การเลี้ยวเบนแฟรแนล
การเลี้ยวเบนแฟรแนล (Fresnel diffraction) เป็นปรากฏการณ์การเลี้ยวเบนที่อธิบายโดยวิธีการคำนวณที่เสนอโดยโอกุสแต็ง-ฌ็อง แฟรแนล ถือเป็นการประมาณของการเลี้ยวเบนเคียร์ชฮ็อฟ–แฟรแนลที่สามารถใช้ได้สำหรับการเลี้ยวเบนสนามใกล้[1] สำหรับกรณีการเลี้ยวเบนสนามไกลจะสามารถอธิบายได้โดยการเลี้ยวเบนเฟราน์โฮเฟอร์
คำนิยาม
[แก้]การเลี้ยวเบนถูกสันนิษฐานว่าเป็นส่วนหนึ่งของเส้นห่อหุ้มคลื่นทรงกลมตามหลักการของเฮยเคินส์ อย่างไรก็ตาม หลักการนี้เพียงอย่างเดียวไม่สามารถหาการแจกแจงความเข้มของแสงที่เลี้ยวเบนได้ แฟรแนลได้แสดงให้เห็นว่าเราสามารถคำนวณได้โดยการพิจารณาให้การเลี้ยวเบนเป็นส่วนหนึ่งของการแทรกสอด
เมื่อคลื่นระนาบของแสงผ่านรูรับแสงด้วยฟังก์ชันรูรับแสง (1 สำหรับรูรับแสงและ 0 สำหรับส่วนที่ถูกบัง) f(x,y) และส่องใส่หน้าจอที่อยู่ห่างไประยะ R การแจกแจงแอมพลิจูดบนหน้าจอ u(x′,y′) จะคำนวณได้จากปริพันธ์ของคลื่นแสงที่ผ่านรูรับแสง ได้เป็น
f(x,y) | : | ฟังก์ชันรูรับแสง |
A | : | แอมพลิจูด |
i | : | หน่วยจำนวนจินตภาพ |
k | : | เลขคลื่น |
R | : | ระยะห่างระหว่างรูรับแสงกับหน้าจอ |
λ | : | ความยาวคลื่น |
x, y | : | ตำแหน่งบนรูรับแสง |
x′, y′ | : | ตำแหน่งบนหน้าจอ |
การเลี้ยวเบนแฟรแนลจะเกิดขึ้นเมื่อขนาดรูรับแสงเล็กเพียงพอเมื่อเทียบกับระยะห่างจากหน้าจอ นั่นคือเมื่อ
การแจกแจงแอมพลิจูด u(x′,y′) บนหน้าจอจะเขียนได้เป็น
นี่คือสูตรสำหรับการเลี้ยวเบนแฟรแนล
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ M. Born & E. Wolf, Principles of Optics, 1999, Cambridge University Press, Cambridge.