ข้ามไปเนื้อหา

การริเริ่มเมริดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตราการริเริ่มเมริดา

การริเริ่มเมริดา (สเปน: Iniciativa Mérida; อังกฤษ: Mérida Initiative; เรียกอีกอย่างว่าแผนเม็กซิโกโดยนักวิจารณ์ ในการอ้างอิงถึงแผนโคลอมเบีย) เป็นข้อตกลงความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างสหรัฐ, รัฐบาลเม็กซิโก และประเทศในอเมริกากลาง โดยมีจุดมุ่งหมายในการต่อต้านการค้ายาเสพติด, การก่ออาชญากรรมข้ามชาติ และการฟอกเงิน ความช่วยเหลือประกอบด้วยการฝึกอบรม, อุปกรณ์ และข่าวกรอง

ในการแสวงหาความร่วมมือกับสหรัฐ เจ้าหน้าที่ชาวเม็กซิโกชี้ให้เห็นว่าการค้ายาเสพติดที่ผิดกฎหมายเป็นปัญหาร่วมกันในความจำเป็นของการแก้ปัญหาร่วมกัน และสังเกตว่าการจัดหาเงินทุนสำหรับผู้ค้ายาเสพติดชาวเม็กซิโกส่วนใหญ่มาจากผู้บริโภคยาเสพติดชาวอเมริกัน เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายสหรัฐคาดการณ์ว่ามีเงินจำนวน 12,000 ถึง 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีไหลจากสหรัฐไปสู่ผู้ค้าขายชาวเม็กซิโก และนั่นเป็นเพียงเงินสดซึ่งไม่รวมเงินที่ส่งโดยการโอนเงินผ่านธนาคาร[1] หน่วยงานรัฐบาลอื่น ๆ รวมทั้งสำนักงานความรับผิดชอบรัฐบาล และศูนย์ข่าวกรองยาเสพติดแห่งชาติ ได้คาดการณ์ว่าประเทศเม็กซิโกมีรายได้จากการขายยาเสพติดเพิ่มขึ้น 23,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีจากสหรัฐ[2][3]

เจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐทราบว่าอดีตประธานาธิบดีเม็กซิโก เฟลิเป กัลเดรอน มีความเต็มใจที่จะทำงานร่วมกับสหรัฐอย่างเป็นประวัติการณ์ในประเด็นเรื่องความปลอดภัย, อาชญากรรม และยาเสพติด[4] การริเริ่มได้รับการประกาศเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 2007 และได้ลงนามในกฎหมายเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2008 ซึ่งในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2017 ได้มีการส่งมอบความช่วยเหลือเมริดาจำนวน 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐไปยังประเทศเม็กซิโก รวมถึงอากาศยาน 22 ลำ[5]

ภูมิหลัง

[แก้]
แก๊งค้ายาเสพติดและเขตอิทธิพลของพวกเขา ณ ปี ค.ศ. 2008

เม็กซิโกยังคงเป็นประเทศที่มีการขนส่งและไม่ใช่ประเทศที่ผลิตโคเคน ส่วนการผลิตกัญชาและเมแทมเฟตามีนนั้นเกิดขึ้นในเม็กซิโก โดยได้รับการประเมินไว้ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ของเมแทมเฟตามีนตามท้องถนนในสหรัฐ[6] ในขณะที่มีการลักลอบนำเข้ากัญชาปีละ 1,100 เมตริกตันจากประเทศเม็กซิโก[7]

ในปี ค.ศ. 1990 มีเพียงแค่ครึ่งเดียวของโคเคนที่นำเข้ามาในสหรัฐโดยผ่านเม็กซิโก ภายในปี ค.ศ. 2007 ได้มีการเพิ่มขึ้นมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐประเมินไว้[8] แม้ว่าความรุนแรงระหว่างแก๊งค้ายายาเสพติดจะเกิดขึ้นมานานก่อนที่สงครามจะเริ่มขึ้น รัฐบาลก็ได้ใช้กองกำลังตำรวจในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 ซึ่งได้ผลเพียงเล็กน้อย ครั้นแล้ว ได้มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 2006 เมื่อประธานาธิบดี เฟลิเป กัลเดรอน ที่ได้รับการเลือกมาใหม่ได้ส่งกองกำลังสหพันธรัฐ 6,500 คนไปยังรัฐมิโชอากังเพื่อยุติความรุนแรงของยาเสพติดที่นั่น การกระทำนี้ถือได้ว่าเป็นการตอบโต้สำคัญครั้งแรกที่เกิดขึ้นกับปฏิบัติการของแก๊งค้ายา และผู้คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามระหว่างรัฐบาลกับแก๊งค้ายาเสพติด[9] เมื่อเวลาผ่านไป กัลเดรอนยังคงเพิ่มการศึกต่อต้านยาเสพติดของเขา ซึ่งขณะนี้มีกองกำลังกว่า 25,000 คนที่เกี่ยวข้อง

ในช่วงการบริหารของประธานาธิบดีกัลเดรอน รัฐบาลเม็กซิโกใช้เงินประมาณ 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในการศึก 18 เดือนเพื่อต่อต้านแก๊งค้ายา[10] ประมาณว่าในปี ค.ศ. 2006 มีผู้เสียชีวิตจากความรุนแรงที่เกี่ยวกับยาเสพติดประมาณ 2,000 คน,[11] ประมาณ 2,300 คนเสียชีวิตในปี ค.ศ. 2007; มากกว่า 3,725 คนเสียชีวิตในปี ค.ศ. 2008[12][13] ผู้เสียชีวิตหลายคนเป็นสมาชิกแก๊งที่ถูกสังหารโดยคู่แข่งหรือโดยรัฐบาล อีกทั้งบางคนเสียชีวิตโดยที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่[14][15] ส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารอย่างน้อย 450 คนถูกสังหารตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 2007[16]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Americans finance Mexican traffickers". Worldblog.msnbc.msn.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 ธันวาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2013.
  2. Roig-Franzia, Manuel (20 กันยายน 2007). "Mexican Drug Cartels Move North". Washingtonpost.com. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2013.
  3. GAO Report on Drug Control, 25 October 2007 เก็บถาวร 17 กุมภาพันธ์ 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. Thomas Shannon, Assistant Secretary of State เก็บถาวร 5 มกราคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2009. (pdf)
  5. U.S.-Mexican Security Cooperation: The Mérida Initiative and Beyond. (PDF) Clare Ribando Seelke, Kristin Finklea. Congresinal Research Service. June 29, 2017.
  6. "Mexico Security Memo: July 28, 2008". Stratfor. 28 กรกฎาคม 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2012. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2008.
  7. National Drug Threat Assessment 2006 (January 2006). "Marijuana - Strategic findings". U.S. National Drug Intelligence Center.
  8. "Bernd Debusmann: In Mexico's drug wars, bullets and ballads". Reuters.com. 9 กรกฎาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2013.
  9. "Mexican government sends 6,500 to state scarred by drug violence". International Herald Tribune. 11 ธันวาคม 2002.
  10. "Merida Initiative Will Help Battle Drug Trafficking". Newsblaze.com. 1 กรกฎาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2013.
  11. Mexico's drug war death toll tops 2,000 (2006) เก็บถาวร 19 เมษายน 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  12. "No. 2 police officer in Mexican border city shot". MSNBC. 5 พฤศจิกายน 2008. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2013.
  13. Ellingwood, Ken (21 พฤษภาคม 2008). "Mexico drug wars suspected in deadly shootout". Latimes.com. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2013.
  14. More kids caught in Mexico drug-war crossfire เก็บถาวร 12 กรกฎาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  15. Reuters - US, Mexico to meet on drugs in Washington next month (23 October 2008)
  16. Ellingwood, Ken (3 มิถุนายน 2008). "Death toll". Latimes.com. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]