ข้ามไปเนื้อหา

การแพทย์ทางชาติพันธุ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แพทยศาสตร์ชาติพันธุ์, การแพทย์ทางชาติพันธุ์[1], การแพทย์เชิงชาติพันธุ์[2] หรือ เวชกรรมชาติพันธุ์[3] (อังกฤษ: Ethnomedicine) เป็นการศึกษาหรือเปรียบเทียบการแพทย์พื้นบ้าน (traditional medicine) ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนการใช้สารประกอบทางชีวภาพในพืชหรือสัตว์ พบปฏิบัติในกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มที่เข้าถึงการแพทย์สมัยใหม่ได้ไม่มาก หรือหมายถึงชนพื้นเมืองต่าง ๆ คำว่า ethnomedicine นั้นบางครั้งใช้เป็นคำพ้องความหมายกับ traditional medicine (การแพทย์พื้นบ้าน)[4][5]

การวิจัยทางการแพทย์ทางชาติพันธุ์นั้นมีความเป็นสหวิทยาการ (Interdisciplinarity) ในตัวมันเอง ในการศึกษาการแพทย์พื้นบ้านนั้นต้องใช้วิธีวิทยาของ พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน (ethnobotany) และมานุษยวิทยาการแพทย์ บ่อยครั้งธรรมเนียมทางการแพทย์นั้นถูกรักษาไว้ผ่านทางธรรมเนียมมุขปาฐะ (oral tradition) เท่านั้น[6]

เภสัชศาสตร์ชาติพันธุ์

[แก้]
เพชรสังฆาต หนึ่งในยาพื้นบ้าน (traditional medicine) ของการแพทย์แผนไทยที่ใช้รักษาอาการริดสีดวงทวาร[7]

เภสัชศาสตร์ชาติพันธุ์ (Ethnopharmacology) เป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกันกับแพทยศาสตร์ชาติพันธุ์ เภสัชศาสตร์ชาติพันธุ์นั้นศึกษาการใช้สารประกอบจากพืชต่าง ๆ ของกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งเกี่ยวข้องกันกับพืชสมุนไพรรักษาโรค (medicinal plant) และ ethnobotany ซึ่งนำไปสู่การค้นพบยาต่าง ๆ[8] การศึกษาเหล่านี้เน้นหนักไปที่การแพทย์พื้นบ้าน แต่ก็พบว่ามีประโยชน์อย่างมากจ่อการผลิตยาแผนปัจจุบันในอุตสาหกรรมยาเช่นกัน[9][10]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ศัพท์บัญญัติศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร https://www.sac.or.th/databases/anthropology-concepts/glossary/50
  2. สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ http://www.shi.or.th/download/64/ เก็บถาวร 2021-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. กองบรรณาธิการ HonestDocs https://www.honestdocs.co/terminology-thai-traditional-medicine
  4. Acharya, Deepak and Shrivastava Anshu: Indigenous Herbal Medicines: Tribal Formulations and Traditional Herbal Practices. Aavishkar Publishers Distributor, Jaipur / India 2008, ISBN 978-81-7910-252-7, p. 440.
  5. Meyer-Rochow, V.B. (January 2017). "Therapeutic arthropods and other, largely terrestrial, folk-medicinally important invertebrates: a comparative survey and review". Journal of Ethnobiology and Ethnomedicine. 13 (9): 9. doi:10.1186/s13002-017-0136-0. PMC 5296966. PMID 28173820.
  6. Acharya, Deepak and Shrivastava Anshu: Indigenous Herbal Medicines: Tribal Formulations and Traditional Herbal Practices. Aavishkar Publishers Distributor, Jaipur / India 2008, ISBN 978-81-7910-252-7, p. 440.
  7. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ. http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_17_2.htm
  8. Thomas M. Johnson; Carolyn F. Sargent (1996). "Ethnopharmacology: The Conjunction of Medical Ethnography and the Biology of Therapeutic Action". Medical Anthropology: Contemporary Theory and Method. Westport, Connecticut: Praeger Publishers. pp. 132–133, 151.
  9. Buer, Jonas Kure (2015). "A history of the term "DMARD"". Inflammopharmacology. 23 (4): 163–171. doi:10.1007/s10787-015-0232-5. PMC 4508364. PMID 26002695.
  10. Buer JK (Oct 2014). "Origins and impact of the term 'NSAID'". Inflammopharmacology. 22 (5): 263–7. doi:10.1007/s10787-014-0211-2. hdl:10852/45403. PMID 25064056.

แหล่ข้อมูลอื่น

[แก้]