การล้อมแฮลิคาร์แนสซัส
การล้อมแฮลิคาร์แนสซัส | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช | |||||||||
ซากปราการเมืองแฮลิคาร์แนสซัส ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
ราชอาณาจักรมาซิโดเนีย | จักรวรรดิอะคีเมนิด | ||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช เฮฟีสเทียน |
โอรอนโตบาเตส เมมนอนแห่งโรดส์ |
การล้อมแฮลิคาร์แนสซัส (อังกฤษ: Siege of Halicarnassus) เป็นการสู้รบระหว่างพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งราชอาณาจักรมาซิโดเนียกับฝ่ายจักรวรรดิเปอร์เซียอะคีเมนิด เกิดขึ้นเมื่อปีที่ 334 ก่อนคริสต์ศักราชที่เมืองแฮลิคาร์แนสซัส (ปัจจุบันคือเมืองโบดรุม (Bodrum) ประเทศตุรกี)
ฝ่ายเปอร์เซียใช้กองทัพเรือยั่วยุพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ซึ่งพระองค์ไม่มีกองเรือไว้ต่อต้าน กองเรือเปอร์เซียแล่นมาที่เมืองแฮลิคาร์แนสซัสเพื่อใช้เป็นเมืองตั้งรับ พิกซอดารัสแห่งแคเรีย (Pixodarus of Caria) สั่งปลดราชินีเอดา (Ada of Caria) พระภคินี (พี่สาว) ของตนเองและปกครองเมืองแทน แต่ไม่นานหลังจากนั้นพิกซอดารัสก็สวรรคต ฝ่ายเปอร์เซียจึงแต่งตั้งโอรอนโตบาเตส (Orontobates) ขึ้นปกครองเมืองต่อ เขาและเมมนอนแห่งโรดส์ (Memnon of Rhodes) ได้ร่วมกันสร้างปราการเพื่อรอรับมือกองทัพมาซิโดเนีย
เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ยกทัพมาถึง พระองค์ได้รับความช่วยเหลือจากราชินีเอดา พระองค์ใช้แผนส่งสายลับเข้าไปเพื่อช่วยเปิดประตูเมือง แต่เกิดการปะทะกันขึ้น ทหารมาซิโดเนียสามารถทลายกำแพงเมืองได้ แต่ฝ่ายเปอร์เซียโต้กลับด้วยเครื่องยิงหิน (catapult) และส่งทหารเข้าต่อสู้ อย่างไรก็ตาม ทหารมาซิโดเนียบุกเข้าเมืองได้สำเร็จ เมื่อเห็นว่าเสียเมืองแล้ว เมมนอนสั่งให้จุดไฟเผาเมืองและถอนทัพออกไป ลมที่พัดแรงยิ่งโหมเปลวไฟให้ลุกลามเผาเกือบทั้งเมือง
หลังยึดเมืองได้ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ได้คืนตำแหน่งเจ้าเมืองให้ราชินีเอดา ราชินีเอดาจึงรับพระเจ้าอเล็กซานเดอร์เป็นบุตรเพื่อรักษาสิทธิ์ผู้สืบทอดหลังพระองค์สวรรคต พระเจ้าอเล็กซานเดอร์เลือกที่จะให้ราชินีเอดาปกครองเมืองต่อไปเพราะพระองค์เป็นที่รักของประชาชนและประชาชนจะไม่ลุกฮือต่อต้านพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ในภายหลัง
อ้างอิง
[แก้]- Paul Cartledge. Alexander the Great: The Hunt for a New Past. Woodstock, NY; New York: The Overlook Press, 2004 (hardcover, ISBN 1-58567-565-2); London: PanMacmillan, 2004 (hardcover, ISBN 1-4050-3292-8); New York: Vintage, 2005 (paperback, ISBN 1-4000-7919-5).