การศึกษาเพื่อความเป็นไท
คําขวัญ | การศึกษา สิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม |
---|---|
ก่อตั้ง | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556 |
ประเภท | องค์การไม่แสวงหาผลกำไร |
สถานะตามกฎหมาย | ดำเนินการ |
วัตถุประสงค์ | ปฏิรูประบบการศึกษาไทย |
ที่ตั้ง | |
เลขานุการคนแรก | เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล |
เลขานุการคนปัจจุบัน | - |
เว็บไซต์ | elsiam.org |
กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท (อังกฤษ: Education for Liberation of Siam; ELS) เป็นกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมที่ต้องการปฏิรูประบบการศึกษาไทย[1] ซึ่งก่อตั้งในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556 โดยเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล[2] ผู้เป็นเลขานุการคนแรกของกลุ่ม ตามมาด้วยณัฐนันท์ วรินทรเวช[3]
ปรัชญา
[แก้]สมาชิกในกลุ่มยอมรับว่ามีอุดมการเดียวกันคือ การปฏิรูปการศึกษาในประเทศไทยเป็นสิ่งจำเป็น ปรัชญาของกลุ่มนี้คือ การศึกษาควรเน้นย้ำถึงคุณลักษณะของมนุษย์ ความเชื่อของนักเรียนและครู การให้เกียรติต่อมนุษยชาติและความรู้ในปัจเจกบุคคล กลุ่มนี้กล่าวว่าการดำรงอยู่ของกลุ่มเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความทุ่มเทและความมุ่งมั่นของเยาวชนไทยที่ต่อต้านการใช้ระบบการศึกษามาเป็นโฆษณาชวนเชื่อหรือวาระทางการเมืองที่ซ่อนเร้น[4] กลุ่มนี้ยังต่อต้านความรุนแรงของครู[5] และการมีเพศสัมพันธ์เพื่อเอาเกรด[6]ในโรงเรียนไทยด้วย
กิจกรรม
[แก้]ก่อนหน้าการรัฐประหาร พ.ศ. 2557 ในประเทศไทย กลุ่มนี้จัดงานต่อต้านรัฐประหารข้างหน้าค่ายทหาร โดยเสนอให้ “มอบดอกไม้แสดงความขอบคุณต่อเจ้าหน้าที่ทหารที่ไม่ทำรัฐประหาร"[7][8] จากนั้นในปีเดียวกัน กลุ่มนี้ต่อต้านรัฐบาลทหารไทย[3] และค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการของรัฐบาล ซึ่งเขียนโดยผู้นำรัฐบาลทหาร ประยุทธ์ จันทร์โอชา และนำไปใช้ในหลักสูตรโรงเรียนของรัฐมาหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2557[9][10] นอกจากนี้ กลุ่มนี้ยังบอยคอตการปฏิรูปการศึกษาของคณะรัฐประหารด้วย[11]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Solomon, Niharika Mandhana and Feliz (2020-09-17). "New Generation Presses Thailand's Military and Monarchy to Step Away From Politics". Wall Street Journal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0099-9660. สืบค้นเมื่อ 2020-09-20.
- ↑ "Meet Asia's Newest Young Fighter for Democracy". Time. สืบค้นเมื่อ 2020-09-20.
- ↑ 3.0 3.1 "Education for Liberation of Siam urge junta to reconsider education reform". Prachatai English (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-09-20.
- ↑ "Fall into line, youngsters". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2020-09-20.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Thai schoolgirl learns to smile again after teacher assault". www.yahoo.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-05. สืบค้นเมื่อ 2020-09-20.
- ↑ "Teacher 'demanded sex for grades'". Bangkok Post.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "The great national divide, in and outside the classroom". Prachatai English (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-09-20.
- ↑ "History and Background of ELS". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-07. สืบค้นเมื่อ 2019-12-05.
- ↑ "Thai education to get worse under new charter: youth education reformers". Prachatai English (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-09-20.
- ↑ "Thailand's military rulers look to shape a new generation with behavioural code for schools". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2014-12-09. สืบค้นเมื่อ 2020-09-20.
- ↑ "No anti-coup student activists show up at junta's reform forum". Prachatai English (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-09-20.