ข้ามไปเนื้อหา

การเรียกร้องให้หยุดยิงในช่วงสงครามอิสราเอล-ฮะมาส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
A protester holding a sign that reads "CEASEFIRE NOW" and has drawings of Palestinian flags
ผู้ประท้วงในการชุมนุมสนับสนุนการหยุดยิงในฟินแลนด์
การเรียกร้องให้มีการหยุดยิงใน โทรอนโต

ในช่วงสงครามอิสราเอล–ฮะมาสปี ค.ศ. 2023 การเรียกร้องให้มีการหยุดยิงเป็นส่วนสำคัญในปฏิกิริยาระหว่างประเทศต่อความขัดแย้งนี้ หลายฝ่ายระหว่างประเทศเห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการหยุดยิงเนื่องจากวิกฤตด้านมนุษยธรรมในฉนวนกาซาและจำนวนผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการปิดล้อมและการรุกรานฉนวนกาซาของอิสราเอล ซึ่งผู้นำของบางประเทศในยุโรปที่โดยทั่วไปสนับสนุนอิสราเอลในความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ เช่น ฝรั่งเศส, สเปน, โปรตุเกส และไอร์แลนด์ รวมถึงตุรกี, รัสเซีย, อียิปต์, กาตาร์ และซาอุดีอาระเบีย ต่างก็ได้เรียกร้องให้มีการหยุดยิง[1]

การอภิปรายเกี่ยวกับผลกระทบและเวลาในการหยุดยิงกลายเป็นประเด็นสำคัญในกระแสการเมืองภายในของหลายประเทศ รวมถึงสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ซึ่งรัฐบาลของทั้งสองประเทศได้เรียกร้องให้มี "หยุดยิงชั่วคราวเพื่อมนุษยธรรม" แทนการหยุดยิง[2][3] ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู ยังคงปฏิเสธการเรียกร้องให้มีการหยุดยิง[4] ขณะที่เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน โฆษกของกองกำลัง กองกำลังอัลกัสซัม ของฮะมาสได้เสนอที่จะวิกฤตการณ์ตัวประกันสงครามอิสราเอล-ฮะมาสปล่อยตัวตัวประกันชาวอิสราเอล 70 คน เพื่อแลกกับการสงบศึกและหยุดยิงเป็นเวลา 5 วัน[5]

รัฐบาลต่าง ๆ ที่เรียกร้องให้มีการหยุดยิง

[แก้]

แอฟริกา

[แก้]

ทวีปอเมริกา

[แก้]
  •  บราซิล: ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม ประธานาธิบดีของบราซิล ลูอิส อีนาซียู ลูลา ดา ซิลวา ได้โพสต์บนเอกซ์ ว่า "จำเป็นต้องมีการแทรกแซงด้านมนุษยธรรมระหว่างประเทศอย่างเร่งด่วน... จำเป็นต้องหยุดยิงทันทีเพื่อปกป้องเด็กชาวอิสราเอลและปาเลสไตน์"[8]
  •  ดอมินีกา: นายกรัฐมนตรี รูสเวลต์ สเกอร์ริต ประณามความขัดแย้ง โดยกล่าวว่ามันเป็น "การกระทำที่น่ารังเกียจ" [9]
  • ธงของประเทศฮอนดูรัส ฮอนดูรัส: รัฐบาลออกแถลงการณ์ประณามฮะมาสสำหรับการโจมตี แสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับชาวอิสราเอล และเรียกร้องให้หยุดยิง [10] อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ฮอนดูรัสได้เรียกทูตประจำอิสราเอลกลับเนื่องจากการละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในฉนวนกาซา [11]
  •  สหรัฐ:
    •  รัฐฮาวาย: วุฒิสภารัฐฮะวายเป็นองค์กรนิติบัญญัติแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่เรียกร้องให้มีการหยุดยิงทันทีและถาวร [12] ร่างกฎหมายระบุว่า "สมาชิกของคณะผู้แทนรัฐสภาของฮะวายถูกกระตุ้นให้ยืนยันให้ฝ่ายบริหารของไบเดนเรียกร้องให้หยุดยิงทันทีและถาวรในฉนวนกาซา" [13]

เอเชีย

[แก้]
  •  อัฟกานิสถาน: ลงมติเห็นชอบกับญัตติของสหประชาชาติ ES-10/21 และ ES-10/22 ซึ่งทั้งสองญัตติเรียกร้องให้หยุดยิงทันที [14]
  • ธงของประเทศบังกลาเทศ บังกลาเทศ: กระทรวงการต่างประเทศ ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้หยุดยิงทันทีและแก้ไขความขัดแย้งด้วยการเจรจาและการทูต ประณามความขัดแย้งด้วยอาวุธ แสดงความกังวลอย่างยิ่งต่อ "การสูญเสียชีวิตของพลเรือนอย่างน่าเศร้า" และเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่าย "ใช้ความระมัดระวังสูงสุด" [15][16]
  • ธงของประเทศจีน จีน: เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้พบกับนายกรัฐมนตรีอียิปต์ มุสตาฟา มัดบูลี และกล่าวว่า "สิ่งสำคัญที่สุดในตอนนี้คือการหยุดยิงโดยเร็วที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่จะขยายตัวหรือแม้กระทั่งควบคุมไม่ได้ และอาจทำให้เกิดวิกฤตด้านมนุษยธรรมอย่างร้ายแรง"[17]
  • ธงของประเทศปากีสถาน ปากีสถาน: สำนักงานต่างประเทศของปากีสถานออกแถลงการณ์เรียกร้องให้มีการหยุดยิงทันทีและกลับมาสู่การเจรจาสันติภาพ โดยระบุว่าพวกเขากำลังติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด[18] ปากีสถานย้ำถึงจุดยืนของตนว่าวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งนี้คือการใช้วิธีแก้ปัญหาสองรัฐ รวมถึงการสร้างรัฐปาเลสไตน์ที่มีอำนาจอธิปไตย มีความต่อเนื่องทางดินแดน และมีเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวง[19]
  • ธงของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์: กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เรียกร้องให้มีการหยุดยิงทันที[20] ภายหลังพวกเขาประณามกลุ่มฮะมาสว่าเป็น "การยกระดับความรุนแรงอย่างร้ายแรง" และการจับตัวประกัน[21]
  •  เวียดนาม: โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของเวียดนาม ฟาม ทู ฮัง กล่าวว่า เวียดนาม "ประณามการใช้ความรุนแรงต่อพลเรือนอย่างรุนแรง สิ่งอำนวยความสะดวกทางมนุษยธรรม และโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในความขัดแย้งในตะวันออกกลาง" ในขณะที่เรียกร้องให้ทั้งสองฝ่าย "หยุดยิงทันที ยุติการใช้กำลัง เคารพกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ กลับเข้าสู่การเจรจา และแก้ไขข้อขัดแย้งด้วยวิถีทางที่สันติ"[22]

ยุโรป

[แก้]
  • ธงของประเทศแอลเบเนีย แอลเบเนีย: เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2023 นายกรัฐมนตรี เอดี รามา กล่าวว่าจำเป็นต้องมี "การยุติความเป็นปรปักษ์ที่เกิดขึ้นโดยการเจรจา" ในขณะที่ยังยืนยันว่า "แอลเบเนียยืนหยัดอยู่กับอิสราเอลต่อต้านกลุ่มฮะมาส"[23]
  • ธงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์: รัฐบาลสวิสประณามการโจมตีและขอให้ทุกฝ่ายพยายามหาทางแก้ไขที่สันติ นอกจากนี้ยัง "ย้ำว่าการลดความรุนแรงเป็นสิ่งสำคัญ" และ "เรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทำทุกวิถีทางเพื่อหยุดยิงและหลีกเลี่ยงการขยายตัวของความขัดแย้งในระดับภูมิภาค"[26]
  • ธงของประเทศตุรกี ตุรกี: เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ตุรกีเรียกตัวเอกอัครราชทูตประจำอิสราเอลกลับประเทศ "จากสถานการณ์วิกฤตด้านมนุษยธรรมที่เกิดขึ้นในกาซา อันเนื่องมาจากการโจมตีพลเรือนอย่างต่อเนื่องโดยอิสราเอล และการปฏิเสธ (ที่จะยอมรับ) การหยุดยิง"[27]

โอเชียเนีย

[แก้]
  • ธงของประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย: เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2024 ออสเตรเลียและสหราชอาณาจักรได้ออกแถลงการณ์ร่วมเรียกร้องให้หยุดยิงทันที[28] ในเดือนกรกฎาคม 2024 นายกรัฐมนตรีของออสเตรเลีย พร้อมด้วยนายกรัฐมนตรีของแคนาดาและนิวซีแลนด์ ได้เรียกร้องให้มีการหยุดยิงในกาซา[29]

การตอบสนองในอิสราเอลและกาซา

[แก้]

ในวันที่ 11 พฤศจิกายน นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู ยังคงปฏิเสธข้อเรียกร้องให้หยุดยิง[30] ขณะที่ในวันที่ 13 พฤศจิกายน โฆษกของกลุ่มกองพลอัล-กัสซามของฮะมาสได้เสนอให้ปล่อยตัวตัวประกันชาวอิสราเอล 70 คนแลกกับการหยุดยิงและสงบศึกเป็นเวลา 5 วัน[31]

เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2024 ฮะมาสยอมรับเงื่อนไขการหยุดยิงที่อียิปต์และกาตาร์เป็นคนกลางเจรจา[32]

บุคคลสาธารณะที่เรียกร้องให้หยุดยิง

[แก้]

นอกจากรัฐบาลแล้ว ยังมีบุคคลสาธารณะจำนวนมาก รวมถึงนักบันเทิงและนักการเมือง ที่เรียกร้องให้มีการหยุดยิงด้วย[33][34]

นักแสดง

[แก้]

นักเขียน

[แก้]

นักแสดงตลก

[แก้]

ผู้กำกับภาพยนตร์

[แก้]

นักดนตรี

[แก้]

นักการเมือง

[แก้]

องค์กรที่เรียกร้องให้หยุดยิง

[แก้]

ศาสนา

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Israel-Hamas war: Which countries are calling for a ceasefire – and how is it different to a humanitarian pause?". Sky News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-04-05.
  2. Mallinder, Lorraine. "Ceasefire, pause or truce? What have Israel and Hamas agreed to?". Al Jazeera (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-04-05.
  3. Graham-Harrison, Emma (2023-11-05). "Humanitarian pause v ceasefire – the debate over how to ease Gaza's suffering". The Observer (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0029-7712. สืบค้นเมื่อ 2024-04-05.
  4. "Israel Latest: Netanyahu Rejects Calls for Cease-Fire With Hamas". Bloomberg.com (ภาษาอังกฤษ). 2023-11-11. สืบค้นเมื่อ 2024-04-05.
  5. "Hamas armed wing says it discussed freeing 70 hostages in return for 5-day truce". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2024-04-05.
  6. Lederer, Edith (2024-02-19). "UN Security Council to vote Tuesday on resolution demanding Gaza ceasefire, US vows to use its veto". AP News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-04-01.
  7. AfricaNews (2024-02-22). "Gaza war: US blocks Algerian resolution pushing for a ceasefire with third UN veto". Africanews (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-04-01.
  8. "Brazil's Lula calls for ceasefire, humanitarian intervention in Israel-Palestinian conflict". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2024-04-05.
  9. Henry, George (10 October 2023). "Caribbean nations push for ceasefire in Israel-Hamas conflict". WriteUps24. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 12, 2023. สืบค้นเมื่อ 12 October 2023.
  10. "Honduras condena el ataque contra Israel, pide cese el fuego y llama al diálogo" [Honduras condemns the attack against Israel, calls for a ceasefire and calls for dialogue] (ภาษาสเปน). SwissInfo. 7 October 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 15, 2023. สืบค้นเมื่อ 14 October 2023.
  11. "Honduras latest Latin American country to recall ambassador to Israel". Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 3 November 2023.
  12. "In 24-1 Vote, Hawaii State Senate Demands Permanent Cease-Fire in Gaza | Common Dreams". www.commondreams.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-04-27.
  13. https://www.capitol.hawaii.gov/sessions/session2024/Bills/SCR13_SD1_.pdf
  14. Masih, Niha (2023-12-13). "U.N. resolution on Gaza cease-fire: Which countries voted for and against it". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2024-04-01.
  15. "Israel-Palestine conflict: Bangladesh calls for immediate ceasefire". The Daily Star (ภาษาอังกฤษ). Dhaka. 8 October 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 8, 2023. สืบค้นเมื่อ 8 October 2023.
  16. "Israel-Palestine Conflict: Bangladesh Calls for Immediate Ceasefire". Voice of America (Bangla) (ภาษาเบงกอล). 8 October 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 8, 2023. สืบค้นเมื่อ 8 October 2023.
  17. Gan, Nectar (2023-10-19). "China's Xi seeks swift end to Israel-Hamas conflict, calls for two-state solution". CNN (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-04-05.
  18. "Pakistan calls for ceasefire in Israel-Palestine conflict". The Express Tribune (ภาษาอังกฤษ). 7 October 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2023. สืบค้นเมื่อ 7 October 2023.
  19. "Pakistan's concerns at the unfolding situation in the Middle East". Ministry of Foreign Affairs, Government of Pakistan (ภาษาอังกฤษ). 7 October 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2023. สืบค้นเมื่อ 7 October 2023.
  20. Al Amir, Khitam. "Israel-Palestine conflict: UAE calls for immediate ceasefire to prevent dangerous consequences". Gulf News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-07. สืบค้นเมื่อ 2023-10-07.
  21. "UAE calls Hamas attacks on Israel a 'serious and grave escalation'". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 8 October 2023. (Reuters) %20-%20The, as%20hostages%20from%20their%20homes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 9, 2023. สืบค้นเมื่อ 9 October 2023. {{cite news}}: ตรวจสอบค่า |archive-url= (help)
  22. Hoang Ha (2023-10-19). "Viet Nam strongly condemns violent attacks on civilians in Middle East tension". ONLINE NEWSPAPER OF THE GOVERNMENT OF THE SOCIALIST REPUBLIC OF VIET NAM (ภาษาเวียดนาม). Government of Vietnam. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 22, 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-10-22.
  23. Ceta, Kristi. "Albania Stands Firm with Israel, But Ceasefire Needed; PM". Albanian Daily News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-04-01.
  24. "Macron says 'no justification' for bombing civilians as he calls for Gaza ceasefire". The Guardian. 10 November 2023.
  25. "Israel-Hamas War: Russia calls for humanitarian cease-fire in Gaza". Le Monde.fr (ภาษาอังกฤษ). 2023-10-14. สืบค้นเมื่อ 2024-04-05.
  26. "Statement Israel / OPT". FDFA. 8 October 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 1, 2023. สืบค้นเมื่อ 8 October 2023.
  27. "Turkey recalls envoy to Israel, 'writes off' Netanyahu". France 24. 2023-11-04. สืบค้นเมื่อ 2023-11-04.
  28. "UK, Australia call for 'immediate' end to fighting in Gaza". Al Jazeera (ภาษาอังกฤษ). 2024-03-22. สืบค้นเมื่อ 2024-04-01.
  29. Hurst, Daniel. Australia%2C%20Canada%20and%20New%20Zealand%20leaders%20urge%20ceasefire, Gaza%20to%20end%20'catastrophic'%20situation&text=The%20prime%20ministers%20of%20Australia, concerns%20of%20the%20international%20community”. "Australia, Canada and New Zealand leaders urge ceasefire in Gaza to end 'catastrophic' situation". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 3 August 2024. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  30. "Israel Latest: Netanyahu Rejects Calls for Cease-Fire With Hamas". Bloomberg.com (ภาษาอังกฤษ). 2023-11-11. สืบค้นเมื่อ 2024-04-05.
  31. "Hamas armed wing says it discussed freeing 70 hostages in return for 5-day truce". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2024-04-05.
  32. Ni, Vincent; Frayer, Lauren (2024-05-06). "Hamas has accepted a cease-fire deal proposed by Egypt and Qatar". Middle East crisis—explained (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). NPR. สืบค้นเมื่อ 2024-05-06.
  33. Veltman, Chloe (2023-10-21). "Entertainment industry A-listers sign a letter to Biden urging a cease-fire in Gaza". NPR. สืบค้นเมื่อ 2024-04-01.
  34. "Congressional Support for Ceasefire". Win Without War (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-04-01.
  35. "World Council of Churches calls for permanent ceasefire in Gaza". Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 19 June 2024.