ข้ามไปเนื้อหา

การหลอกปั่นหัว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การหลอกปั่นหัว[1] (อังกฤษ: gaslighting) เป็นภาษาพูด หมายถึง การบิดเบือนความเป็นจริงของบุคคลอื่น เพื่อควบคุมหรือเอาเปรียบ โดยทำให้เหยื่อ สงสัย ใน ความคิด ความรู้สึก หรือ การรับรู้ ของตัวเอง[2][3] คำนี้มาจากชื่อภาพยนตร์เรื่อง ตะเกียง (Gaslight) ในปี 1944 และเริ่มได้รับความนิยมในช่วงกลางทศวรรษ 2010 พจนานุกรม เมอร์เรียม-เว็บสเตอร์ (Merriam-Webster) อธิบายว่า Gaslighting หมายถึง การหลอกลวงความทรงจำ การรับรู้ความเป็นจริง หรือ ความมั่นคงทางจิต ของบุคคล[3] ตามรายงานของ วอชิงตันโพสต์ ปี 2022 คำนี้ได้กลายเป็น คำศัพท์ยอดนิยม ที่ใช้ผิดบ่อย ๆ โดยมักใช้เพื่ออธิบาย ความขัดแย้งทั่วไป แทนที่จะใช้ในบริบทที่ตรงกับความหมายดั้งเดิมของคำ [4]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]
ชาร์ลส โบเยอร์, อิงกริด เบิร์กแมน และ โจเซฟ คอตเทน ในภาพยนตร์เรื่อง ตะเกียง (Gaslight) ปี ค.ศ. 1944

ต้นกำเนิดของคำนี้ มาจากละครเวทีระทึกขวัญของอังกฤษปี 1938 เรื่อง ตะเกียง (ต้นฉบับ) โดย แพทริค แฮมิลตัน ซึ่งต่อมาถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์อังกฤษเรื่อง ตะเกียง (1940) หลังจากนั้น ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ถูกนำไปสร้างใหม่อีกครั้งในอเมริกา ในปี 1944 ใช้ชื่อเดิมว่า ตะเกียง (1944) โดยภาพยนตร์เรื่องหลังนี้เองที่กลายเป็นจุดอ้างอิงสำคัญของคำว่า Gaslighting ในปัจจุบัน[5][6][7] เรื่องราวในภาพยนตร์เกิดขึ้นในหมู่ชนชั้นสูงในลอนดอนใน สมัยวิกตอเรีย โดยเล่าถึงสามีผู้ดูเหมือนเป็นสุภาพบุรุษ ที่ใช้การโกหกและการบงการเพื่อแยกภรรยา ซึ่งเป็นทายาทมรดก ออกจากสังคม และโน้มน้าวให้เธอคิดว่าตัวเองป่วยทางจิต เพื่อที่จะขโมยทรัพย์สินของเธอ[8] สิ่งที่น่าสนใจคือคำว่า "Gaslighting" ความจริงแล้ว ไม่ได้ปรากฏอยู่ในบทภาพยนตร์ บทละคร หรือภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องเลย แต่ตัวละครผู้เป็นสามีในเรื่อง จะแอบหรี่ไฟและปรับให้แสงไฟภายในบ้านให้สว่างขึ้น ๆ ลง ๆ แล้วยืนกรานกับภรรยาว่า เธอนั้นคิดไปเอง เพื่อทำให้ภรรยาสงสัยตัวเองว่า เธออาจจะสติไม่สมประกอบจริง ๆ[9]

คำว่า gaslighting ถูกใช้ครั้งแรกในช่วงทศวรรษ 1950 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในซีรีส์ The Burns and Allen Show ส่วนการใช้ในหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ ปรากฏครั้งแรกในคอลัมน์ของ มอรีน ดาวด์ เมื่อปี 1995[10] จากข้อมูลของ สมาคมจิตวิทยาสหรัฐอเมริกา ให้ความหมายของ gaslighting ในปี 2021 ว่า เดิมทีหมายถึง "การบงการที่รุนแรงมากจนทำให้เกิด ความเจ็บป่วยทางจิต หรือหรือเพื่อใช้เป็นเหตุผลในการส่งตัวผู้ถูกกระทำให้เข้ารับการรักษาในสถาบันโรคจิต"[2] คำว่า "gaslighting" เคยเป็นศัพท์เฉพาะทางหรือไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก จนกระทั่งได้รับความนิยมในช่วงกลางทศวรรษ 2010 – หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทม์ส ใช้คำนี้เพียงเก้าครั้งใน 20 ปีถัดมา[10] – ปัจจุบันคำนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของคำศัพท์ภาษาอังกฤษ[10] และมีความหมายกว้างขึ้น พจนานุกรมเมอร์เรียม-เว็บสเตอร์ ให้คำจำกัดความว่า "การบงการทางจิตวิทยา เพื่อทำให้ใครสักคน สงสัยในการรับรู้ความเป็นจริงของตัวเอง จนนำไปสู่การ พึ่งพาผู้กระทำ"[3]

คำนี้ได้รับการยอมรับอย่างโดดเด่นหลายประการ สมาคมภาษาถิ่นอเมริกัน (American Dialect Society) ยกให้คำว่า gaslight เป็นคำใหม่ที่ "มีประโยชน์มากที่สุด" ของปี 2016[11] สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ยกให้ gaslighting อยู่ในรายชื่อคำศัพท์ใหม่ยอดนิยมประจำปี 2018[12]

ในแวดวงการช่วยเหลือตนเองและจิตวิทยาเบื้องต้น

[แก้]

คำว่า Gaslighting ถูกนำมาใช้ในแวดวงการช่วยเหลือตนเองและจิตวิทยาเบื้องต้น เพื่ออธิบายพลวัตที่อาจเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ส่วนตัว (ทั้งแบบคู่รักและพ่อแม่ลูก) รวมถึงความสัมพันธ์ในที่ทำงาน[13] การหลอกปั่นหัวเกี่ยวข้องกับบุคคลสองฝ่าย ได้แก่ ผู้กระทำ ที่พยายามเสนอเรื่องราวที่บิดเบือนความจริงอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมอีกฝ่าย และ "ผู้ถูกกระทำ" ผู้ที่พยายามรักษาความเป็นตัวของตัวเองไว้[14][15] โดยทั่วไปการหลอกปั่นหัวจะประสบผลสำเร็จเฉพาะในกรณีที่มีความสัมพันธ์ที่อำนาจไม่เท่าเทียมกัน หรือในกรณีที่ผู้ถูกกระทำเคารพผู้กระทำต่อตัวผู้ถูกกระทำมาก่อน[16]

การหลอกปั่นหัวนั้นแตกต่างจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจริงตามปกติในความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นเรื่องปกติและมีความสำคัญต่อความสัมพันธ์ เราสามารถแยกความแตกต่างระหว่าง การหลอกปั่นหัวกับความขัดแย้งทั่วไปได้จากลักษณะดังนี้:

การรับฟัง

  • ความขัดแย้งทั่วไป - ทั้งสองฝ่าย พยายามรับฟังและพิจารณาความคิดเห็นของอีกฝ่ายอย่างสม่ำเสมอ
  • การหลอกปั่นหัว - มีเพียงฝ่ายเดียว ที่รับฟังและพิจารณาความคิดเห็นของอีกฝ่ายอย่างสม่ำเสมอ

การยืนยัน

  • ความขัดแย้งทั่วไป - ทั้งสองฝ่ายอาจโต้แย้งกัน แต่ก็ยังเคารพซึ่งกันและกัน
  • การหลอกปั่นหัว - มีเพียงฝ่ายเดียว ที่ปฏิเสธการรับรู้ของอีกฝ่ายอย่างสม่ำเสมอ ยืนยันว่าอีกฝ่ายผิด หรือบอกว่าปฏิกิริยาทางอารมณ์ของอีกฝ่ายนั้นไร้เหตุผลหรือผิดปกติ

คำว่า gaslighting มักใช้เพื่ออ้างถึงรูปแบบของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเป็นเวลานาน ไม่ใช่การโน้มน้าวใจเพียงครั้งเดียว แต่วิธีการโน้มน้าวใจเป็นลักษณะเด่นของพฤติกรรมการหลอกปั่นหัว[4] เมื่อเวลาผ่านไป  ฝ่ายที่รับฟังอาจแสดงอาการที่มักเกี่ยวข้องกับโรควิตกกังวล ซึมเศร้า หรือ ความนับถือตนเองต่ำ หัวใจสำคัญ ของความแตกต่างระหว่าง การหลอกปั่นหัวกับความขัดแย้งทั่วไปในความสัมพันธ์  คือ การหลอกปั่นหัวเป็นการกระทำที่ ฝ่ายหนึ่ง จงใจบิดเบือนความรับรู้ของ อีกฝ่าย[16]

ในด้านจิตเวชและจิตวิทยา

[แก้]

คำว่า gaslighting (โดยอ้างอิงถึงพฤติกรรมที่อธิบายไว้ในหัวข้อจิตวิทยาเบื้องต้นข้างต้น) มักใช้ในงานวิชาการทางจิตวิทยาคลินิกเป็นครั้งคราว แต่สมาคมจิตวิทยาสหรัฐอเมริกายังถือว่าเป็นภาษาพูดอยู่[2][17]

ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา คำนี้ถูกนำมาใช้ในงานวิจัยทางจิตวิเคราะห์เพื่ออธิบาย เจตนาเบื้องหลังที่ชัดเจนในการล้างสมอง[18]

ในปี 1969 บาร์ตัน (Barton) และ ไวต์เฮด (Whitehead) ได้รายงานกรณีศึกษาการหลอกปั่นหัว จำนวน 3 กรณี โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้ใครก็ตามเข้ารับการรักษาโดยไม่สมัครใจ ในโรงพยาบาลจิตเวช โดยแรงจูงใจเบื้องหลังพฤติกรรมเหล่านี้คือ ความต้องการกำจัดญาติ หรือ แสวงหาผลประโยชน์ทางการเงิน รายละเอียดของกรณีศึกษามีดังนี้

1. ภรรยาคนหนึ่งพยายามใส่ร้ายสามีว่าเป็นคนรุนแรง เพื่อที่เธอจะได้หนีไปอยู่กับชู้[13][19]

2. ภรรยาอีกคนหนึ่งกล่าวหาว่าสามีซึ่งเป็นเจ้าของผับนั้นติดสุราเรื้อรัง เพื่อทิ้งเขาและยึดกิจการ[13][19]

3. และผู้จัดการบ้านพักคนชราที่ให้ยาระบายแก่ชาวบ้านก่อนส่งเธอไปโรงพยาบาลจิตเวช ภาวะสมองเสื่อมเล็กน้อย และมีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่[13][19]

ในปี 1977 ขณะที่งานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่เกี่ยวกับการหลอกปั่นหัวยังมีอยู่น้อยมาก ลุนด์และการ์ดิเนอร์ได้ตีได้ตีพิมพ์รายงานกรณีศึกษาของผู้หญิงสูงอายุท่านหนึ่ง  ซึ่งถูกส่งตัวไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลจิตเวชโดยไม่สมัครใจหลายครั้ง  โดยอ้างเหตุผลว่าเธอมีอาการทางจิต แต่พนักงานของบ้านพักคนชราซึ่งเป็นผู้ส่งตัวเธอนั้น  กลับรายงานว่าอาการของเธอมักจะหายไปเอง โดยที่ไม่ได้รับการรักษา หลังจากการสืบสวน เจ้าหน้าที่พบว่า อาการหวาดระแวง เกิดขึ้นจากการถูกผู้ดูแลที่บ้านพักคนชราหลอกปั่นหัว เนื่องจากเจ้าหน้าที่เหล่านี้ทราบว่าเธอกเคยมีอาการทางจิตมา 15 ปีก่อนหน้านั้น[19] บทความวิจัยเรื่อง Gaslighting: A Marital Syndrome (1988) ได้นำเสนอผลกระทบทางคลินิกที่เกิดขึ้นกับภรรยา หลังจากที่ปฏิกิริยาตอบโต้ของพวกเธอถูกสามีและนักบำบัดชายตีความผิดพลาด[20] ผู้เชี่ยวชาญท่านอื่น ๆ ค่านิยมและเทคนิคของนักบำบัด  ก็สามารถส่งผลทั้งร้ายและดีต่อผู้รับบริการ (หรือส่งผลทางอ้อมต่อคนอื่น ๆ ในชีวิตของผู้รับบริการ) ได้เช่นกัน[21][22][23]

ในหนังสือของ ธีโอ แอล. ดอร์แพท (Theo L. Dorpat) เรื่อง Gaslighting, the Double Whammy, Interrogation and Other Methods of Covert Control in Psychotherapy and Analysis ที่ตีพิมพ์ในปี 1996 ได้แนะนำให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านจิตวิทยาใช้ทัศนคติและวิธีการแบบไม่ชี้นำ และเน้นความเท่าเทียมกัน[22]: 225  โดย "ปฏิบัติต่อผู้ป่วยในฐานะผู้ทำงานร่วมกันและเป็นหุ้นส่วนที่เท่าเทียมกัน"[22]: 246  เขาเขียนว่า "นักบำบัดอาจมีส่วนทำให้ผู้รับบริการรู้สึกทุกข์หนักขึ้น โดยการตีความปฏิกิริยาตอบโต้ของ [เหยื่อ] ผิดพลาด.... พฤติกรรมการหลอกปั่นหัวของคู่สมรส อาจเป็นสิ่งที่นำไปสู่ อาการทางประสาท สำหรับ [เหยื่อ] และร้ายแรงที่สุดอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย"[22] นอกจากนี้ ดอร์แพทยังเตือนนักจิตวิทยาเกี่ยวกับการใช้เทคนิคการซักถามและวิธีการควบคุมผู้ป่วยอย่างแอบซ่อนในระหว่างการทำจิตบำบัดและการวิเคราะห์ เนื่องจากวิธีการเหล่านี้อาจส่งผลต่อผู้ป่วยในเชิงบังคับโดยไม่รู้ตัว แทนที่จะเคารพและช่วยเหลือพวกเขาอย่างแท้จริง[22]: 31–46 

แม้ทั่วโลกจะตระหนักถึงอันตรายของการหลอกปั่นหัวมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับด้วยความกระตือรือร้นจากนักจิตวิทยาทุกคน บางคนออกมาแสดงความกังวลว่า การใช้คำนี้มากเกินไปอาจทำให้ความหมายของมันเบาบางลง และลดความรุนแรงของผลกระทบต่อสุขภาพจากการถูกกระทำเช่นนี้[12]

แรงจูงใจ

[แก้]

การหลอกปั่นหัวเป็นกลยุทธ์ที่ใช้ควบคุมสถานการณ์ ยับยั้งความขัดแย้ง ลดความวิตกกังวล และสร้างความรู้สึกควบคุมให้กับผู้กระทำได้ แต่กลยุทธ์นี้กลับมักจะถูกใช้เพื่อบ่ายเบี่ยงความรับผิดชอบและทำลายความน่าเชื่อถือของอีกฝ่าย[16] บางกรณีมีการใช้กลยุทธ์นี้เพื่อหลอกปั่นหัวคู่รักของตน เพื่อปฏิเสธเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรือแม้แต่เหตุการณ์รุนแรงที่เกิดกับอีกฝ่าย[24]

เป็นพฤติกรรมที่เรียนรู้ได้

[แก้]

การหลอกปั่นหัวเป็นลักษณะนิสัยที่เรียนรู้ได้ ผู้ที่ชอบปั่นเปรียบเหมือนผู้ที่ชอบเรียนรู้จากการสังเกต พวกเขาอาจเคยเห็นคนอื่นหลอกปั่นหัว เคยถูกหลอกปั่นหัวมาก่อน หรือค้นพบวิธีการนี้เอง  และสังเกตว่ามันได้ผล ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อการควบคุมตนเองหรือการควบคุมผู้อื่นก็ตาม[16] งานวิจัยชี้ให้เห็นว่า การหลอกปั่นหัวมักเกิดขึ้นบ่อยในคู่รักที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งคู่มีบุคลิกภาพที่ไม่เหมาะสม[25] เช่น บุคลิกภาพที่เกี่ยวข้องกับอาการป่วยทางจิตเวชระยะสั้น มีโรคซึมเศร้า  โรคจากการใช้สารเสพติด (เช่น โรคพิษสุราเรื้อรัง) ความผิดปกติทางอารมณ์ (เช่น โรคอารมณ์สองขั้ว) โรควิตกกังวล (เช่น ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ) และโรคผิดปกติทางบุคลิกภาพ (เช่น บุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง บุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง) เป็นอาทิ รวมถึงโรคพัฒนาการทางประสาท (เช่น โรคสมาธิสั้น) หรืออาจเป็นการมีหลายโรคพร้อมกัน บุคคลเหล่านี้มักมีแนวโน้ม และมีความสามารถในการโน้มน้าวให้ผู้อื่นสงสัยความคิดเห็นของตัวเอง[26]

การฟื้นฟู

[แก้]

การปลีกตัวออกจากสถานการณ์ที่ใช้อำนาจในการหลอกปั่นหัวนั้นอาจเป็นเรื่องยาก

  • ผู้ที่ชอบหลอกปั่นหัว ต้องพัฒนาสติสัมปชัญญะทางอารมณ์ และการควบคุมตัวเอง (self-regulation) ให้มากขึ้น [16] หรือ;
  • ผู้ถูกหลอกปั่นหัว ต้องเรียนรู้ที่จะไม่ต้องพึ่งพาการยืนยันความจริงจากผู้อื่น และต้องสร้างความพึ่งพาตัวเอง รวมถึงความมั่นใจในการกำหนดความจริงของตัวเอง[27][16]

การใช้คำอย่างแพร่หลาย

[แก้]

คำว่า "gaslighting" มักถูกใช้อย่างไม่ถูกต้อง โดยใช้เรียกแทนความขัดแย้งหรือการเห็นต่างกันทั่วไป[4][17][28] ดร.โรบิน สเติร์น ผู้ร่วมก่อตั้ง สถาบันเยลเพื่อความฉลาดทางอารมณ์ (Yale Center for Emotional Intelligence) ให้ความเห็นว่า "คำว่า 'หลอกปั่นหัว' มักถูกใช้กล่าวโทษผู้อื่น  ในกรณีที่อีกฝ่ายอาจจะยืนยันในความคิดเห็นของตัวเองอย่างหนักแน่น  หรือพยายามโน้มน้าวเรา  ซึ่งนั่นไม่ใช่ความหมายที่แท้จริงของการหลอกปั่นหัว"[17]

ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตบางท่านกังวลว่า การใช้คำว่า "หลอกปั่นหัว" อย่างแพร่หลายเกินไป  ทำให้ความหมายที่แท้จริงของมันเจือจาง และอาจส่งผลต่อการระบุรูปแบบการละเมิดประเภทใดประเภทหนึ่งที่ตรงตามนิยามดั้งเดิมได้ยากขึ้น[12][4][28]

ในทางการแพทย์

[แก้]

"การหลอกปั่นหัวทางการแพทย์" เป็นคำที่ไม่เป็นทางการ[29] ใช้เรียกรูปแบบที่ผู้ป่วยถูกบุคลากรทางการแพทย์ปฏิเสธหรือลดความสำคัญของอาการป่วยจริง  ส่งผลให้การวินิจฉัยโรคผิดพลาด  ผู้หญิงและคนกลุ่มน้อยทางเชื้อชาติ มีโอกาสประสบปัญหานี้มากกว่า[30][31][32]

ในทางการเมือง

[แก้]

การหลอกปั่นหัวมักได้ผล  เมื่อผู้หลอกปั่นหัวมีอำนาจเหนือกว่า[33]

ในหนังสือเรื่อง State of Confusion: Political Manipulation and the Assault on the American Mind ที่ตีพิมพ์ในปี 2008 ผู้เขียนยืนยันว่าความแพร่หลายของการจุดประกายไฟในการเมืองอเมริกันเริ่มต้นขึ้นในยุคของการสื่อสารสมัยใหม่: [34]

"การกล่าวว่าการหลอกปั่นหัวเริ่มต้นโดย...กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่ยังคงอยู่ ไม่เพียงแค่ผิดเท่านั้น แต่ยังมองข้ามประเด็นสำคัญอีกด้วย การหลอกปั่นหัวเกิดขึ้นโดยตรงจากการผสมผสานเทคนิคการสื่อสารสมัยใหม่ การตลาด และการโฆษณา เข้ากับวิธีการโฆษณาชวนเชื่อแบบเดิม เทคนิคเหล่านี้ รอคอย ให้คนที่ทะเยอทะยานและมีบุคลิกภาพทางจิตใจเหมาะสมนำไปใช้"

คำว่า "หลอกปั่นหัว" ถูกนำไปใช้เพื่ออธิบายพฤติกรรมของนักการเมืองและบุคคลสื่อมวลชน  ทั้งฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา  ของแนวคิดทางการเมือง [34] ตัวอย่างเช่น:

  • สื่อมวลชนอเมริกันใช้คำว่า "หลอกปั่นหัว" วิจารณ์การกระทำของโดนัลด์ ทรัมป์ ในช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปี 2016 และตลอดระยะเวลาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี[35][36]
  • คำว่า "หลอกปั่นหัว" ถูกนำไปใช้เพื่ออธิบายเทคนิคการใช้จิตวิทยา เบียดเบียนที่รัฐบาลเยอรมนีตะวันออกใช้กับประชาชน ในช่วงทศวรรษ 1970 และ 1980 เทคนิคเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของวิธีการทำลายขวัญและกำลังใจฝ่ายตรงข้าม ของชตาซี (หน่วยงานความมั่นคงของรัฐ) ซึ่งออกแบบมาเพื่อทำให้ความสามารถของผู้คนที่เป็นศัตรูเชิงลบ (ไม่ถูกต้องทางการเมืองหรือกบฏ) เป็นอัมพาตในการดำเนินการโดยไม่ต้องกักขังพวกเขาอย่างไม่ยุติธรรม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการประณามจากนานาชาติ . [37]

ในวัฒนธรรมประชานิยม

[แก้]

หนึ่งในการใช้คำว่า "หลอกปั่นหัว" ในละครโทรทัศน์ยุคแรก ๆ คือในซีรีส์ The Burns and Allen Show ชื่อตอนว่า "Gracie Buying Boat for George" ออกอากาศในปี 1952[38]

คำว่า "หลอกปั่นหัว" ถูกใช้ในซีรีส์ Car 54, Where Are You? ตอน "What Happened to Thursday?" ออกอากาศในปี 1962[38]

ในซีรีส์ The Six Million Dollar Man ฤดูกาลที่ 2 ตอน "The Seven Million Dollar Man" ออกอากาศในปี 1974 สตีฟ ออสติน กล่าวหา ออสการ์ โกลด์แมน, รูดี้ เวลส์ และพยาบาล คาร์ลา ปีเตอร์สัน ว่ากำลัง "หลอกปั่นหัว" เขา หลังจากทั้งสามคนพยายามโน้มน้าวเขาว่าเหตุการณ์ที่เขาเห็นนั้นไม่เคยเกิดขึ้น

ในปี 1994 ตัวละคร รอซ ดอยล์ ใช้คำว่า "หลอกปั่นหัว" ในซีรีส์ซิทคอมอเมริกัน Frasier ตอน "Fortysomething"[39]

ในบทสัมภาษณ์ปี 2000 นักแต่งเพลงวง Steely Dan อธิบายว่าเนื้อเพลง "Gaslighting Abbie" ในอัลบั้ม Two Against Nature ได้แรงบันดาลใจมาจากคำว่า "gaslighting" ซึ่งพวกเขาได้ยินมาในนครนิวยอร์ก และเชื่อว่ามีที่มาจากภาพยนตร์เรื่อง Gaslight ปี 1944 เนื้อเพลงสื่อถึง "การควบคุมความคิด" หรือ "การเล่นกับหัว" ของใครบางคน[40]

ในช่วงปี 2014–2016 ละครวิทยุ The Archers ของ บีบีซี เรดิโอ 4 ออกอากาศเนื้อเรื่องยาวสองปี เกี่ยวกับเฮเลน ผู้หญิงที่ถูกสามีอย่างร็อบ ซึ่งเป็นคนชอบรังแกและชอบควบคุม[41] ใช้กลยุทธ์การบังคับควบคุมอย่างช้า ๆ หลอกปั่นหัวเธอ ละครเรื่องนี้สร้างความตกตะลึงให้กับผู้ฟัง และจุดประกายให้เกิดการพูดคุยระดับชาติเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงในครอบครัว[42]

ในภาพยนตร์เรื่อง The Girl on the Train ออกฉายปี 2016 เรเชล ตัวละครเอก มีอาการซึมเศร้ารุนแรงและติดสุรา เนื้อเรื่องดำเนินไปเกี่ยวกับอาการเมาจนความจำเสื่อมของเรเชล ขณะที่สามีของเธอยืนยันตลอดเวลาว่าเธอทำเรื่องแย่ ๆ ที่เธอไม่ได้ทำจริง ๆ[43]

ในปี 2017 คำว่า "หลอกปั่นหัว" ถูกนำไปใช้กล่าวถึงกรณีที่ฮาร์วีย์ ไวน์สตีน ใช้มาตรการรุนแรง เพื่อทำให้ผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อทางเพศของเขาเสื่อมเสียชื่อเสียง นักข่าวที่สืบสวนเรื่องราวของพวกเธอ และประชาชนทั่วไป[44]

ในปี 2018 ละครโทรทัศน์เรื่อง Days of Our Lives ของช่อง NBC มีเนื้อเรื่องยาวหลายเดือน เกี่ยวกับการแก้แค้นและความพยายามอย่างเป็นระบบของกาบิ ที่จะทำให้อบิเกล เพื่อนสนิทของเธอ ถูกส่งไปรับการรักษาที่สถาบันสุขภาพจิต ในที่สุด กาบิ ก็สารภาพกับแอ๊บบิเกลอย่างสะใจ ถึงสิ่งที่เธอทำกับเพื่อนคนนี้และเหตุผลที่เธอทำ[45]

ในปี 2019 รายการวิเคราะห์ข่าว Anderson Cooper 360° ของ CNN ออกอากาศเนื้อหาเกี่ยวกับคำโกหกของนักการเมือง เป็นเวลา 24 ตอน โดยใช้ชื่อหัวข้อว่า "Keeping Them Honest: We'll Leave The Gaslight on for You, Part __" (ทำให้พวกเขาซื่อสัตย์: เราจะเปิดไฟหลอกปั่นหัวคุณไว้ให้ ตอนที่ __)[16]

ในปี 2020 วงดนตรีคันทรี The Chicks ออกเพลงชื่อ "Gaslighter" เนื้อหาเกี่ยวกับสามีที่ชอบหลอกปั่นหัวภรรยา[46]

ในปี 2022 มินิซีรีส์ Gaslit ทางช่อง Starz นำแสดงโดย จูเลีย โรเบิตส์ และฌอน เพนน์ ใช้คำว่า "Gaslighting" เป็นชื่อเรื่อง เพื่อสื่อถึงธีมของการหลอกลวง และการใช้ อำนาจในทางที่ผิด ซึ่งเป็นเบื้องหลังของ เรื่องอื้อฉาววอเตอร์เกต ที่นำไปสู่การลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีของ ริชาร์ด นิกสัน ในที่สุด

ในปี 2022 พจนานุกรม Merriam-Webster ประกาศให้ "gaslighting" เป็นคำแห่งปี เนื่องจากช่องทางและเทคโนโลยีที่ใช้ในการทำให้เข้าใจผิดเพิ่มมากขึ้น และคำนี้กลายเป็นคำที่ใช้ทั่วไปสำหรับการรับรู้ถึงการหลอกลวง [47]

หนังสือ The Gospel of Afranius ผลงานสรรเสริญจากรัสเซียที่ไม่นับถือศาสนา ซึ่งเผยแพร่เองครั้งแรกในปี 1995 และได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษในปี 2022 เสนอแนวคิดที่ว่า การหลอกปั่นหัวด้วยแรงจูงใจทางการเมือง เป็นต้นกำเนิดของความเชื่อพื้นฐานของคริสเตียนในเรื่องการคืนพระชนม์ของพระเยซู [48]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรมศัพท์นิเทศศาสตร์ร่วมสมัย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2566, หน้า 78.
  2. 2.0 2.1 2.2 "APA Dictionary of Psychology". APA.org. American Psychological Association. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2021. สืบค้นเมื่อ 7 July 2021.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Definition of gaslight (Entry 2 of 2)". Merriam Webster. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2021. สืบค้นเมื่อ 7 July 2021.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Haupt, Angela (15 April 2022). "How to recognize gaslighting and respond to it". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2022. สืบค้นเมื่อ 21 April 2022.
  5. "Gaslight". Oxford English Dictionary. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2021. สืบค้นเมื่อ 25 October 2021. Etymology: from the title of George Cukor's 1944 film Gaslight
  6. Hoberman, J (21 August 2019). "Why 'Gaslight' Hasn't Lost Its Glow". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2019. สืบค้นเมื่อ 23 August 2019. The verb 'to gaslight,' voted by the American Dialect Society in 2016 as the word most useful/likely to succeed, and defined as “to psychologically manipulate a person into questioning their own sanity,” derives from MGM’s 1944 movie, directed by George Cukor.
  7. Wilkinson, Alissa (21 January 2017). "What is gaslighting? The 1944 film Gaslight is the best explainer". Vox. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 January 2017. สืบค้นเมื่อ 21 January 2017. to understand gaslighting is to go to the source. George Cukor’s Gaslight. The term 'gaslighting' comes from the movie.
  8. Thomas, Laura (2018). "Gaslight and gaslighting". The Lancet. Psychiatry. 5 (2): 117–118. doi:10.1016/S2215-0366(18)30024-5. PMID 29413137. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 November 2022. สืบค้นเมื่อ 1 February 2018.
  9. Sweet, Paige L. "How Gaslighting Manipulates Reality". Scientific American. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2022. สืบค้นเมื่อ 30 May 2022.
  10. 10.0 10.1 10.2 Yagoda, Ben (12 January 2017). "How Old Is 'Gaslighting'?". The Chronicle of Higher Education. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 August 2019. สืบค้นเมื่อ 2 June 2017.
  11. Metcalf, Allan. "2016 Word of the Year" (PDF). American Dialect Society. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2021. สืบค้นเมื่อ 6 January 2017. most useful word of the year
  12. 12.0 12.1 12.2 "Word of the Year 2018: Shortlist". Oxford University Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2019. สืบค้นเมื่อ 15 November 2018.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 "Gaslighting at Work—and What to Do About It". Harvard Business Review. 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 December 2021. สืบค้นเมื่อ 14 December 2021. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ ":3" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  14. DiGiulio, Sarah (13 July 2018). "What is gaslighting? And how do you know if it's happening to you?". NBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 December 2021. สืบค้นเมื่อ 13 July 2018.
  15. Sarkis, Stephanie (2018). Gaslighting: Recognize Manipulative and Emotionally Abusive People – and Break Free. Da Capo Press. ISBN 978-0-7382-8466-8. OCLC 1023486127.
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 16.5 16.6 Stern PhD, Robin (19 December 2018). "I've counseled hundreds of victims of gaslighting. Here's how to spot if you're being gaslighted. Gaslighting, explained". Vox. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 December 2018. สืบค้นเมื่อ 3 January 2019.
  17. 17.0 17.1 17.2 Holland, Brenna (2 September 2021). "For Those Who Experience Gaslighting, the Widespread Misuse of the Word Is Damaging". Well + Good. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2021. สืบค้นเมื่อ 2 September 2021.
  18. Shengold, Leonard L. (1979). "Child Abuse and Deprivation: Soul Murder". Journal of the American Psychoanalytic Association. 27 (3): 542. doi:10.1177/000306517902700302. PMID 512287. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 April 2023. สืบค้นเมื่อ 19 April 2023. Weinshel, in a series of unpublished papers, designates a conscious intent to brainwash as 'gaslighting.'
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 Lund, C. A.; Gardiner, A .Q. (1977). "The Gaslight Phenomenon: An Institutional Variant". British Journal of Psychiatry. 131 (5): 533–34. doi:10.1192/bjp.131.5.533. PMID 588872. Closed access
  20. Gass PhD, Gertrude Zemon; Nichols EdD, William C. (18 March 1988). "Gaslighting: A marital syndrome". Contemp Family Therapy. 8: 3–16. doi:10.1007/BF00922429. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 October 2021. สืบค้นเมื่อ 24 August 2021.
  21. Barlow, D. H. (January 2010). "Special section on negative effects from psychological treatments". American Psychologist. 65 (1): 13–49. doi:10.1037/a0015643. PMID 20063906.
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 22.4 Dorpat, Theodore L. (1996). Gaslighting, the Double Whammy, Interrogation, and Other Methods of Covert Control in Psychotherapy and Psychoanalysis. Northvale, New Jersey: Jason Aronson. ISBN 978-1-56821-828-1. OCLC 34548677. สืบค้นเมื่อ 24 April 2021. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Dorpat1996" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  23. Basseches, Michael (April 1997). "A developmental perspective on psychotherapy process, psychotherapists' expertise, and 'meaning-making conflict' within therapeutic relationships: part II". Journal of Adult Development. 4 (2): 85–106. doi:10.1007/BF02510083. Basseches coined the term "theoretical abuse" as a parallel to "sexual abuse" in psychotherapy.
  24. Jacobson, Neil S.; Gottman, John M. (1998). When Men Batter Women: New Insights into Ending Abusive Relationships. Simon and Schuster. pp. 129–132. ISBN 978-0-684-81447-6. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
  25. Miano, Paola; Bellomare, Martina; Genova, Vincenzo Giuseppe (2 September 2021). "Personality correlates of gaslighting behaviours in young adults". Journal of Sexual Aggression. 27 (3): 285–298. doi:10.1080/13552600.2020.1850893. ISSN 1355-2600. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2024. สืบค้นเมื่อ 19 February 2022.
  26. Stout, Martha (14 March 2006). The Sociopath Next Door. Random House Digital. pp. 94–95. ISBN 978-0-7679-1582-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2024. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
  27. Nelson, Hilde L. (March 2001). Damaged identities, narrative repair. Cornell University Press. pp. 31–32. ISBN 978-0-8014-8740-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2024. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
  28. 28.0 28.1 Ellen, Barbara (6 July 2019). "In accusing all creeps of gaslighting, we dishonour the real victims". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2019. สืบค้นเมื่อ 6 July 2019.
  29. Vargas, Theresa (2 April 2022). "Women are sharing their 'medical gaslighting' stories. Now what?". The Washington Post. Washington, D.C. ISSN 0190-8286. OCLC 1330888409. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2022. สืบค้นเมื่อ 5 October 2022.
  30. Newman-Toker, David E.; Moy, Ernest; Valente, Ernest; Coffey, Rosanna; Hines, Anika L. (June 2014). "Missed diagnosis of stroke in the emergency department: a cross-sectional analysis of a large population-based sample". Diagnosis (Berlin, Germany). 1 (2): 155–166. doi:10.1515/dx-2013-0038. ISSN 2194-8011. PMC 5361750. PMID 28344918.
  31. Hamberg, Katarina; Risberg, Gunilla; Johansson, Eva E.; Westman, Göran (September 2002). "Gender bias in physicians' management of neck pain: a study of the answers in a Swedish national examination". Journal of Women's Health & Gender-Based Medicine. 11 (7): 653–666. doi:10.1089/152460902760360595. ISSN 1524-6094. PMID 12396897. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2023. สืบค้นเมื่อ 17 March 2023.
  32. Bleicken, Benjamin; Hahner, Stefanie; Ventz, Manfred; Quinkler, Marcus (June 2010). "Delayed diagnosis of adrenal insufficiency is common: a cross-sectional study in 216 patients". The American Journal of the Medical Sciences. 339 (6): 525–531. doi:10.1097/MAJ.0b013e3181db6b7a. ISSN 1538-2990. PMID 20400889. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2023. สืบค้นเมื่อ 17 March 2023.
  33. Simon, George (8 November 2011). "Gaslighting as a Manipulation Tactic: What It Is, Who Does It, and Why". CounsellingResource.com: Psychology, Therapy & Mental Health Resources. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2024. สืบค้นเมื่อ 13 April 2018.
  34. 34.0 34.1 Welch, Bryant (2008). State of Confusion: Political Manipulation and the Assault on the American Mind. New York: Thomas Dunne Books, St. Martin's Press. ISBN 978-0-312-37306-1. OCLC 181601311.
  35. Ghitis, Frida. "Donald Trump is 'gaslighting' all of us". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 April 2021. สืบค้นเมื่อ 16 February 2017.
  36. Gibson, Caitlin (27 January 2017). "What we talk about when we talk about Donald Trump and 'gaslighting'". The Washington Post. ISSN 0190-8286. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2020. สืบค้นเมื่อ 29 January 2017.
  37. Carol Anne Constabile-Heming & Valentina Glajar & Alison Lewis (2021). "Citizen informants, glitches in the system, and the limits of collaboration: Eastern experiences in the cold war era". ใน Andreas Marklund & Laura Skouvig (บ.ก.). Histories of Surveillance from Antiquity to the Digital Era: The Eyes and Ears of Power. Routledge.
  38. 38.0 38.1 Chetwynd, Josh (2017). Totally Scripted: Idioms, Words, and Quotes From Hollywood to Broadway That Have Changed the English Language. Lyons Press.
  39. "'Frasier': Fortysomething". 1994. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 November 2022. สืบค้นเมื่อ 15 September 2022.
  40. Sakamoto, John (29 February 2000). "The Steely Dan Q&A". The Steely Dan Reader. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2021. สืบค้นเมื่อ February 28, 2015. Sakamoto: What does the title of the first track, 'Gaslighting Abbie,' mean? Fagen: ..the term 'to gaslight' comes from the film Gaslight.... So it’s really a certain kind of mind fucking, or messing with somebody’s head by.... Becker: That's sort of the rich old tradition of gaslighting which we were invoking.
  41. Haider, Arwa. "A cultural history of gaslighting". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2020. สืบค้นเมื่อ 22 November 2019.
  42. Watts, Jay (5 April 2016). "The Archers domestic abuse is classic 'gaslighting' – very real, little understood". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2021. สืบค้นเมื่อ 22 April 2017.
  43. Yahr, Emily (10 October 2016). "'The Girl on the Train': Let's discuss that twisted ending". The Washington Post. ISSN 0190-8286. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 November 2020. สืบค้นเมื่อ 13 April 2018.
  44. Shendruk, Amanda; Ossola, Alexandra (11 September 2019). "The memo from Harvey Weinstein's lawyer is a roadmap for how accused predators stay in power". Quartz. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 September 2019. สืบค้นเมื่อ 11 September 2019.
  45. "'Days of Our Lives': Will Gabi Hernandez Face Any Consequences for Her Actions?". 17 November 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2021. สืบค้นเมื่อ 26 January 2019.
  46. Crone, Madeline (6 March 2020). "Behind the Song: Dixie Chicks, 'Gaslighter'". American Songwriter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2022. สืบค้นเมื่อ 12 December 2022.
  47. "Word of the Year 2022". www.merriam-webster.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 November 2022. สืบค้นเมื่อ 29 November 2022.
  48. Mina, Mikhail (20 April 1998). "In Retrospect". Nature. 392 (6679): 884. Bibcode:1998Natur.392..884M. doi:10.1038/31855. ISSN 1476-4687. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2023. สืบค้นเมื่อ 6 July 2023.