การเป็นพิษจากออร์กาโนฟอสเฟต
การเป็นพิษจากออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate poisoning) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Organophosphate toxicity, organophosphate overdose, organophosphate intoxication |
Phosphoric acid | |
สาขาวิชา | เวชศาสตร์ฉุกเฉิน |
อาการ | น้ำลายมาก ท้องร่วง รูม่านตาหดเล็ก กล้ามเนื้อสั่น สับสน |
การตั้งต้น | ภายใน 12 ชั่วโมง[1] |
สาเหตุ | ได้รับสารในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต[2] |
วิธีวินิจฉัย | Based on symptoms and confirmed by butyrylcholinesterase[2] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | Carbamate poisoning[2] |
การป้องกัน | decreasing access[2] |
ยา | Atropine, oximes, diazepam[2] |
ความชุก | Nearly 3 million per year[3] |
การเสียชีวิต | >200,000 คน ต่อปี[2] |
การเป็นพิษจากออร์กาโนฟอสเฟตหมายถึงภาวะเป็นพิษที่เกิดจากการได้รับสารในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (OP)[4] สารในกลุ่มนี้ถูกนำมาใช้เป็นยาฆ่าแมลง ยารักษาโรค และอาวุธเคมีชนิดสารประสาท[4] ผู้ถูกพิษมักมีอาการน้ำลายมาก น้ำตามาก ท้องร่วง อาเจียน รูม่านตาหดเล็ก เหงื่อออกมาก กล้ามเนื้อสั่น และสับสนได้[2] มักเริ่มมีอาการในเวลาไม่กี่นาทีถึงไม่กี่ชั่วโมงหลังได้รับสารพิษ แต่ก็อาจมีอาการหลังได้รับสารพิษเป็นเวลาหลายสัปดาห์ได้[5][1] ผู้ป่วยสามารถมีอาการอยู่เป็นเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ได้[2]
การเป็นพิษจากออร์กาโนฟอสเฟตส่วนใหญ่เกิดจากการพยายามฆ่าตัวตายในผู้ที่อาศัยหรือทำงานในพื้นที่การเกษตรในประเทศที่กำลังพัฒนา นอกจากนี้ยังพบเป็นอุบัติเหตุได้ด้วยแต่พบได้น้อยกว่า[2] ผู้ป่วยสามารถรับสารพิษได้ทางการกิน หายใจเอาละอองเข้าไป หรือรับผ่านการสัมผัสผิวหนัง[4] กลไกที่ทำให้เกิดการเป็นพิษคือการยับยั้งเอนไซม์อะซีติลโคลีนเอสเตอเรส (AChE) ซึ่งมีหน้าที่เปลี่ยนสารอะซีติลโคลีน (ACh) เป็นสารผลิตภัณฑ์ เมื่อเอนไซม์ดังกล่าวถูกยับยั้งการทำงานจะทำให้มีอะซีติลโคลีนสะสมในร่างกายมากกว่าปกติ[2] และทำให้เกิดอาการต่างๆ การวินิจฉัยทำได้โดยดูจากอาการและสามารถตรวจยืนยันได้จากการตรวจการทำงานของบิวทีริลโคลีนเอสเตอเรสในเลือด[2] ภาวะอื่นที่ทำให้มีอาการคล้ายคลึงกันได้แก่การเป็นพิษจากคาร์บาเมต[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Stoller JK, Michota FA, Mandell BF (2009). The Cleveland Clinic Foundation Intensive Review of Internal Medicine (ภาษาอังกฤษ). Lippincott Williams & Wilkins. p. 108. ISBN 9780781790796. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-10.
- ↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 Eddleston M, Buckley NA, Eyer P, Dawson AH (February 2008). "Management of acute organophosphorus pesticide poisoning". Lancet. 371 (9612): 597–607. doi:10.1016/S0140-6736(07)61202-1. PMC 2493390. PMID 17706760.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อBer2013
- ↑ 4.0 4.1 4.2 King AM, Aaron CK (February 2015). "Organophosphate and carbamate poisoning". Emergency Medicine Clinics of North America. 33 (1): 133–51. doi:10.1016/j.emc.2014.09.010. PMID 25455666.
- ↑ Peter JV, Sudarsan TI, Moran JL (November 2014). "Clinical features of organophosphate poisoning: A review of different classification systems and approaches". Indian Journal of Critical Care Medicine. 18 (11): 735–45. doi:10.4103/0972-5229.144017. PMC 4238091. PMID 25425841.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |