19" เช็กเลยกลุ่มจังหวัดไหนได้วัคซีนอะไร เท่าไหร่ ครบจบ". ฐานเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  39. "ฉีดวัคซีนโควิด-19 วันแรก หลายจังหวัดได้แอสตร้าเซนเนก้าฉีดผู้สูงอายุ". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  40. "ประยุทธ์ ลงนามแล้ว นำเข้าวัคซีน 'จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน' 25 ล้านโดส". ข่าวสด. 7 June 2021. สืบค้นเมื่อ 8 June 2021.
  41. "สมาคม รพ.เอกชน เคาะวัคซีนโมเดอร์นา 2 เข็ม 3,800 บาท ราคาเดียวทั่วประเทศ". ประชาชาติธุรกิจ. 7 June 2021. สืบค้นเมื่อ 8 June 2021.
  42. "นายกฯ ประกาศ 6 มาตรการปลดล็อก 'วัคซีนโควิด-19' ท้องถิ่นซื้อได้ สั่งสธ.เร่งนำเข้าวัคซีน". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 8 June 2021.
  43. "จวกยับ! VIP แซงคิวฉีดวัคซีน ไม่แคร์คนยืนรอเป็นร้อย โห่ลั่นยังไม่สน ถาม "แบบนี้ก็ได้หรอ?"". ผู้จัดการออนไลน์. 9 June 2021. สืบค้นเมื่อ 11 June 2021.
  44. "เฉลยแล้ว! แก๊งปลอมตัวเป็นวิน จยย.หวังแซงคิวฉีดวัคซีนโควิด ที่แท้เป็นคนในครอบครัว". ผู้จัดการออนไลน์. 12 June 2021. สืบค้นเมื่อ 13 June 2021.
  45. "ผอ.รพ.นมะรักษ์ เคลียร์ถูกสั่งลบโพสต์ถามเหตุเลื่อนฉีดวัคซีนกับ "อนุทิน"". Thai PBS. 13 June 2021. สืบค้นเมื่อ 13 June 2021.
  46. "มหาดไทย แจงปมสั่งผู้ว่าฯ จัดหาวัคซีนให้ พนง.ไทยเบฟฯ และครอบครัว 7.1 หมื่นคน". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 20 June 2021.
  47. 47.0 47.1 "วัคซีนซิโนฟาร์มล็อตแรกถึงไทย". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 20 June 2021.
  48. ""หมอนิธิพัฒน์"ชี้การเรียกร้องรัฐให้เลิกซื้อ"วัคซีนซิโนแวค"ไม่ถูกต้อง". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 30 June 2021.
  49. "ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ จี้ รบ.เร่งนำเข้าวัคซีนทางเลือกทุกชนิด เปิดโอกาส ปชช.ได้เข้าถึง". pptvhd36.com. สืบค้นเมื่อ 30 June 2021.
  50. "อย. ขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด "แอสตราเซเนกา" จากอิตาลี ลอตแรกแล้ว". ไทยรัฐ. 21 January 2021. สืบค้นเมื่อ 13 June 2021.
  51. "อย.ขึ้นทะเบียนวัคซีน "ซิโนแวค" ก่อนถึงไทยพรุ่งนี้". ไทยพีบีเอส. 23 February 2021. สืบค้นเมื่อ 13 June 2021.
  52. "อนุทิน เผย อย.อนุมัติวัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ใช้ในไทยได้แล้ว". มติชน. 25 March 2021. สืบค้นเมื่อ 13 June 2021.
  53. "ด่วน อย. อนุมัติขึ้นทะเบียนวัคซีน "ไฟเซอร์" แล้ว". ประชาชาติธุรกิจ. 24 June 2021. สืบค้นเมื่อ 24 June 2021.
  54. "ดีล"วัคซีนไฟเซอร์" จบแล้ว "40 ล้านโดส" ทยอยเข้าไทยก.ค.นี้". ฐานเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 19 July 2021.
  55. "วัคซีนไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดสที่บริจาคโดยสหรัฐฯ มาถึงไทยแล้ว". สถานทูตสหรัฐและสถานกงสุลในประเทศไทย. 30 July 2021. สืบค้นเมื่อ 31 July 2021.
  56. "สธ. เผยเริ่มฉีดไฟเซอร์แล้ววันนี้ หลังส่งวัคซีนให้ครบ 10 จังหวัด". ประชาชาติธุรกิจ. 5 August 2021. สืบค้นเมื่อ 5 August 2021.
  57. "โมเดอร์นา ลอตแรก 5.6 แสนโดสถึงไทยแล้ว เร่งตรวจคุณภาพก่อนกระจายทั่วไทย". ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 1 Nov 2021.
  58. ""รจภ. นำเข้า "โมเดอร์นา" วัคซีนตัวเลือกชนิดที่ ๒ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ในปี ๒๕๖๕". Chulabhorn Royal Academy. สืบค้นเมื่อ 18 Oct 2021.
  59. 59.0 59.1 "เปิด 5 วัคซีนป้องกัน COVID ที่ขึ้นทะเบียนในไทยแล้ว". Thai PBS. สืบค้นเมื่อ 24 June 2021.
  60. "Assess the Safety and Immunogenicity of NDV-HXP-S Vaccine in Thailand". ClinicalTrials.gov. 21 February 2021. NCT04764422. สืบค้นเมื่อ 7 April 2021.
  61. Zimmer, Carl (April 5, 2021). "Researchers Are Hatching a Low-Cost Coronavirus Vaccine". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 7 April 2021.
  62. "ChulaCov19 mRNA Vaccine in Healthy Adults". ClinicalTrials.gov. 28 September 2020. NCT04566276. สืบค้นเมื่อ 21 March 2021.
  63. Rujivanarom, Pratch (6 June 2021). "Local jabs yet to join Covid fight". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 8 July 2021.
  64. "A Study to Evaluate Safety, Tolerability, and Reactogenicity of an RBD-Fc-based Vaccine to Prevent COVID-19". ClinicalTrials.gov. 7 July 2021. NCT04953078. สืบค้นเมื่อ 7 July 2021.
  65. "COVALIA study update: first healthy volunteers dosed in needle-free SARS-CoV2 DNA vaccine phase 1 trial". Bionet Asia. 30 June 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-19. สืบค้นเมื่อ 19 July 2021.
  66. "The Safety and Immunogenicity of a DNA-based Vaccine (COVIGEN) in Healthy Volunteers (COVALIA)". ClinicalTrials.gov. 8 February 2021. NCT04742842.
  67. "โพลเผยประชาชน เชื่อมั่น 5 วัคซีน "ไฟเซอร์" มานำที่ 1 "ซิโนแวค" ไร้ในโผ". ข่าวสด. 23 May 2021. สืบค้นเมื่อ 24 May 2021.
  68. "เปิดสาเหตุ 'เสียชีวิต' หลัง 'ฉีดวัคซีนโควิด' เกิดจากอะไรบ้าง?". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 1 June 2021.
  69. ""หมอธีระวัฒน์" เผย เจอปัญหาผู้ได้รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มแล้ว ภูมิขึ้นน้อย". ไทยรัฐ. 13 June 2021. สืบค้นเมื่อ 15 June 2021.
  70. "ด่วน! อย. แจ้งพบ วัคซีนซิโนแวค บางล็อตมีปัญหา เป็นเจลใส-เขย่าไม่หาย". ข่าวสด. 29 June 2021. สืบค้นเมื่อ 29 June 2021.
  71. "จีนยอมรับเอง "ซิโนแวค" ประสิทธิภาพการป้องกันโควิดยังต่ำ". ไทยรัฐ. 12 April 2021. สืบค้นเมื่อ 17 April 2021.
  72. "สธ. ชี้ วัคซีนซิโนแวคได้มาตรฐาน แม้จีนยอมรับอัตราป้องกันเชื้อโควิดต่ำ". BBC ไทย. 12 April 2021. สืบค้นเมื่อ 17 April 2021.
  73. "หมอธีระวัฒน์ ชี้ไทยต้องเร่งฉีดวัคซีน หลังพบ ซิโนแวค ภูมิจะเกิดหลังฉีดเข็มสอง". ไทยรัฐ. 16 April 2021. สืบค้นเมื่อ 17 April 2021.
  74. "คนไทยยังไว้ใจวัคซีนซิโนแวคได้หรือไม่ หลังพบอาการคล้ายสโตรก 6 ราย". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 21 April 2021.
  75. "เปิดเกณฑ์สปสช.จ่ายช่วยเหลือคนไทยจากผลข้างเคียงวัคซีน 1-4 แสนบาท". โพสต์ทูเดย์. สืบค้นเมื่อ 5 May 2021.
  76. "อ.เจษฎา โพสต์ผลศึกษา รพ.จุฬา พบส่วนใหญ่เพศหญิงมีอาการข้างเคียง หลังฉีดวัคซีนซิโนแวค". CH3Plus.com. สืบค้นเมื่อ 13 May 2021.
  77. "กลุ่มอาการ IRFN ที่พบได้หลังรับวัคซีนโรคโควิด-19". chulalongkornhospital.go.th. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. สืบค้นเมื่อ July 3, 2021.
  78. 78.0 78.1 นิจศรี ชาญณรงค์ สุวรรณเวลา (2021-05-08). "Immunization Related Focal Neurological Syndrome (IRFN) อาการไม่รุนแรง หายเองได้ ขอให้มั่นใจในการฉีดวัคซีน COVID-19". facebook. Nijasri Charnnarong. สืบค้นเมื่อ 2021-05-10.
  79. Covid19-md
  80. Limited, Bangkok Post Public Company. "Thai-made vaccine ready 'by next year'". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2021-04-09.
  81. Zimmer, Carl (2021-04-05). "Researchers Are Hatching a Low-Cost Coronavirus Vaccine". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-04-09.
  82. "Thai-developed Covid-19 vaccine starts human trials". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 8 April 2021.
  83. "จุฬาฯ เปิดรับ อาสาสมัครทดลองวัคซีนโควิด สัญชาติไทย". ประชาชาติธุรกิจ. 22 April 2021. สืบค้นเมื่อ 24 April 2021.
  84. วัคซีนใบยาฝีมือคนไทย สู้โควิด-19 ทุกสายพันธุ์ ไทยรัฐ สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2564
  85. "นายกฯ เชื่อวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าปลอดภัย-สยามไบโอไซเอนซ์ผลิตได้ตามแผน". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 24 April 2021.
  86. "นายกฯ ยืนยันไม่ล็อกดาวน์ ติดต่อรัสเซียขอซื้อวัคซีน". BBC ไทย. 16 April 2021. สืบค้นเมื่อ 24 April 2021.
  87. "ฟิลิปปินส์ เผยวัคซีน 'แอสตร้าฯ' ผลิตในไทย โดนเลื่อนส่ง-ลดจำนวน คาดเพราะโรงงานใหม่". มติชนออนไลน์. 1 June 2021. สืบค้นเมื่อ 1 June 2021.
  88. Sriroengla, Pafun (3 May 2021). "สยามไบโอไซเอนซ์ รับสมัครพนักงานฝ่ายผลิต โรงงานย่านบางใหญ่". ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 1 June 2021.
  89. "ราคาเดียวทุกโรงพยาบาล 'โมเดอร์นา' เหลือเข็มละ 1,650 บาท". กรุงเทพธุรกิจ. 1 July 2021. สืบค้นเมื่อ 14 July 2021.
  90. "ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เตรียมให้ประชาชนทั่วไปจอง "วัคซีนซิโนฟาร์ม"". ไทยรัฐ. 14 July 2021. สืบค้นเมื่อ 14 July 2021.
  91. "วัคซีนโควิด-19 : หมอบุญเตรียมเซ็นสัญญานำเข้าวัคซีนไฟเซอร์ 20 ล้านโดส เปิดชื่อหน่วยงานรัฐผู้นำเข้าพรุ่งนี้". BBC. 14 July 2021. สืบค้นเมื่อ 14 July 2021.
  92. "สธ.แจงแล้ว! ฉีดวัคซีน"แอสตร้าเซนเนก้า" 1 ขวด 12 โดสได้ไม่ได้?". ข่าวสด. 20 May 2021. สืบค้นเมื่อ 13 June 2021.
  93. "แนะไทยเร่งฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่มีอยู่ พร้อมเร่งศึกษาแนวทางสลับยี่ห้อวัคซีน". ไทยรัฐ. 23 May 2021. สืบค้นเมื่อ 11 June 2021.
  94. "คำอธิบายและข้อโต้แย้งเมื่อไทยเว้นระยะฉีดแอสตร้าเซนเนก้า 16 สัปดาห์". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 13 June 2021.
  95. "ประยุทธ์ รวบอำนาจกฎหมาย 31 ฉบับ แก้ปัญหาโควิด". ประชาชาติธุรกิจ. 27 April 2021. สืบค้นเมื่อ 20 June 2021.
  96. ""อนุทิน" ยันจัดวัคซีนโควิดโควตา ศบค.-ไม่เกี่ยวเลื่อนนัดฉีด". Thai PBS. 13 June 2021. สืบค้นเมื่อ 20 June 2021.
  97. "สลายซิงเกิลคอมมานด์! นายกฯ คืนอำนาจตาม กม.31 ฉบับ กลับไปเป็นของรัฐมนตรี มีผล 1 ต.ค.นี้". ผู้จัดการออนไลน์. 29 September 2021.
  98. "องค์การเภสัชกรรม แจงราคานำเข้า "โมเดอร์นา" เข็มละ 584 บาท ไม่เป็นจริง". ไทยรัฐ. 12 July 2021. สืบค้นเมื่อ 14 July 2021.
  99. "รพ.ธรรมศาสตร์ฯ ยุตินำเข้าโมเดอร์นาจากโปแลนด์ สรุปจบใน 6 ข้อ". ประชาชาติธุรกิจ. 2 November 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]