ข้ามไปเนื้อหา

การลักพาตัวและการฆาตกรรมเคนเนธ บิกลีย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เคนเนธ บิกลีย์
บิกลีย์ (ขวา) กับสมบัติภรรยาของเขาในปี ค.ศ. 1998
เกิดเคนเนธ จอห์น บิกลีย์
22 เมษายน ค.ศ. 1942(1942-04-22)
เสียชีวิต7 ตุลาคม ค.ศ. 2004(2004-10-07) (62 ปี)
แบกแดด ประเทศอิรัก
สาเหตุเสียชีวิตถูกตัดศีรษะ
สัญชาติอังกฤษ/ไอริช
อาชีพวิศวกรโยธา

เคนเนธ จอห์น บิกลีย์ (อังกฤษ: Kenneth John Bigley; 22 เมษายน ค.ศ. 1942 – 7 ตุลาคม ค.ศ. 2004) เป็นวิศวกรโยธาชาวอังกฤษผู้ซึ่งถูกลักพาตัวในเขตอัลมันศูรของกรุงแบกแดด ประเทศอิรัก ในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2004 พร้อมกับแจ็ก เฮนส์ลีย์ และยูจีน อาร์มสตรอง เพื่อนร่วมงานของเขา ซึ่งทั้งคู่เป็นพลเมืองสหรัฐ[1] ชายทั้งสามคนทำงานให้กับกัลฟ์ซัพพลายแอนด์คอมเมอร์เชียลเซอร์วิส ซึ่งเป็นบริษัทของคูเวตที่ทำงานเกี่ยวกับโครงการฟื้นฟูในอิรัก พวกเขารู้ว่าบ้านของพวกเขากำลังถูกจับตามองอยู่และตระหนักว่าพวกเขาตกอยู่ในอันตรายอย่างใหญ่หลวง เมื่อยามเฝ้าบ้านชาวอิรักของพวกเขาแจ้งว่าเขากำลังออกจากงานเนื่องจากถูกคุกคามโดยกองกำลังติดอาวุธ เพื่อปกป้องคนงานชาวอเมริกันและชาวอังกฤษ บิกลีย์และชาวอเมริกันอีกสองคนตัดสินใจว่ามันคุ้มค่ากับความเสี่ยงและยังคงอาศัยอยู่ในบ้านต่อไป กระทั่งทั้งหมดถูกลักพาตัวและถูกตัดศีรษะ

ในวันที่ 18 กันยายน เตาฮีดและญิฮาด (พระเจ้าและญิฮาดมีหนึ่งเดียว) ซึ่งเป็นกลุ่มอิสลามหัวรุนแรง ที่นำโดยอะบู มูศอบ อัซซอร์กอวี ชาวจอร์แดน ได้เปิดตัววิดีโอของชายสามคนที่กำลังคุกเข่าต่อหน้าธงเตาฮีดและญิฮาด ผู้ลักพาตัวกล่าวว่าพวกเขาจะฆ่าคนภายใน 48 ชั่วโมงหากข้อเรียกร้องของพวกเขาสำหรับการปล่อยตัวนักโทษหญิงชาวอิรักที่กองกำลังพันธมิตรได้จับไว้ไม่ได้รับการยินยอม อาร์มสตรองถูกฆ่าตายเมื่อวันที่ 20 กันยายนเมื่อสิ้นสุดกำหนดเวลา ส่วนเฮนส์ลีย์ในอีก 24 ชั่วโมงต่อมา[1] และบิกลีย์ในอีกสองสัปดาห์ต่อมา แม้จะมีการพยายามแทรกแซงของสภามุสลิมแห่งอังกฤษและการแทรกแซงโดยอ้อมของรัฐบาลอังกฤษ ทว่าวิดีโอการสังหารได้ถูกโพสต์บนเว็บไซต์และบล็อก

การจับกุมและการต่อรองเพื่อปล่อยตัว

[แก้]

หลังจากอาร์มสตรองและเฮนส์ลีย์ถูกฆ่าตาย รัฐบาลอังกฤษและสื่อต่าง ๆ ได้ตอบสนองด้วยการเปลี่ยนเคราะห์กรรมของบิกลีย์ให้กลายเป็นประเด็นทางการเมืองที่สำคัญของสหราชอาณาจักรในช่วงเวลานี้ ซึ่งนำไปสู่การอ้างว่ารัฐบาลกลายเป็นตัวประกันต่อสถานการณ์ รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ แจ็ก สตรอว์ และนายกรัฐมนตรี โทนี แบลร์ ได้ติดต่อครอบครัวบิกลีย์เป็นการส่วนตัวหลายครั้งเพื่อรับรองว่าทุกอย่างเป็นไปได้ เว้นไว้แต่การเจรจาโดยตรงกับผู้ลักพาตัว มีการรายงานด้วยว่าทีมหน่วยปฏิบัติการพิเศษทางอากาศ (SAS) ได้รับการเตรียมพร้อมในอิรักในภารกิจกู้ภัยที่อาจเป็นไปได้[ต้องการอ้างอิง]

รัฐบาลอังกฤษออกแถลงการณ์ว่าไม่มีนักโทษหญิงชาวอิรัก และผู้หญิงเพียงสองคนที่ทราบว่าอยู่ในความดูแลของสหรัฐคือนักวิทยาศาสตร์ชาวอิรักที่มีชื่อเสียงสูงสองคน ได้แก่ รีฮาบ ฏอฮา ผู้รับการศึกษาในอังกฤษ และฮูดา ศอลีห์ มาฮ์ดี อัมมาช ผู้รับการศึกษาในสหรัฐ ผู้หญิงทั้งสองเข้าร่วมโครงการอาวุธชีวภาพของอิรักตามการตรวจสอบอาวุธของสหประชาชาติ ซึ่งก่อนหน้านี้รายงานข่าวระบุว่าผู้หญิงอิรักคนอื่น ๆ ถูกควบคุมตัวในสหรัฐจริง แต่ไม่มีใครรู้ว่ารายงานเหล่านี้ล้าสมัยในช่วงเวลาของการลักพาตัวของบิกลีย์เพียงใด[2] รัฐบาลชั่วคราวของอิรักระบุว่าสามารถปล่อยตัวฏอฮาและอัมมาชได้ทันที โดยเน้นว่าสิ่งนี้กำลังจะเกิดขึ้นอยู่ดี เนื่องจากไม่มีการตั้งข้อหาใด ๆ กับผู้หญิง[ต้องการอ้างอิง]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Timeline: Ken Bigley". BBC News. 8 October 2004. สืบค้นเมื่อ 9 January 2012.
  2. Harding, Luke (20 May 2004). "The other prisoners". The Guardian. London.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]