การสังหารหมู่ที่กะล่าโก้น
หน้าตา
การสังหารหมู่ที่กะล่าโก้น | |
---|---|
เป็นส่วนหนึ่งของ การทัพพม่า ในสงครามโลกครั้งที่ 2 | |
นักโทษชาวญี่ปุ่นบนคอกจำเลยในการพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามครั้งแรกที่จัดขึ้นในย่างกุ้ง ประเทศพม่า | |
สถานที่ | กะล่าโก้น ประเทศพม่า |
พิกัด | 16°32′57″N 97°43′46″E / 16.54917°N 97.72944°E |
วันที่ | 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 |
เป้าหมาย | ประชาชนในหมู่บ้าน |
ประเภท | การสังหารหมู่, การข่มขืนในสงคราม, การทรมาน |
ตาย | 600–1,000 คน |
ผู้ก่อเหตุ | กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น
|
เหตุจูงใจ | ลงโทษจากการช่วยเหลือหน่วยจู่โจมของอังกฤษ |
การสังหารหมู่ที่กะล่าโก้น (Kalagong massacre) เกิดขึ้นเมื่อ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 ที่กะล่าโก้น ประเทศพม่า โดยทหารญี่ปุ่นที่ได้รับคำสั่งจากนายพลเซเอ ยามาโมโตะ ให้เข้ามากวาดล้างกองโจรตามที่มีข่าวว่ามีทหารอังกฤษโดดร่มเข้ามา ทหารญี่ปุ่นได้เข้าปิดล้อมหมู่บ้าน ผู้หญิงและเด็กถูกข่มขืน แต่ไม่ได้ข่าวคราวเกี่ยวกับทหารที่ลอบเข้ามา ทหารญี่ปุ่นจึงฆ่าหมดทั้งหมู่บ้าน คาดว่ามีคนตายประมาณ 600 ถึง 1,000 คน[1]
ชาวญี่ปุ่นกลุ่มนั้นลักพาตัวผู้รอดชีวิตหญิง 10 คนที่ยอมทำหน้าที่เป็น "สายลับ" แม้ว่าจะมีคนเชื่อว่าพวกเธอถูกใช้เป็นนางบำเรอ โดยมีสองคนที่หลบหนีได้ ส่วนที่เหลือหายตัวไป[1][2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Lingen, Kerstin von (2016-11-04). War Crimes Trials in the Wake of Decolonization and Cold War in Asia, 1945-1956: Justice in Time of Turmoil (ภาษาอังกฤษ). Springer. ISBN 978-3-319-42987-8.
- ↑ "Kalagon Trial". legal-tools.org.
ข้อมูล
[แก้]- Raymond Lamont-Brown, 1998, Kempeitai: Japan's Dreaded Military Police, Sutton Publishing, Phoenix Mill, England. ISBN 0-7509-2806-9.
- Christine Sherman, 2001, War Crimes: Japan's World War II Atrocities, Turner Publishing Company. ISBN 978-1-56311-728-2.