ข้ามไปเนื้อหา

การแบ่งแถบสี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตัวอย่างของการแบ่งแถบสี ที่มองเห็นในท้องฟ้าในภาพถ่ายนี้
ภาพประกอบการแบ่งแถบสี ใช้เพียง 3 บิตสำหรับช่องสีแดงในภาพสองภาพทางซ้าย 8 บิตในภาพทางขวา

การแบ่งแถบสี (Colour banding) ที่ละเอียดอ่อนของ การโปสเตอร์ไรเซชัน ในภาพดิจิตอล ซึ่งเกิดจากการที่สีของแต่ละพิกเซลถูกปัดเศษไปยังระดับสีดิจิตอลที่ใกล้ที่สุด แม้ว่าการโปสเตอร์ไรเซชัน มักจะทำขึ้นเพื่อสร้างเอฟเฟกต์ทางศิลปะ แต่การแบ่งแถบสีกลับเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ในโหมดสี 24 บิต 8 บิตต่อช่องสัญญาณมักถือว่าเพียงพอสำหรับการเรนเดอร์ภาพใน Rec. 709 หรือ sRGB อย่างไรก็ตาม ดวงตาสามารถมองเห็นความแตกต่างระหว่างระดับสีได้ โดยเฉพาะเมื่อมีขอบที่คมชัดระหว่างพื้นที่ขนาดใหญ่สองพื้นที่ของระดับสีที่อยู่ติดกัน ซึ่งจะเกิดขึ้นกับการไล่ระดับ แบบค่อยเป็นค่อยไป (เช่น พระอาทิตย์ตก พระอาทิตย์ขึ้น หรือท้องฟ้าสีคราม) และเมื่อเบลอภาพในปริมาณมาก [1]

การแบ่งแถบสีจะสังเกตเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นเมื่อมีจำนวน บิตต่อพิกเซล (BPP) น้อยกว่า ที่ 16–256 สี (4–8 BPP) ซึ่งมีเฉดสีน้อยกว่าและมีความแตกต่างระหว่างสีที่มากขึ้น

วิธีแก้ไขที่เป็นไปได้ได้แก่ การสั่นแบบกระจาย มาใช้และการเพิ่มจำนวนบิตต่อช่องสี

เนื่องจากการแบ่งแถบเกิดจากข้อจำกัดในการนำสนอภาพ การทำภาพ เบลอ ไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหานี้

อ้างอิง

[แก้]
  1. Gonzalez, Rafael C.; Woods, Richard E.; Masters, Barry R. (2009). "Digital Image Processing, Third Edition". Journal of Biomedical Optics. 14 (2): 029901. doi:10.1117/1.3115362. ISSN 1083-3668.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]