ข้ามไปเนื้อหา

การเคี้ยวหมากในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเคี้ยวหมากเป้นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมและประเพณีไทยเสมอ ในอดีต การเคี้ยวหมากเคยเป็นกิจกรรมยอดนิยมของชาวไทยทั่วประเทศในแต่ละวัน[1] ผลหมากมาจากต้นไม้ที่มีชื่อว่า Areca catechu ที่เติบโตทั่วประเทศไทย[2][3]

ชาวบ้านชาวเขาในชนบทแห่งหนึ่งทางภาคเหนือของประเทศไทย ยิ้มด้วยฟันที่เปื้อนคราบจากการเคี้ยวหมาก
Areca Catechu (ต้นหมาก), ลูกหมาก

การเตรียมการ

[แก้]

การเคี้ยวหมากแบบไทย มีวัตถุดิบหลัก 3 อย่าง คือ ใบพลู หมากพลู และหินปูนแดง[4] ก่อนจะเคี้ยวหมาก จะต้องนำหมากไปต้ม หั่น และตากให้แห้งเสียก่อน[1] วิธีหนึ่งที่นิยมใช้คือ หั่นหมากเป็นสี่ส่วนเล็ก ๆ ก่อนตากด้วยแสงอาทิตย์ เนื่องจากหมากมีความแข็งแรงมาก เมื่อหมากแห้งแล้ว ส่วนมักร้อยเชือก (โดยทั่วไปยาวถึง 50 เซนติเมตร) แล้วแขวนไว้รอบๆ บ้านเพื่อใช้เมื่อจำเป็น วิธีนี้เป็นที่นิยมเพราะหมากแห้งสามารถเก็บไว้ได้นานขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถใส่ส่วนผสมอื่น ๆ ได้ เช่น ไพลหรือยาสูบ[3]

ก่อนจะเคี้ยวหมาก คนไทยส่วนใหญ่มักผสมส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน ผู้สูงอายุหลายคน (ที่ฟันไม่แข็งแรงหรือไม่มีฟัน) ผสมและตำส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน โดยไม่ต้องห่อด้วยใบพลู[2]

อุปกรณ์

[แก้]

เชี่ยนหมากเป็นอุปกรณ์ทำหมากที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการเคี้ยวหมาก โดยมีรูปร่าง ขนาด และวัสดุที่แตกต่างกัน ในอดีต อุปกรณ์นี้ใช้แสดงถึงความมั่งคั่งและฐานะทางสังคม วัสดุต่าง ๆ เช่น ทองเหลือง เงิน ทอง และไม้แกะสลักเป็นที่นิยมในหมู่คนรวย ในขณะที่ชาวนาและคนงานทั่วไปใช้ตะกร้าที่ทำจากวัสดุราคาถูก เช่น หวาย

อุปกรณ์ทำหมากเต็มชุดประกอบด้วยอุปกรณ์ดังต่อไปนี้:

  • ครกสาก – ใช้สำหรับตำและผสมส่วนผสมต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เป็นที่นิยมในผู้สูงอายุ เนื่องจากฟันของพวกเขาอ่อนแอ
  • ที่ตัดหมาก
  • ที่เก็บวัตถุดิบ (ใบพลู ชานพลู ปูนขาว ฯลฯ)
  • กล่องสำหรับใส่น้ำที่เหลือ[2][5]

ประเพณีและวัฒนธรรมไทย

[แก้]

หมากยังมีบทบาทสำคัญต่อประเพณีและวัฒนธรรมไทย เช่น:

  • พิธีทำบุญต่ออายุ คนไทยมีความเชื่อว่าหมากจะช่วยให้อายุยืนยาว โดยจะทำพิธีผ่านการนำต้นหมากเล็ก ๆ มาสวดมนต์ก่อนนำไปปลูกในวัดหรือในที่สาธารณะ
  • พิธีขันตั้ง/ขันครู ขันตั้งเป็นถาดตกแต่งใส่หมากและเครื่องเซ่นต่าง ๆ ในพิธีที่นักเรียนใช้แสดงความเคารพและกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
  • พิธีในศาสนาพุทธในไทย หมากใช้เป็นเครื่องบูชาศาลพระภูมิและในการอุปสมบทของพระสงฆ์ ส่วนใบของต้นพลูจะใช้สำหรับการบูชาทางพุทธศาสนาเท่านั้น[6]
  • "ขันหมาก": ตามประเพณีไทย คู่รักจะหมั้นกันในพิธีที่เรียกว่า "ขันหมาก" ซึ่งจัดขึ้นในงานแต่งงาน ขันหมากคือถาดตกแต่งที่มีหมากเป็นส่วนประกอบหลัก[7]

ประเพณี

[แก้]

การเคี้ยวหมากเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีไทยตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัย ในอาณาจักรล้านนา (พ.ศ. 1835) การเคี้ยวหมากถูกใช้เพื่อเกี้ยวพาราสีในบรรดาผู้ที่อยู่ช่วงวัยหนุ่มสาว คราบสีแดงหรือน้ำตาลบนฟันของผู้เคี้ยวหมากถือเป็นสิ่งที่สวยงาม[6] ต้นหมากสามารถใช้งานในรูปแบบอื่นได้ดังต่อไปนี้ การใช้งานต้นหมากแบบทั่วไปคือใช้กิ่งไม้ให้เด็กเล่น การละเล่นยอดนิยมเรียกว่า ชักลาก ซึ่งเป็นการละเล่นที่ผู้เล่นคนหนึ่งดึงปลายข้างหนึ่ง ในขณะที่อีกคนหนึ่งนั่งบนปลายกิ่งที่กว้าง กิ่งของต้นหมากแข็งแรง ผู้คนจึงใช้กิ่งเป็นพัดมือ การใช้งานที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือใช้ห่ออาหาร เช่น ข้าว กิ่งไม้ยังใช้เป็นฉนวนเพื่อรักษาความชื้นและความอบอุ่นภายในอาหาร นอกจากนี้ ชั้นกิ่งไม้ที่อ่อนนุ่มยังใช้เป็นมวนยาสูบได้อีกด้วย ท้ายที่สุด หมากยังใช้เป็นยาธรรมชาติในหมู่คนไทย ซึ่งใช้รักษาอาการไอ เจ็บคอ หรือผื่น[2]

การเสื่อมถอย

[แก้]

แปลก พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรีไทย ได้รณรงค์ให้ประชาชนเลิกเคี้ยวหมากใน พ.ศ. 2483 และยังสั่งให้ตัดต้นหมากทั้งหมดทั่วประเทศอีกด้วย นอกจากนี้ การเคี้ยวหมากยังถูกห้ามในอาคารราชการอีกด้วย ทำให้เกิดกระแสต่อต้านการเคี้ยวหมาก ผู้ที่เคี้ยวหมากในอาคารราชการจะไม่ได้รับบริการจากรัฐบาล เพื่อส่งเสริมสังคมสมัยใหม่และทำให้เมืองสะอาด เพราะประชาชนจะคายคราบสีแดงลงบนถนน ทำให้เมืองและถนนสกปรกและไม่ถูกสุขอนามัย[2][8]

การศึกษาเฉพาะกรณีโดยละเอียดโดย Reichard และคณะฯ ในชาวเขาบางส่วนทางภาคเหนือของไทยเกี่ยวกับพฤติกรรมการเคี้ยวหมากในประเทศไทยเขียนขึ้นใน พ.ศ. 2522–2527 ผลการศึกษาพบว่าผู้ชายนิยมเคี้ยวหมากประมาณร้อยละ 5 - 44 และผู้หญิงนิยมเคี้ยวหมากประมาณร้อยละ 9 - 46 ชาวบ้านที่อายุน้อยกว่า 35 ปีจำนวนน้อยมากเคี้ยวหมาก ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นธรรมเนียมสากลในหมู่คนไทย นั่นแสดงให้เห็นว่าการเคี้ยวหมากในประเทศไทยลดลง ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีแนวโน้มเช่นนี้ การเคี้ยวหมากในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานครและเชียงใหม่เกือบหายไปหมดแล้ว แม้ว่าในจังหวัดแถบชนบทยังคงเป็นที่นิยมในหมู่คนชรา[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Schliesinger, Joachim (2015-01-11). Tai Groups of Thailand Vol 1: Introduction and Overview (ภาษาอังกฤษ). Booksmango. ISBN 9781633232303.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย. (๒๕๔๒). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม ๑๔ สุวัณณะจักก่าตำ – เหตุหื้อวินาสฉิบหาย. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.
  3. 3.0 3.1 Gupta, P. C., & Warnakulasuriya, S. (2002). Global epidemiology of areca nut usage. Addiction biology, 7(1), 77-83.
  4. 4.0 4.1 Humans, IARC Working Group on the Evaluation of Carcinogenic Risks to; Cancer, International Agency for Research on (2004-01-01). Betel-quid and Areca-nut Chewing and Some Areca-nut-derived Nitrosamines (ภาษาอังกฤษ). IARC. ISBN 9789283212850.
  5. มหาพระครูสุตบูรพาสถิต ภิรมจิตรผ่อง. (2015). แนวทางการอนุรักษ์และเพิ่มมูลค่าหัตถกรรมทองเหลืองบ้านปะอาว ตำบลปะอาว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 6(2), 48-61.
  6. 6.0 6.1 Young, John E. De (1955-01-01). Village Life in Modern Thailand (ภาษาอังกฤษ). University of California Press.
  7. ชยันตราคม, ธันนิกานต์. (2013). การเปลี่ยนแปลงทางทัศนคติ: การศึกษาประเพณีแต่งงานไทย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 16(9).
  8. ญาเรศ อัครพัฒนานุกูล. (2013). แนวคิดฟาสซิสต์ของมุสโสลินี กับบทบาททางการเมืองของจอมพล ป. พิบูลสงคราม: การศึกษาผ่านแง่มุมของจิตวิญญาณ ชีวิตของพลเมือง และรัฐ. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 28(2), 95-122.