ข้ามไปเนื้อหา

การเมืองเบลเยียม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเมืองเบลเยียม

Politiek in België (ดัตช์)
Politique en Belgique (ฝรั่งเศส)
Politisches System Belgiens (เยอรมัน)
ประเภทรัฐสหพันธรัฐ, ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ, ระบบรัฐสภา
รัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรเบลเยียม
ฝ่ายนิติบัญญัติ
ชื่อรัฐสภากลาง
ประเภทสองสภา
สถานที่ประชุมทำเนียบแห่งชาติ
สภาสูง
ชื่อวุฒิสภา
ประธานสเตฟานี โดซ
ประธานวุฒิสภา
ผู้แต่งตั้งการเลือกตั้งทางอ้อม
สภาล่าง
ชื่อสภาผู้แทนราษฎร
ประธานเอลียาน ตีลีเยอ
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ผู้แต่งตั้งการเลือกตั้งระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อเปิด โดยมีเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ
ฝ่ายบริหาร
ประมุขแห่งรัฐ
คำเรียกพระมหากษัตริย์แห่งชาวเบลเยียม
ปัจจุบันสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป
ผู้แต่งตั้งการสืบราชสันตติวงศ์
หัวหน้ารัฐบาล
คำเรียกนายกรัฐมนตรี
ปัจจุบันอาเล็กซันเดอร์ เดอ โกร
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์โดยการแนะนำของรัฐสภากลาง
คณะรัฐมนตรี
คำเรียกคณะรัฐมนตรี
ชุดปัจจุบันคณะที่ 98 (เดอ โกร 1)
หัวหน้านายกรัฐมนตรี
รองหัวหน้ารองนายกรัฐมนตรี
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์โดยการเสนอของนายกรัฐมนตรี
สำนักงานใหญ่บ้านเลขที่ 16 ถนนเดอลาลอย
กระทรวง17
ฝ่ายตุลาการ
ศาลศาลเบลเยียม
ศาลฎีกา
ประธานศาลฌ็อง เดอ โกต
ที่ตั้งศาลทำเนียบยุติธรรม นครบรัสเซลส์ กรุงบรัสเซลส์
ศาลรัฐธรรมนูญ
ประธานศาลฟร็องซัว ดาอุต
อ็องเดร อาล็อง
ที่ตั้งศาลที่ทำการศาลรัฐธรรมนูญ นครบรัสเซลส์ กรุงบรัสเซลส์
ศาลปกครองสูงสุด
ประธานศาลอีฟ ไครนส์
ที่ตั้งศาลคฤหาสน์มาร์ควิสแห่งอัซซ์ นครบรัสเซลส์ กรุงบรัสเซลส์

ประเทศเบลเยียม เป็นสหพันธรัฐที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลที่มาจากพรรคการเมืองหลายพรรคเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร และอำนาจนิติบัญญัตินั้นอยู่กับรัฐสภาซึ่งแบ่งเป็นสองสภาอันประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร เขตการปกครองของประเทศเบลเยียมนั้นแบ่งเป็นประชาคมที่แบ่งตามภาษา และแคว้นที่แบ่งตามเขตแดน พระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 7 แห่งชาวเบลเยียม และเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2013

ตั้งแต่ช่วง ค.ศ. 1970 พรรคการเมืองต่าง ๆ ในเบลเยียมได้แบ่งเป็นฝักฝ่ายชัดเจนกันตามแต่ละประชาคมที่เป็นตัวแทนมากกว่านโยบายของตน พรรคการเมืองในเบลเยียมแบ่งเป็นสามฝั่งหลัก ๆ โดยส่วนใหญ่ทั้งหมดเป็นพรรคการเมืองที่ดำเนินนโยบายค่อนไปทางสายกลาง เช่น ฝ่ายเสรีนิยมฝ่ายขวา อนุรักษนิยมทางสังคมของประชาธิปไตยคริสเตียน และประชาธิปไตยสังคมนิยมซึ่งเป็นฝ่ายซ้าย นอกจากนี้ยังมีพรรคอื่น ๆ ที่มีความสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เช่น พรรคครุนโดยเฉพาะในฟลานเดอส์ พรรคชาตินิยม และพรรคการเมืองฝ่ายขวาจัด การเมืองในเบลเยียมได้รับอิทธิพลจากกลุ่มนักวิ่งเต้นต่าง ๆ เช่น สหภาพแรงงาน องค์กรของนายจ้างหลายองค์กรอย่างสมาพันธ์องค์กรธุรกิจแห่งเบลเยียม (Federation of Belgian Enterprises) เป็นต้น

ในประเทศเบลเยียมนั้นการเมืองโดยเสียงข้างมากมักจะถูกแทนที่ด้วยขั้นตอนและกลไกต่าง ๆ ที่เข้าข้างฝั่งเสียงข้างน้อย (ผู้พูดภาษาฝรั่งเศส) ซึ่งในการลงมติต่าง ๆ นั้นจะต้องใช้คะแนนเสียงข้างมากพิเศษ (2 ใน 3 ของทั้งหมด และเสียงข้างมากในประชาคมหลัก ๆ ทั้ง 2 ประชาคม)

ใน ค.ศ. 2019 อีโคโนมิสต์อินเทลลิเจนซ์ยูนิตจัดประเทศเบลเยียมเป็นประเทศที่มี "ประชาธิปไตยบกพร่อง"[1]

รัฐธรรมนูญ

[แก้]

รัฐธรรมนูญเบลเยียมเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศเบลเยียม เริ่มใช้เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1831 โดยมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นหลายครั้ง โดยครั้งสำคัญที่มีการปฏิรูปประเทศหลัก ๆ นั้นเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1970 และ 1993

ใน ค.ศ. 1970 เพื่อจัดการกับความขัดแย้งระหว่างประชาคมผู้พูดภาษาฝรั่งเศสกับประชาคมผู้พูดภาษาดัตช์ในบรัสเซลส์ ทำให้รัฐบาลจะต้องประกาศให้ประเทศเบลเยียมที่เคยเป็นรัฐเดี่ยวนั้นสิ้นสุดลง โดยรัฐธรรมนูญใหม่นั้นรับรองความแตกต่างระหว่างแคว้นและประชาคมภาษาต่าง ๆ ในเบลเยียม แต่พยายามที่จะจัดการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งนี้ผ่านการแบ่งแยกอำนาจปกครองไปยังแคว้นและประชาคม

ใน ค.ศ. 1993 รัฐสภาอนุมัติให้มีการเปลี่ยนแปลงทางรัฐธรรมนูญเพื่อเปลี่ยนผ่านจากความเป็นรัฐเดี่ยวของเบลเยียมไปเป็นสหพันธรัฐ

การปกครอง

[แก้]

ฝ่ายบริหาร

[แก้]

ประมุขแห่งรัฐ

[แก้]
สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป กษัตริย์พระองค์ที่ 7 แห่งชาวเบลเยียม

พระมหากษัตริย์แห่งชาวเบลเยียม เป็นประมุขแห่งรัฐของราชอาณาจักรเบลเยียมตามรัฐธรรมนูญ โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งตลอดพระชนม์ชีพ บทบาทหน้าที่ของพระมหากษัตริย์นั้นระบุไว้ในรัฐธรรมนูญเบลเยียม

ในฐานะประมุขแห่งรัฐ พระมหากษัตริย์เบลเยียมมีหน้าที่เชิงสัญลักษณ์และประเพณีของประเทศ โดยบทบาทหลักทางการเมืองได้แก่การที่ทรงแต่งตั้งผู้นำพรรคการเมืองเพื่อจัดตั้งคณะรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้ง หรือการลาออกของคณะรัฐมนตรี ในเงื่อนไขที่มีการลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ รัฐบาลจะต้องลาออกทั้งคณะ และสภาผู้แทนราษฎรจะต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ต่อพระมหากษัตริย์[2] นอกจากนี้สถาบันพระมหากษัตริย์ยังมีบทบาทเป็นศูนย์รวมของประเทศ และความเป็นประเทศเบลเยียม

สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป ได้รับราชสมบัติต่อจากพระราชบิดาเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 หลังจากทรงสละราชสมบัติ

รัฐบาลกลาง

[แก้]

อำนาจบริหารนั้นถูกใช้โดยนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีซึ่งรวมกันเป็นคณะรัฐมนตรี (Council of Ministers) ซึ่งยังไม่รวมถึงรัฐมนตรีช่วยฯ (Secretaries of state) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลกลาง แต่ไม่ได้รวมอยู่ในคณะรัฐมนตรี[3]

สมาชิกรัฐบาลกลางจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์อย่างเป็นทางการ โดยมีที่มาจากพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่ร่วมมือกันจัดตั้งรัฐบาลผสม โดยรัฐบาลกลางจะต้องได้รับเสียงข้างมากจากสภาผู้แทนราษฎร

จำนวนรัฐมนตรี (ไม่รวมนายกรัฐมนตรี) นั้นจำกัดที่ไม่เกิน 15 คน และจะต้องมีจำนวนผู้พูดภาษาดัตช์และผู้พูดภาษาฝรั่งเศสจำนวนเท่า ๆ กัน (ไม่รวมถึงนายกรัฐมนตรี)[4]

รัฐบาลแคว้นและประชาคม

[แก้]

ในหน่วยการปกครองระดับแคว้นและประชาคมนั้นมีสภา และรัฐบาลซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบด้านการคมนาคมขนส่ง สาธารณูปโภค นโยบายเกี่ยวกับน้ำ วัฒนธรรม การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม ที่อยู่อาศัย การจัดการผังเมือง และนโยบายด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม โดยงบประมาณนั้นได้แบ่งมาจากส่วนของรัฐบาลกลาง โดยสภาแคว้นสามารถเรียกเก็บภาษีได้เพียงบางอย่าง และรายได้จากการให้กู้ยืม นอกจากนี้ประชาคมและแคว้นมีอำนาจในการทำสนธิสัญญาต่าง ๆ ในด้านที่อยู่ในหน้าที่รับผิดชอบได้

จากรายจ่ายสาธารณะทั้งหมด (ไม่รวมดอกเบี้ยเงินกู้) เกินกว่าร้อยละ 30 นั้นมาจากส่วนของแคว้น และประชาคมต่าง ๆ ถึงแม้ว่างบประมาณส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 นั้นมาจากงบประมาณที่จัดสรรมากจากรัฐบาลกลาง นอกจากนี้รัฐบาลกลางยังควบคุมประกันสังคม และกำกับดูแลนโยบายภาษีต่าง ๆ

ตั้งแต่ ค.ศ. 1993 เป็นต้นมา ในมาตราที่ 35 ของรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีการจัดทำรายการอำนาจหน้าที่รับผิดชอบของรัฐบาลกลาง เพิ่มเติมจากส่วนของแคว้นและประชาคม แต่รายการนี้ไม่เคยถูกทำขึ้นอย่างเป็นทางการ จึงทำให้รัฐบาลกลางนั้นใช้อำนาจหน้าที่กำกับดูแลงานด้านอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในบทบาทหน้าที่ของแคว้นและประชาคม[5]

ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม ค.ศ.​ 2019 ผู้นำฝ่ายบริหารของแคว้นและประชาคมในเบลเยียม ได้แก่

รัฐบาลจังหวัดและท้องถิ่น

[แก้]

แคว้นหลักทั้งสองแคว้นของเบลเยียม ได้แก่ แคว้นเฟลมิช (ฟลานเดอส์) และแคว้นวอลลูน (วอลโลเนีย) แบ่งการปกครองย่อยออกเป็นแคว้นละห้าจังหวัด ส่วนแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์นั้นแบ่งเป็นเขตเทศบาลอีก 19 เขต โดยทั้งประเทศแบ่งเป็น 589 เขตเทศบาล รัฐบาลจังหวัดและรัฐบาลท้องถิ่นต่าง ๆ นั้นมีอำนาจหน้าที่โดยตรงในแคว้นหรือเขตที่รับผิดชอบ

ภายในแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์นั้นมีการปกครองอีกรูปแบบหนึ่ง คือโดยองค์กรที่มาจากประชาคมหลักทั้งสองประชาคม ได้แก่ COCOF สำหรับผู้พูดภาษาฝรั่งเศส และ VGC สำหรับผู้พูดภาษาดัตช์ทั้งสององค์กรมีหน้าที่คล้ายกัน เว้นแต่ COCOF นั้นมีอำนาจนิติบัญญัติที่สนับสนุนโดยสภาประชาคมฝรั่งเศส สำหรับประชาคมในบรัสเซลส์นั้นมีคณะกรรมาธิการประชาคมร่วม (Common Community Commission) ที่มีอำนาจดูแลกิจการที่เกี่ยวข้องกับทั้งสองประชาคม

ฝ่ายนิติบัญญัติ

[แก้]

อำนาจนิติบัญญัติของเบลเยียมนั้นแบ่งแยกกันในระดับประเทศ ระดับแคว้น และระดับประชาคม

รัฐสภากลางนั้นประกอบด้วยวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมี 150 ที่นั่ง มีที่มาจากการเลือกตั้งทางตรงผ่านระบบสัดส่วน ส่วนสมาชิกวุฒิสภามี 60 ที่นั่ง โดย 50 ที่นั่งมาจากการแต่งตั้งโดยสภาแคว้น และสภาประชาคมต่าง ๆ และอีก 10 ที่นั่งมาจากการเลือกโดยสมาชิกวุฒิสภาที่เหลือ

ฝ่ายตุลาการ

[แก้]

ระบบศาลของเบลเยียมนั้นเป็นแบบซีวิลลอว์ซึ่งมีที่มาจากประมวลกฎหมายนโปเลียน โดยอยู่ภายใต้ขอบเขตอำนาจของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ โดยมีศาลอุทธรณ์เป็นศาลระดับที่ต่ำกว่าศาลฎีกาหนึ่งระดับ และศาลฎีกานั้นใช้หลักการเดียวกันกับศาลฎีกาฝรั่งเศส ศาลฎีกาเบลเยียมนั้นถือเป็นศาลสำคัญสูงสุด โดยมีผู้พิพากษามาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์และมีวาระตลอดชีพ

การเลือกตั้งและพรรคการเมือง

[แก้]

ระบบเลือกตั้ง

[แก้]

ระบบการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรเบลเยียมนั้นใช้ระบบบัญชีรายชื่อสัดส่วนแบบเปิด (Open list proportional representation) โดยก่อนการเลือกตั้งแต่ละพรรคการเมืองจะส่งรายชื่อผู้สมัครในแต่ละเขตเลือกตั้ง โดยสามารถส่งได้ไม่จำกัดจำนวนในแต่ละพรรคโดยจะต้องไม่เกินจำนวนที่นั่งของแต่ละเขตเลือกตั้ง ลำดับในรายชื่อของแต่ละเขตนั้นเคยมีความสำคัญมากต่อการได้รับการเลือกโดยประชาชน โดยรายชื่อด้านบนของบัญชีรายชื่อจะได้รับคะแนนเสียงมากกว่า แต่อย่างไรก็ตามความคิดนี้ได้ถูกลดความสำคัญลงจากการปฏิรูปกฎหมายเลือกตั้งในสมัยหลัง วิธีการคัดเลือกตัวผู้สมัครนั้นเป็นขั้นตอนภายในของแต่ละพรรค

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิในการออกเสียงห้าวิธีดังนี้

  • เลือกผู้แทนของพรรคตามลำดับบัญชีรายชื่อที่พรรคลำดับให้
  • เลือกผู้แทนหนึ่งคนหรือมากกว่าโดยไม่ขึ้นกับลำดับในบัญชีรายชื่อ (ตามลำดับความชอบ) หรือ "Preference vote"
  • เลือกผู้แทนหนึ่งคนหรือมากกว่าในรายชื่อสำรอง
  • เลือกผู้แทนหนึ่งคนหรือมากกว่าจากรายชื่อหลัก และหนึ่งคนหรือมากกว่าจากรายชื่อสำรอง
  • งดออกเสียง

หมายเหตุ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งพึงเลือกผู้สมัครมากกว่าหนึ่งคนได้ แต่จะต้องสังกัดพรรคการเมืองเดียวกันเท่านั้น มิฉะนั้นการลงคะแนนเสียงจะเป็นโมฆะ

การหาเสียงเลือกตั้งในเบลเยียมนั้นมีระยะเวลาค่อนข้างสั้น โดยไม่เกินระยะเวลาหนึ่งเดือนก่อนวันเลือกตั้ง โดยมีข้อบังคับต่าง ๆ เช่น

  • มีข้อจำกัดหลายประการในการใช้ป้ายประกาศหาเสียง
  • กิจกรรมหาเสียงต่าง ๆ พรรคการเมืองจะต้องใช้งบประมาณจากรัฐบาลและค่าสมาชิกพรรคฯ ที่จ่ายโดยสมาชิกเท่านั้น
  • การใช้จ่ายในการหาเสียงนั้นจำกัดตามกฎหมายเลือกตั้ง

ประเทศเบลเยียมเป็นประเทศที่การเลือกตั้งนั้นผู้มีสิทธิเลือกตั้งถูกบังคับโดยเป็นหน้าที่พลเมืองตามรัฐธรรมนูญ แต่อย่างไรก็ตามเบลเยียมเป็นชาติอันดับต้น ๆ ของโลกที่มีจำนวนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุด[6]

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (รัฐสภากลาง) มีขึ้นทุก 5 ปี ซึ่งจะตรงกับการเลือกตั้งรัฐสภายุโรป ในอดีตก่อน ค.ศ. 2014 การเลือกตั้งทั่วไปมีขึ้นทุก 4 ปี การเลือกตั้งสมาชิกสภาแคว้น และสภาประชาคมนั้นมีขึ้นทุก 5 ปีเช่นเดียวกัน ส่วนการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล และสภาจังหวัดมีขึ้นทุก 6 ปี

การเลือกตั้งครั้งล่าสุดคือ ค.ศ. 2012 สำหรับระดับเทศบาลและจังหวัด และ ค.ศ. 2014 สำหรับระดับประเทศและแคว้น

พรรคการเมือง

[แก้]

ในเบลเยียม นอกจากพรรคการเมืองจำนวนน้อยในฝั่งพรรคที่พูดภาษาเยอรมันแล้ว พรรคการเมืองใหญ่ล้วนมาจากฝั่งเฟลมิช (ภาษาดัตช์) หรือพรรคที่พูดภาษาฝรั่งเศส โดยมีพรรคการเมืองเดียวที่ใช้ทวิภาษา ได้แก่ พรรคแรงงานเบลเยียม (PVDA+/PTV)[7] ซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายจัดที่ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน ค.ศ. 2014 และในการเลือกตั้ง ค.ศ. 2019 ได้ 3 ที่นั่งในเขตพูดภาษาดัตช์ และ 9 ที่นั่งในบรัสเซลส์และวอลโลเนีย

ลักษณะสำคัญของการเมืองระดับชาติในเบลเยียมนั้นใช้แนวคิดเชิงสหพันธรัฐโดยเฉพาะในการลงคะแนนเสียงในสภา โดยจะต้องใช้คะแนนเสียงข้างมากในระดับประเทศ (2 ใน 3 สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ) และเสียงข้างมากของแต่ละกลุ่มภาษาด้วย และในแต่ละประชาคมสามารถที่จะใช้สิทธิที่จะระงับ หรือชะลอการเปลี่ยนแปลงหรือบังคับใช้กฎหมายออกไปได้

ประวัติศาสตร์การเมืองเบลเยียม

[แก้]

ตั้งแต่การมีเอกราชของเบลเยียมใน ค.ศ. 1830 และตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีเพียงพรรคการเมืองหลักเพียงสองพรรคที่โดดเด่นในการเมืองเบลเยียม ได้แก่พรรคคาทอลิก (ซึ่งใช้แนวคิดทางศาสนาในการเมืองและอนุรักษนิยม) และพรรคเสรีนิยม (ต่อต้านการนำศาสนาในการเมืองและพิพัฒนาการนิยม) ต่อมาในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 พรรคสังคมนิยมได้เริ่มเข้ามามีบทบาทโดยเฉพาะในกลุ่มชนชั้นแรงงาน โดยพรรคการเมืองทั้งสามกลุ่มนี้ยังคงมีบทบาททางการเมืองในปัจจุบันโดยได้มีการเปลี่ยนแปลงมากมายในแนวคิดของแต่ละพรรคการเมือง

ในช่วงยุคก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น การแบ่งแยกทางภาษาของเบลเยียมได้ทวีความรุนแรงขึ้นโดยเฉพาะในการเมือง ทำให้มีการก่อตั้งพรรคการเมืองในคริสต์ทศวรรษ 1950 และคริสต์ทศวรรษ 1960 ที่แบ่งตามภาษา โดยต่อมาไม่นานพรรคการเมืองแต่ละพรรคได้แบ่งพรรคออกเป็นภาษาฝรั่งเศส และภาษาเฟลมิช

ภายหลังจากการชุมนุม ค.ศ. 1968 กระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการเคลื่อนไหวของฝ่ายซ้ายจัดทำให้พรรคที่เน้นสิ่งแวดล้อมก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก (ครุนและเอโกโล) ส่วนในฟลานเดอส์นั้นในช่วง ค.ศ. 1980 ได้เริ่มมีกระแสฝ่ายขวาจัดในสังคม ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งพรรคฟลามส์เบอลังซึ่งต่อมากลายเป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุดพรรคหนึ่งในเบลเยียมในช่วง ค.ศ. 1990

พรรคการเมืองหลัก

[แก้]

พรรคการเมืองหลักฝั่งเฟลมิช

พรรคการเมืองหลักฝั่งภาษาฝรั่งเศส

พรรคการเมืองหลักฝั่งภาษาเยอรมัน

การแบ่งแยกทางภาษา

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Billiet, Jaak; Bart Maddens; André-Paul Frognier (November 2006). "Does Belgium (still) exist? Differences in political culture between Flemings and Walloons". West European Politics. 29 (5): 912–932. doi:10.1080/01402380600968802.
  • Deschouwer, Kris (November 2006). "And the peace goes on? Consociational democracy and Belgian politics in the twenty-first century". West European Politics. 29 (5): 895–911. doi:10.1080/01402380600968760.
  • Swenden, Wilfried; Marleen Brans; Lieven De Winter (November 2006). "The politics of Belgium: Institutions and policy under bipolar and centrifugal federalism". West European Politics. 29 (5): 863–873. doi:10.1080/01402380600968729.
  • Swenden, Wilfried; Maarten Theo Jans (November 2006). "'Will it stay or will it go?' Federalism and the sustainability of Belgium". West European Politics. 29 (5): 877–894. doi:10.1080/01402380600968745.
  • Sinardet, Dave (September 2008). "Belgian federalism put to the test? The 2007 Belgian federal elections and their aftermath". West European Politics. 31 (5): 1016–1032. doi:10.1080/01402380802234706.
  • E. Witte, J. Craeybeckx en A. Meynen, Politieke geschiedenis van België, Standaard, 1997

อ้างอิง

[แก้]
  1. The Economist Intelligence Unit (8 January 2019). "Democracy Index 2019". Economist Intelligence Unit. สืบค้นเมื่อ 13 January 2019.
  2. "Constitution of Belgium - Article 96". Fed-parl.be. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-03.
  3. "Constitution of Belgium - Article 104". Fed-parl.be. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-03.
  4. "Constitution of Belgium - Article 99". Fed-parl.be. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-03.
  5. Ann Peuteman (8 May 2008). "De staatshervorming, war moet dat heen?". Knack magazine. No. 37th year, number 18. p. 25. In België is het voorlopig zo dat bevoegdheden die niet expliciet aan de gewesten of de gemeenschappen zijn toegewezen op federaal niveau worden uitgeoefend. 'In artikel 35 van onze grondwet staat sinds 1993 nochtans dat er een lijst van federale bevoegdheden moet worden gemaakt. Maar dat is nooit gebeurd.', zegt [grondwetspecialist Patrick] Peeters.
  6. Election turnout in national lower house elections from 1960 to 1995, numbers from Mark N. Franklin's "Electoral Participation."
  7. "Belgium". Europe Elects (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-08-08.