การเนรเทศชาวเกาหลีในสหภาพโซเวียต
การเนรเทศชาวเกาหลีในสหภาพโซเวียต | |
---|---|
เป็นส่วนหนึ่งของ การโยกย้ายประชากรในสหภาพโซเวียต และ ปฏิบัติการหมู่ของเอนคาเวเด | |
![]() | |
สถานที่ | ดินแดนปรีมอร์เย |
วันที่ | กันยายน–ตุลาคม พ.ศ. 2480 |
เป้าหมาย | ชาวเกาหลีเชื้อสายโซเวียต |
ประเภท | การขับไล่ด้วยกำลัง, การล้างชาติพันธุ์ |
ตาย | การประมาณการหลายประการ 1) 16,500[1] 2) 28,200[2] 3) 40,000[3] 4) 50,000[4] (อัตราการเสียชีวิต ร้อยละ 10–25) |
ผู้เสียหาย | ชาวเกาหลี 172,000 คนถูกเนรเทศไปตั้งถิ่นฐานโดยบังคับในสหภาพโซเวียต |
ผู้ก่อเหตุ | เอนคาเวเด |
เหตุจูงใจ | "การกวาดล้างชายแดน",[5] การแผลงเป็นรัสเซีย[6] |
การเนรเทศชาวเกาหลีในสหภาพโซเวียต (รัสเซีย: Депортация корейцев в СССР; เกาหลี: 고려인의 강제 이주) เป็นการบังคับโยกย้ายชาวเกาหลีเชื้อสายโซเวียตเกือบ 172,000 คน (โครยอ-ซารัม หรือโครยออิน) จากภูมิภาคตะวันออกไกลของรัสเซียไปยังพื้นที่ที่ไม่มีผู้คนอาศัยของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค และ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบกใน พ.ศ. 2480 โดยเอนคาเวเด ตามคำสั่งของโจเซฟ สตาลิน ผู้นำสหภาพโซเวียต และวยาเชสลาฟ โมโลตอฟ ประธานคณะกรรมการราษฎรแห่งสหภาพโซเวียต มีการใช้รถไฟ 124 ขบวนเพื่อตั้งถิ่นฐานใหม่เป็นระยะทาง 6,400 กม. (12,000 ไมล์) ไปยังเอเชียกลาง สาเหตุคือเพื่อหยุดยั้ง "การแทรกซึมของสายลับญี่ปุ่นเข้าไปในดินแดนตะวันออกไกล" เนื่องจากชาวเกาหลีในขณะนั้นเป็นพลเมืองของจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งเป็นคู่แข่งของสหภาพโซเวียต อย่างไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์บางคนถือว่าเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย "การกวาดล้างชายแดน" ของสตาลิน จากการประมาณการโดยอิงจากสถิติประชากร พบว่าชาวเกาหลีที่ถูกเนรเทศออกไปเสียชีวิตระหว่าง 16,500 ถึง 50,000 คนจากความอดอยาก การรับเชื้อ และความยากลำบากในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่เมื่อถูกเนรเทศ
หลังจากที่นีกีตา ครุชชอฟขึ้นเป็นผู้นำคนใหม่ของสหภาพโซเวียตใน พ.ศ. 2496 และดำเนินกระบวนการล้มล้างอิทธิพลของสตาลิน เขาได้ประณามการเนรเทศกลุ่มชาติพันธุ์ของสตาลิน แต่ไม่ได้กล่าวถึงชาวเกาหลีเชื้อสายโซเวียตในหมู่สัญชาติที่ถูกเนรเทศเหล่านี้ ชาวเกาหลีที่ถูกเนรเทศยังคงอาศัยอยู่ในเอเชียกลางและผสานเข้ากับสังคมคาซัคสถานและอุซเบกิสถาน แต่คนรุ่นใหม่ค่อย ๆ สูญเสียวัฒนธรรมและภาษาของตนไป
เหตุการณ์นี้ถือเป็นแบบอย่างของการเนรเทศกลุ่มชาติพันธุ์ครั้งแรกของสหภาพโซเวียต[7] ซึ่งเกิดขึ้นซ้ำในเวลาต่อมาระหว่างการโยกย้ายประชากรในสหภาพโซเวียตระหว่างและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อผู้คนหลายล้านคนจากกลุ่มชาติพันธุ์อื่นถูกตั้งถิ่นฐานใหม่ นักประวัติศาสตร์และนักวิชาการสมัยใหม่มองว่าการเนรเทศครั้งนี้เป็นตัวอย่างของนโยบายเหยียดเชื้อชาติในสหภาพโซเวียต[8][9][10] และการกวาดล้างชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นเรื่องปกติของลัทธิสตาลิน เช่นเดียวกับอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Korea: In the World – Uzbekistan". Gwangju News. 10 October 2013. สืบค้นเมื่อ 23 May 2021.
- ↑ D.M. Ediev (2004). "Demograficheskie poteri deportirovannykh narodov SSSR". Stavropol: Polit.ru. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2017. สืบค้นเมื่อ 23 September 2017.
- ↑ Rywkin (1994), p. 67.
- ↑ Saul (2014), p. 105.
- ↑ Polian (2004), p. 102.
- ↑ Shafiyev (2018), p. 150, 157.
- ↑ Ellman 2002, p. 1158.
- ↑ Tolz (1993), p. 161.
- ↑ Chang (2014), pp. 32–33.
- ↑ Chang (2018a), pp. 174–176.
บรรณานุกรม
[แก้]- Rywkin, Michael (1994). Moscow's Lost Empire. Armonk, N.Y.: M.E. Sharpe. ISBN 9781315287713. LCCN 93029308.
- Saul, Norman E. (2014). Historical Dictionary of Russian and Soviet Foreign Policy. Lanham, Maryland: Rowman & Littlefield. ISBN 9781442244375. LCCN 2014030179.
- Polian, Pavel (2004). Against Their Will: The History and Geography of Forced Migrations in the USSR. Budapest; New York City: Central European University Press. ISBN 9789639241688. LCCN 2003019544.
- Shafiyev, Farid (2018). Resettling the Borderlands: State Relocations and Ethnic Conflict in the South Caucasus. Montréal: McGill-Queen's Press. ISBN 9780773553729. LCCN 2018379019.
- Ellman, Michael (2002). "Soviet Repression Statistics: Some Comments" (PDF). Europe-Asia Studies. 54 (7): 1151–1172. doi:10.1080/0966813022000017177. JSTOR 826310. S2CID 43510161. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 April 2018.
- Tolz, Vera (1993). "New Information about the Deportation of Ethnic Groups in the USSR during World War 2". ใน Garrard, John; Healicon, Alison (บ.ก.). World War 2 and the Soviet People: Selected Papers from the Fourth World Congress for Soviet and East European Studies. New York City: Springer. ISBN 9781349227969. LCCN 92010827.
- Chang, Jon K. (2014). "Tsarist continuities in Soviet nationalities policy: A case of Korean territorial autonomy in the Soviet Far East, 1923–1937". Eurasia Studies Society of Great Britain & Europe Journal. 3: 32–33.
- Chang, Jon K. (2018a). Burnt by the Sun: The Koreans of the Russian Far East. Honolulu: University of Hawaii Press. ISBN 9780824876746. LCCN 2015046032.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- German Kim (2004), Deportation of 1937 as product of Russian and Soviet national policy
- KOKAISL, Petr. Koreans in Central Asia–a different Korean nation. Asian Ethnicity, 2018, 19.4: 428–452. Online
- Victoria Kim (14 June 2016). "Lost and Found in Uzbekistan: The Korean Story, Part 1". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 5 May 2021.
- Депортация ที่ยูทูบ – A 1997 Russian-language documentary about the deportation
- '고려말'로 듣는 소련시절 고려인 강제이주 이야기 Ep.1 [문화] ที่ยูทูบ – an interview (in Korean) with a non-Korean Russian who was orphaned and adopted by a Koryo-saram family before the deportation. She is fluent in Koryo-mar. She was then forcefully moved alongside the Koryo-saram to Central Asia.