การเป็นพิษจากดิช็อกซิน
การเป็นพิษจากดิช็อกซิน (Digoxin poisoning) | |
---|---|
ภาพวาด Digitalis purpurea โดยฟรันซ์ โคห์เลอร์ | |
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | T46.0 |
ICD-9 | 972.1 |
MedlinePlus | 000165 |
การเป็นพิษจากดิช็อกซิน เกิดจากการรับยาดิช็อกซินปริมาณมากในเวลาอันสั้นหรือมีระดับดิช็อกซินสะสมในร่างกายจากการรักษาเป็นเวลานาน ดิช็อกซินเป็นยารักษาภาวะหัวใจวายและภาวะหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว[1] พบในพืชสกุลถุงมือจิ้งจอก (Digitalis)
การเป็นพิษจากดิช็อกซินแบ่งออกเป็นเฉียบพลันและเรื้อรัง อันตรายของทั้งสองประเภทคือผลกระทบต่อหัวใจ ในรายที่พิษเฉียบพลันจะมีอาการคลื่นไส้ รู้สึกหมุนและอาเจียน ในรายเรื้อรังจะมีอาการล้า ละเหี่ยและมีปัญหาด้านการมองเห็น[2]
อาการทั่วไปของผู้ป่วยคือคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ปวดท้อง ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ สับสน เพ้อ การมองเห็นผิดปกติ (มองไม่ชัดหรือมองเห็นเป็นสีเหลือง) ร่วมกับความผิดปกติของหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจห้องล่างเต้นเร็ว เป็นต้น[3]
การวินิจฉัย
[แก้]ในรายที่ต้องสงสัยว่าได้รับพิษจากดิช็อกซิน จะมีการตรวจปริมาณดิช็อกซินและโพแทสเซียมในซีรัมเลือด รวมถึงตรวจครีแอทินิน BUN และคลื่นไฟฟ้าหัวใจ[4]
การรักษา
[แก้]การรักษาภาวะพิษจากดิช็อกซินหลักคือใช้ยาดิช็อกซินอิมมูนแฟบ ซึ่งเป็นแอนติบอดีที่มีฤทธิ์ต่อต้านดิช็อกซิน ยาดังกล่าวให้ผลอย่างมากในการรักษาภาวะฉุกเฉินจากการได้รับพิษดิช็อกซิน เช่น ภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง การไหลเวียนโลหิตผิดปกติและหัวใจเต้นผิดจังหวะ[5] การประเมินขนาดยาดิช็อกซินอิมมูนแฟบมีสองวิธีคือ ดูจากปริมาณดิช็อกซินที่ได้รับและความเข้มข้นของดิช็อกซินในซีรัมเลือดและน้ำหนักผู้ป่วย[6]
การรักษาอื่น ๆ คือการให้แมกนีเซียม เฟนิโทอินและไลโดเคน ในรายที่การเต้นหัวใจช้าผิดปกติจะใช้อะโทรพีน แคทีโคลามีนและเครื่องกระตุ้นหัวใจ[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Gheorghiade, M; van Veldhuisen, DJ; Colucci, WS (30 May 2006). "Contemporary use of digoxin in the management of cardiovascular disorders". Circulation. 113 (21): 2556–64. doi:10.1161/circulationaha.105.560110. PMID 16735690.
- ↑ Ma, G; Brady, WJ; Pollack, M; Chan, TC (February 2001). "Electrocardiographic manifestations: digitalis toxicity". The Journal of Emergency Medicine. 20 (2): 145–52. doi:10.1016/s0736-4679(00)00312-7. PMID 11207409.
- ↑ Eichhorn, EJ; Gheorghiade, M (2002). "Digoxin". Progress in cardiovascular diseases. 44 (4): 251–66. doi:10.1053/pcad.2002.31591. PMID 12007081.
- ↑ Dugdale, David. "Digitalis toxicity". MedlinePlus. สืบค้นเมื่อ 30 October 2014.
- ↑ Antman, EM; Wenger, TL; Butler VP, Jr; Haber, E; Smith, TW (June 1990). "Treatment of 150 cases of life-threatening digitalis intoxication with digoxin-specific Fab antibody fragments. Final report of a multicenter study". Circulation. 81 (6): 1744–52. doi:10.1161/01.cir.81.6.1744. PMID 2188752.
- ↑ Yang, EH; Shah, S; Criley, JM (April 2012). "Digitalis toxicity: a fading but crucial complication to recognize". The American Journal of Medicine. 125 (4): 337–43. doi:10.1016/j.amjmed.2011.09.019. PMID 22444097.
- ↑ Bhatia, SJ (July 1986). "Digitalis toxicity--turning over a new leaf?". The Western journal of medicine. 145 (1): 74–82. PMID 3529634.