การสวนทวารด้วยกาแฟ
การสวนทวารด้วยกาแฟ เป็นหัตถการที่มีที่มาจากความเชื่อทางการแพทย์อย่างหนึ่ง ทำโดยใส่กาแฟเข้าไปทางทวารเพื่อ "ล้าง" ลำไส้ใหญ่และไส้ตรง แม้จะเป็นหัตถการที่มีบันทึกชัดเจนว่าทำกันมานาน แต่วงการแพทย์ส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับว่ามีประโยชน์ และอาจมีอันตรายได้มาก[1][2]
ประวัติ
[แก้]ความเชื่อเรื่องการล้างทวารเพื่อรักษาโรคมีย้อนไปจนถึงสมัยอียิปต์ แต่การนำกาแฟมาใช้เป็น "สารดูดพิษ" เพื่อการนี้นั้นเป็นความคิดที่ค่อนข้างใหม่ โดยมีการคิดค้นใน ค.ศ. 1917 และปรากฏใน Merck Manual จนถึง ค.ศ. 1972[3]
ค.ศ. 1920 นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันศึกษาผลกระทบของคาเฟอีนต่อท่อน้ำดีและลำไส้เล็ก ดร. มักซ์ แกร์โซน เสนอว่า การสวนทวารด้วยกาแฟมีผลด้านดีต่อระบบทางเดินอาหาร แกร์โซนว่า การสวนทวารด้วยกาแฟมีผลดีต่อผู้ป่วยวัณโรค และในภายหลังพบในผู้ป่วยมะเร็งด้วย เขาอ้างว่าไม่เหมือนกับการสวนทวารด้วยน้ำเกลือ คาเฟอีนจะเข้าไปผ่านกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้เล็ก แล้วเข้าไปในตับ ซึ่งการนี้ เขาว่า เป็นการล้างมากกว่าระบบทางเดินอาหารและขับพิษและน้ำดียิ่งกว่าการสวนทวารแบบธรรมดา เขามักบอกคนไข้ของเขาว่า "การสวนทวารด้วยกาแฟมิใช่เพื่อการทำงานของลำไส้ แต่เพื่อกระตุ้นตับ
ประโยชน์ตามที่อ้าง
[แก้]มีการเสนอว่าการล้างลำไส้ด้วยกาแฟมีประโยชน์ในการป้องกันมะเร็ง แต่ยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันผล นอกจากนี้ การสวนทวารด้วยกาแฟยังได้พยายามถูกใช้เพื่อรักษาโรคอ้วนและโรคท้องผูก ผู้สนับสนุนอ้างว่าคาเฟอีนจะถูกดูดซึมในลำไส้ใหญ่และ "ล้างพิษ" ผลิตภัณฑ์เมตาบอลิกของเนื้องอกนั้น[4]
อันตราย
[แก้]การสวนทวารด้วยกาแฟอาจทำให้เสียชีวิตได้จากผลข้างเคียงหลายอย่าง เช่น การติดเชื้อ ความไม่สมดุลของเกลือแร่ ลำไส้ใหญ่อักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด และหัวใจวาย[4][5][6][7][8][9] ถ้าใส่กาแฟที่ร้อนเกินไปหรือเร็วเกินไป อาจทำให้ลำไส้ไหม้[10] หรือทะลุได้[11]
มีรายงานจำนวนมากเกี่ยวกับการเสียชีวิตจากการสวนทวารด้วยกาแฟ สาเหตุการเสียชีวิตมาจากภาวะเกลือแร่ไม่สมดุลเช่นโซเดียมต่ำ ภาวะขาดน้ำ มีน้ำรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอดและช่องเยื่อหุ้มหัวใจ[7][12] ปัจจุบันองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกากำหนดว่างานวิจัยใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสวนทวารด้วยกาแฟ อาสาสมัครจะต้องได้รับการแจ้งเสมอว่าการสวนทวารด้วยกาแฟนี้มีความเสี่ยงถึงเสียชีวิต[13][14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Ernst E (June 1997). "Colonic irrigation and the theory of autointoxication: a triumph of ignorance over science". J. Clin. Gastroenterol. 24 (4): 196–8. doi:10.1097/00004836-199706000-00002. PMID 9252839.
- ↑ Shils ME, Hermann MG (April 1982). "Unproved dietary claims in the treatment of patients with cancer". Bull N Y Acad Med. 58 (3): 323–40. PMC 1805327. PMID 7052177.
- ↑ Moss, Ph.D., Ralph W. "The Cancer Chronicles" 2nd ed. Austin, Texas: 1994. (6-7)
- ↑ 4.0 4.1 PMID 19077527 (PMID 19077527)
Citation will be completed automatically in a few minutes. Jump the queue or expand by hand - ↑ "Colon Therapy". American Cancer Society. 2008-01-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-08. สืบค้นเมื่อ 2011-05-13.
- ↑ PMID 6710988 (PMID 6710988)
Citation will be completed automatically in a few minutes. Jump the queue or expand by hand - ↑ 7.0 7.1 PMID 7420666 (PMID 7420666)
Citation will be completed automatically in a few minutes. Jump the queue or expand by hand - ↑ doi:10.1038/ajg.2009.505
This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand - ↑ "Livingston-Wheeler Therapy". Memorial Sloan–Kettering Cancer Center. 2011-05-09. สืบค้นเมื่อ 2011-05-13.
- ↑ PMID 18657805 (PMID 18657805)
Citation will be completed automatically in a few minutes. Jump the queue or expand by hand - ↑ PMID 10613482 (PMID 10613482)
Citation will be completed automatically in a few minutes. Jump the queue or expand by hand - ↑ Memorial Sloan-Kettering Cancer Center, "Gerson Regimen". Accessed 17 November 2017.
- ↑ FDA, "Human Research Subject Protections Under Multiple Project Assurance (MPA) M-1356 and Federalwide Assurance FWA-2636", 2002.
- ↑ Atwood, Kimball, Science-Based Medicine, "The Ethics of “CAM” Trials: Gonzo (Part I)". Accessed 11 July 2012.