การเสียชีวิตของอะบู บักร์ อัลบัฆดาดี
ปฏิบัติการเคย์ลา มูเอลเลอร์ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การแทรกแซงทางทหารนานาชาติต่อต้านไอซิล, การแทรกแซงที่นำโดยอเมริกาในสงครามกลางเมืองของซีเรีย (ปฏิบัติการแก้ปัญหาจากต้นกำเนิด), สงครามกลางเมืองซีเรีย และสงครามต่อต้านการก่อการร้ายทั่วโลก | |||||||
บริเวณที่ซ่อนของบัฆดาดี ก่อนและหลังการตีโฉบฉวยปฏิบัติการพิเศษสหรัฐ วันที่ 26–27 ตุลาคม ค.ศ. 2019 | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
สหรัฐอเมริกา สนับสนุนโดย: อิรัก[1] ตุรกี[2][3] กองกำลังประชาธิปไตยซีเรีย[4] |
รัฐอิสลาม องค์กรพิทักษ์ศาสนา | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
ดอนัลด์ ทรัมป์ มาร์ก เอสเปอร์ เคนเนธ เอฟ. แมคเคนซี จูเนียร์ มาร์ก เอ. มิลลีย์ |
อะบู บักร์ อัลบัฆดาดี † อะบู มุฮัมมัด อัลฮาลาบี †[6][7] | ||||||
หน่วยที่เกี่ยวข้อง | |||||||
ไม่ทราบ | |||||||
กำลัง | |||||||
ผู้ปฏิบัติการกองบัญชาการปฏิบัติการพิเศษร่วมประมาณ 100 นาย[8] เฮลิคอปเตอร์ 8 ลำ สุนัขทำงานและหุ่นยนต์ทหารไม่ทราบจำนวน | ไม่ทราบ | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ทหาร 2 นายและสุนัขทำงานของทหาร 1 ตัวได้รับบาดเจ็บ[9] |
เสียชีวิต 16–21 คน ผู้ก่อการร้ายถูกจับกุม 2 คน[11] | ||||||
ลูก 2 คนเสียชีวิตหลังจากบัฆดาดีจุดชนวนระเบิดเสื้อกั๊กของเขา[12][13] | |||||||
ในวันที่ 26–27 ตุลาคม ค.ศ. 2019 ฝ่ายสหรัฐได้ดำเนินการปฏิบัติการเคย์ลา มูเอลเลอร์ ซึ่งเป็นปฏิบัติการทางทหารที่ตั้งชื่อตามเคย์ลา มูเอลเลอร์[14] ส่งผลให้อะบู บักร์ อัลบัฆดาดี ซึ่งเป็นผู้นำและผู้ประกาศตนเป็นกาหลิบแห่งองค์การก่อการร้ายรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (ISIL) ในขณะนั้นเสียชีวิต ปฏิบัติการดังกล่าวเกิดขึ้นในเขตชานหมู่บ้านบอรีชอ เขตผู้ว่าการอิดลิบ ประเทศซีเรีย ตามคำบอกเล่าของนายพล เคนเนธ "แฟรงก์" แมคเคนซี ผู้บัญชาการกองบัญชาการกลางสหรัฐ (CENTCOM) ที่คุมปฏิบัติการ เผยว่าบัฆดาดีฆ่าตัวตายพร้อมกับลูกสองคนเมื่อเขาจุดชนวนระเบิดเข็มขัดพลีชีพขณะพยายามหลบเลี่ยงกองกำลังสหรัฐในระหว่างการตีโฉบฉวย[10]
ปฏิบัติการของสหรัฐนี้ได้รับการตั้งชื่อตามเคย์ลาร์ มูเอลเลอร์ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สงเคราะห์ชาวอเมริกันที่ถูกกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) จับตัวและสังหาร
ภูมิหลัง
[แก้]การตีโฉบฉวยดังกล่าวเกิดขึ้นจากความพยายามของหน่วยสืบราชการลับเพื่อค้นหาผู้นำของไอซิลโดยศูนย์กิจกรรมพิเศษของซีไอเอ[15] หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์รายงานว่าจากการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่สหรัฐสองคน ซีไอเอได้รับข้อมูลข่าวกรองดั้งเดิมเกี่ยวกับอะบู บักร์ อัลบัฆดาดี หลังจากการจับกุมภรรยาคนหนึ่งและคนส่งข่าว หลังจากนั้นซีไอเอได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ข่าวกรองอิรักและเคิร์ดในอิรักและซีเรีย[16]
อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนได้รายงานว่าเจ้าหน้าที่อิรักกล่าวว่าการหยุดพักดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากผู้ลักลอบ (ซึ่งเคยลักลอบนำเข้าภรรยาของพี่ชายสองคนของบัฆดาดี รวมทั้งลูกของบัฆดาดีในอดีต), ผู้หญิงคนหนึ่งที่คิดว่าเป็นภรรยาของเขา และหลานชายของบัฆดาดีให้ข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางและจุดหมายปลายทาง[7]
เจ้าหน้าที่อิรักยังระบุด้วยว่าการจับกุมมุฮัมมัด อะลี ซายิด อัษษาบี น้องเขยของบัฆดาดี ช่วยพวกเขาในการค้นหาอุโมงค์ทะเลทรายที่นำไปสู่ที่ซ่อนสองแห่ง ซึ่งเต็มไปด้วยสิ่งของใกล้เมืองอัลกออิม ประเทศอิรัก และด้วยเหตุนี้จึงแทรกซึมเข้าวงแหวนลักลอบเพื่อค้นหาบัฆดาดี[17] เจ้าหน้าที่สหรัฐคนหนึ่งโต้แย้งรายงานของอิรักที่อิรักระบุที่ตั้งที่แน่นอนของบัฆดาดี และระบุว่าปฏิบัติการดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อเขาปรากฏตัวในสถานที่ที่พวกเขาได้สร้างการรวบรวมข่าวกรองแล้ว[18]
ที่ตั้ง
[แก้]สำนักรอยเตอร์สได้รายงานเจ้าหน้าที่ข่าวกรองอิรักที่ระบุว่าการจับกุมผู้นำกลุ่มรัฐอิสลามหลายคนเป็นกุญแจสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการเรียนรู้เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวและที่หลบซ่อนของอัลบัฆดาดี พวกเขากล่าวว่าอิสมาอีล อัลเอธาวี ซึ่งเชื่อว่าเป็นผู้ช่วยระดับสูงของอัลบัฆดาดี ถูกพบและติดตามโดยผู้ให้ข้อมูลในซีเรีย ได้ถูกจับกุมโดยทางการตุรกี และส่งมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ข่าวกรองอิรัก ซึ่งเขาให้ข้อมูลในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018 จากนั้น บรรดาชาวอิรักก็ให้ข้อมูลแก่ซีไอเอ ซึ่งคอยเฝ้าระวังตำแหน่งที่ค้นพบผ่านดาวเทียมและโดรน พวกเขายังกล่าวด้วยว่าใน ค.ศ. 2019 หน่วยข่าวกรองสหรัฐ, ตุรกี และอิรักได้ดำเนินการร่วมกันโดยพวกเขาได้จับกุมผู้นำระดับสูงของไอซิลหลายคน รวมถึงชาวอิรักสี่คนและชาวซีเรียหนึ่งคน ซึ่งเป็นผู้จัดหาสถานที่ที่พวกเขาพบกับบัฆดาดีในซีเรียในซีเรีย หลังจากนั้น พวกเขาตัดสินใจประสานงานกับซีไแเอเพื่อปรับใช้แหล่งข้อมูลเพิ่มเติมในพื้นที่เหล่านี้ โดยเจ้าหน้าที่อิรักคนหนึ่งตั้งข้อสังเกตว่า "ช่วงเวลาสุดท้ายที่จะมีชีวิตอยู่" ของบัฆดาดีคือตอนที่เขาและครอบครัวออกจากสถานที่ที่พวกเขาอยู่เป็นครั้งแรกในรอบห้าเดือน[2]
การตีโฉบฉวย
[แก้]เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 2019 ไม่นานหลังจากประธานาธิบดี ดอนัลด์ ทรัมป์ และทีมผู้นำพลเรือน รวมทั้งทหารที่สำคัญกลุ่มเล็ก ๆ ของสหรัฐ ได้รวมตัวกันในห้องสถานการณ์ทำเนียบขาวเวลาประมาณ 17:00 น. ของเวลามาตรฐานตะวันออก (23:00 น. ตามเวลาซีเรีย) ผู้ปฏิบัติการนำโดยชุดปฏิบัติการรบพิเศษ – เดลตา ที่ 1 (ส่งทางอากาศ) ของกองบัญชาการปฏิบัติการพิเศษร่วมแห่งสหรัฐ พร้อมด้วยหน่วยจู่โจมกองทัพบกสหรัฐจากกรมทหารจู่โจมที่ 75 ได้ออกจากสนามบินทหารอัลอะซัดในอิรัก[19][5] ด้วยเฮลิคอปเตอร์ทหารแปดลำของสหรัฐ ได้แก่ โบอิง เอ็มเอช-47 ชีนุก และซิกอร์สกี เอ็มเอช-60แอล/เอ็ม แบล็กฮอว์ก[20][21][22] เพื่อดำเนินการตีโฉบฉวยการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศใน "บริเวณที่ซ่อนที่แยกจากกัน" 300 เมตรนอกหมู่บ้านบอรีชอ—ซึ่งอยู่ห่างจากชายแดนตุรกีไปทางใต้ห้ากิโลเมตร (สามไมล์) ในดินแดนที่เป็นศัตรูกับกลุ่มกบฏในเขตผู้ว่าการอิดลิบของซีเรีย—เพื่อสังหารหรือจับกุมบัฆดาดี โดยมีรายงานว่ากองกำลังจู่โจมได้บินผ่านน่านฟ้าที่ตุรกีควบคุม และสังเกตการณ์โดยรัสเซีย ไปยังเป้าหมายและลงจอดหลังจากผ่านไป 70 นาที[5][21][19]
ดูเพิ่ม
[แก้]- เหตุโจมตีทางอากาศที่ท่าอากาศยานนานาชาติแบกแดด ค.ศ. 2020 เป้าหมายการสังหารพลตรี กอเซม โซเลย์มอนี ชาวอิหร่านในปี ค.ศ. 2020
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Iraqi intelligence paved way for Baghdadi raid: intelligence official". Reuters. October 27, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 29, 2019. สืบค้นเมื่อ October 27, 2019.
- ↑ 2.0 2.1 "Exclusive: Baghdadi's aide was key to his capture - Iraqi intelligence sources". Reuters. October 28, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 28, 2019. สืบค้นเมื่อ October 28, 2019. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "aide" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ "Turkey says shared information with U.S. before Baghdadi operation". Reuters. October 28, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 29, 2019. สืบค้นเมื่อ October 29, 2019.
- ↑ "Kurdish informant provided key intel in operation that killed ISIS leader Abu Bakr al-Baghdadi" (ภาษาอังกฤษ). NBC News. October 28, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 31, 2019. สืบค้นเมื่อ October 28, 2019.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "Visual guide to the raid that killed Isis leader Abu Bakr al-Baghdadi". The Guardian. October 31, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 31, 2019. สืบค้นเมื่อ November 1, 2019.
- ↑ Johnson, Dominic (October 27, 2019). "IS-Chef Abu Bakr al-Baghdadi ist tot: Gestorben 'wie ein Hund'". Die Tageszeitung: Taz.
- ↑ 7.0 7.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อguard
- ↑ "Trump confirms ISIS leader Baghdadi is dead after US raid in Syria — 'He died like a coward'". CNBC. October 27, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 31, 2019. สืบค้นเมื่อ October 27, 2019.
- ↑ Zeke Miller; Deb Riechmann; Robert Burns (October 28, 2019). "Trump says U.S. forces cornered ISIS leader in dead-end tunnel". Star-Tribune. Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 29, 2019. สืบค้นเมื่อ October 28, 2019.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อnpr2019
- ↑ "Abu Bakr al-Baghdadi death: US military says two men detained". BBC. October 28, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 31, 2019. สืบค้นเมื่อ October 28, 2019.
- ↑ "Trump says 3 children killed, 2 women died during operation". CNN. October 27, 2019.
- ↑ "Abu Bakr al-Baghdadi: US releases first images of raid on compound". BBC News. October 31, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 31, 2019. สืบค้นเมื่อ October 31, 2019.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อtheguardian2019
- ↑ Jackson, David; Subramanian, Courtney; Collins, Michael. "President Trump says ISIS leader Abu Bakr al-Baghdadi is dead after U.S.-led raid in Syria". USA Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 27, 2019. สืบค้นเมื่อ October 27, 2019.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อnyt-tst
- ↑ "How Baghdadi was caught after years in hiding, and who in Isis will take over". The Independent. October 28, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 29, 2019. สืบค้นเมื่อ October 29, 2019.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อfp-bis
- ↑ 19.0 19.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อwapo-isdi
- ↑ Mizokami, Kyle (October 28, 2019). "The Helicopters That Made the U.S. Army's ISIS Raid Possible". Popular Mechanics. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 29, 2019. สืบค้นเมื่อ October 31, 2019.
- ↑ 21.0 21.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อStripes
- ↑ "Footage shows moment US troops storm ISIS leader's compound". Evening Standard (ภาษาอังกฤษ). October 30, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 31, 2019. สืบค้นเมื่อ October 31, 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Statement from the President on the Death of Abu Bakr al-Baghdadi เก็บถาวร 2021-01-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, October 27, 2019.