ประธานาธิบดีเม็กซิโก
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ประธานาธิบดี แห่งสหรัฐเม็กซิโก | |
---|---|
Presidente de los Estados Unidos Mexicanos | |
ตราประทับของรัฐบาลกลาง | |
ธงประจำตำแหน่ง | |
ตำแหน่งบริหารของรัฐบาลเม็กซิโก | |
จวน | พระราชวังแห่งชาติ |
ที่ว่าการ | เม็กซิโกซิตี |
ผู้แต่งตั้ง | คะแนนนิยม |
วาระ | 6 ปี (ไม่สามารถต่ออายุได้) |
ตราสารจัดตั้ง | รัฐธรรมนูญเม็กซิโก |
ตำแหน่งก่อนหน้า | จักรพรรดิเม็กซิโก |
สถาปนา | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2367 |
คนแรก | กัวดาลูเป บิกโตเรีย |
รอง | รองประธานาธิบดีเม็กซิโก (ยกเลิก) |
เงินตอบแทน | 208,570.92 เปโซเม็กซิโกต่อเดือน[1] |
เว็บไซต์ | www |
ประธานาธิบดีเม็กซิโก (สเปน: Presidente de México) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐเม็กซิโก (Presidente de los Estados Unidos Mexicanos)[2] เป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลของเม็กซิโก ภายใต้รัฐธรรมนูญของเม็กซิโก ประธานาธิบดีจะเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารของรัฐบาลกลางและเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพเม็กซิโก ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบันคือ คลอเดีย เชนบัม ซึ่งเข้ารับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567
ตำแหน่งประธานาธิบดีเม็กซิโก ถือเป็นตำแหน่งจากการปฏิวัติ ในแง่ที่ว่าอำนาจของตำแหน่งได้มาจากรัฐธรรมนูญฉบับปฏิวัติ พ.ศ. 2460 มรดกอีกประการหนึ่งของการปฏิวัติเม็กซิโก คือการห้ามผู้ที่ดำรงตำแหน่งนี้จนครบวาระลงสมัครเลือกตั้งใหม่ ประธานาธิบดีเม็กซิโกมีวาระการดำรงตำแหน่งเพียง 6 ปีเท่านั้น ซึ่งเรียกว่า เซกเซนิโอ (Sexenio) ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งนี้จนครบวาระแล้ว (แม้จะรักษาการแทนก็ตาม) จะไม่ได้รับอนุญาตให้ดำรงตำแหน่งต่ออีก รัฐธรรมนูญและตำแหน่งประธานาธิบดีเม็กซิโกจึงมีความเกี่ยวข้องกันค่อนข้างมาก
ข้อกำหนดการดำรงตำแหน่ง
[แก้]หมวด 3 ของลักษณะ 3 ในรัฐธรรมนูญเม็กซิโกเกี่ยวข้องกับฝ่ายบริหารของรัฐบาลและกำหนดอำนาจของประธานาธิบดีตลอดจนคุณสมบัติสำหรับผู้ที่จะดำรงตำแหน่ง ประธานาธิบดีจะได้รับมอบ "อำนาจบริหารสูงสุดของสหภาพ"
มาตรา 82 ของรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่าผู้ที่จะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- เป็นพลเมืองเม็กซิโกโดยการเกิด (mexicano por nacimiento) สามารถใช้สิทธิความเป็นพลเมืองได้อย่างเต็มที่ และมีพ่อหรือแม่อย่างน้อยคนใดคนหนึ่งเป็นพลเมืองเม็กซิโกโดยการเกิด
- เป็นผู้อยู่อาศัยในเม็กซิโกเป็นเวลาอย่างน้อย 20 ปี
- มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีในขณะที่มีการเลือกตั้ง
- เป็นผู้อยู่อาศัยในเม็กซิโกตลอดทั้งปีก่อนการเลือกตั้ง (แต่การอยู่นอกประเทศเป็นเวลา 30 วันหรือน้อยกว่านั้นไม่ถือว่าขาดระยะการอยู่อาศัย)
- ไม่เป็นนักบวชหรือศาสนาจารย์ของศาสนจักรหรือลัทธินิกายใด ๆ
- ไม่รับราชการทหารในช่วง 6 เดือนก่อนการเลือกตั้ง
- ไม่เป็นรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีช่วยว่าการ อัยการสูงสุด ผู้ว่าการรัฐ หรือหัวหน้ารัฐบาลเม็กซิโกซิตี เว้นแต่ว่าจะได้ "ปลีกจากตำแหน่ง" (ลาออกหรือได้รับอนุญาตให้ลางานถาวร) อย่างน้อย 6 เดือนก่อนการเลือกตั้ง
- ยังไม่เคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี รวมทั้งในฐานะผู้รักษาการแทนประธานาธิบดี
การห้ามอดีตประธานาธิบดีเข้าร่วมการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งใด ๆ เกิดขึ้นย้อนหลังไปถึงผลพวงของ พอร์ฟิริอาโต้ ที่มาจากการปฏิวัติเม็กซิโก ซึ่งปะทุขึ้นหลังจาก ปอร์ฟิริโอ ดิอัซ ได้รับชัยชนะอย่างฉ้อฉลในการเลือกตั้ง 7 ครั้งติดต่อกัน[3] มันยังคงฝังแน่นอยู่ในการเมืองของเม็กซิโก แม้ว่าตำแหน่งอื่น ๆ ได้รับการผ่อนปรนลงบ้างแล้วก็ตาม โดยในปี พ.ศ. 2557 มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้นายกเทศมนตรี สมาชิกรัฐสภา และวุฒิสมาชิกสามารถดำรงตำแหน่งติดต่อกันเป็นสมัยที่ 2 ได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่และวุฒิสมาชิกถูกห้ามไม่ให้มีการเลือกตั้งใหม่ติดต่อกัน[4] อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งประธานาธิบดีก็ยังคงถูกห้ามจากการเลือกตั้งครั้งใหม่ตามเดิม
รัฐธรรมนูญเม็กซิโกยังไม่ได้มีการกำหนดคุณสมบัติทางวิชาการอย่างเป็นทางการเพื่อดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี อย่างไรก็ตามประธานาธิบดีส่วนใหญ่ในช่วงศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 มีอาชีพหนึ่งในสองสาขา ได้แก่ กองกำลังติดอาวุธ (โดยทั่วไปคือกองทัพ) หรือกฎหมาย ประธานาธิบดีมานูเอล อาบิลา กามาโช (พ.ศ. 2483-2489) เป็นประธานาธิบดีคนสุดท้ายที่เป็นนายทหารอาชีพ ผู้ดำรงตำแหน่งต่อจากเขาส่วนใหญ่เป็นทนายความ ในความเป็นจริงประธานาธิบดีทุกคนระหว่างปี พ.ศ. 2501 ถึง พ.ศ. 2531 จบการศึกษาจากโรงเรียนกฎหมาย ประธานาธิบดีซาลินัส (พ.ศ. 2531-2537) และเซดิโย (พ.ศ. 2537-2543) ต่างก็ได้รับการศึกษาให้เป็นนักเศรษฐศาสตร์ ตั้งแต่ช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ระบอบประชาธิปไตย ประธานาธิบดีมีพื้นฐานทางวิชาการที่กว้างขึ้น แม้ว่าประธานาธิบดีกัลเดรอน (พ.ศ. 2549–2555) และเปญญา นิเอโต (2555–2561) ต่างก็เป็นทนายความ แต่ก็ยังมีประธานาธิบดีบิเซนเต ฟอกซ์ (พ.ศ. 2543–2549) ที่ศึกษาด้านบริหารธุรกิจ และอันเดรส มานูเอล โลเปซ โอบราดอร์ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันก็ศึกษาด้านรัฐศาสตร์
การเลือกตั้งประธานาธิบดี
[แก้]วาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเม็กซิโกกำหนดไว้ที่ 4 ปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2364 ถึง พ.ศ. 2447 เมื่อประธานาธิบดี ปอร์ฟิริโอ ดิอัซ ขยายเวลาเป็น 6 ปีเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของเม็กซิโก และหลังจากนั้นก็มีการย้อนกลับไปเป็น 4 ปีอีกครั้งในปี พ.ศ. 2460 ถึง พ.ศ. 2471 หลังจากมีการใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งมีการยกเลิกการเปลี่ยนแปลงที่กระทำโดย ปอร์ฟิริโอ ดิอัซ ในปี พ.ศ. 2447
และในที่สุด วาระการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีถูกกำหนดไว้ที่ 6 ปีอีกครั้งในปี พ.ศ. 2471 และยังคงไม่เปลี่ยนแปลงตั้งแต่นั้นมา ประธานาธิบดีได้รับการเลือกตั้งโดยการลงคะแนนเสียงโดยตรงที่เป็นที่นิยมและเป็นสากล ใครก็ตามที่ชนะคะแนนเสียงส่วนใหญ่ของประเทศก็จะได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
อันเดรส มานูเอล โลเปซ โอบราดอร์ ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ได้รับเลือกในปี พ.ศ. 2561 ด้วยคะแนนนิยม 53 เปอร์เซ็นต์ ในปี พ.ศ. 2561[5] อดีตประธานาธิบดีคนล่าสุด เอนริเก เปญญา นิเอโต ได้รับคะแนนนิยม 38 เปอร์เซ็นต์ ในปี พ.ศ. 2555[6] อดีตประธานาธิบดี เฟลิเป กัลเดร่อน ชนะด้วยคะแนนเสียง 36.38 เปอร์เซ็นต์ ในการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2549 โดยได้คะแนนมากกว่า อันเดรส มานูเอล โลเปซ โอบราดอร์ คู่แข่งที่มีคะแนนใกล้เคียงที่สุดเพียง 0.56 เปอร์เซ็นต์[7] ในปี พ.ศ. 2543 อดีตประธานาธิบดี บิเซนเต ฟอกซ์ ได้รับเลือกด้วยคะแนนนิยม 43 เปอร์เซ็นต์[8] เอร์เนสโต เซดิโย ได้รับคะแนนนิยม 48.7 เปอร์เซ็นต์ ในปี พ.ศ. 2537[9] และการ์โลส ซาลินัส ญาติของเขาก็ได้รับชัยชนะด้วยคะแนนเสียงข้างมาก 50.4 เปอร์เซ็นต์ ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2531[10]
ตลอดระยะเวลาประวัติศาสตร์ของเม็กซิโกไม่ได้สงบสุข หลังจากการล่มสลายของเผด็จการ ปอร์ฟิริโอ ดิอัซ ในปี พ.ศ.2453 เกิดการปฏิวัติเม็กซิโกขึ้น ซึ่งก็ยังไม่มีรัฐบาลที่มีเสถียรภาพจนกระทั่งปี พ.ศ. 2472 เมื่อผู้นำการปฏิวัติทั้งหมดรวมกันเป็นพรรคการเมืองเดียวเป็น พรรคปฏิวัติแห่งชาติ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคแห่งการปฏิวัติเม็กซิกัน และปัจจุบันคือ พรรคปฏิวัติ สถาบัน (สเปน: Partido Revolucionario Institucional) หรือพรรคพีอาไอ ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปี พ.ศ. 2531 พรรคนี้ก็ได้ปกครองเม็กซิโกในฐานะรัฐเสมือนพรรคเดียว
ในช่วงสิ้นสุดวาระ ผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจะมีการปรึกษาหารือกับผู้นำพรรค เพื่อเลือกผู้สมัครของ พรรคพีอาไอ ในการเลือกตั้งครั้งหน้าโดยใช้กระบวนการที่เรียกว่า "การแตะนิ้ว" (สเปน: el dedazo) จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2531 ผู้สมัครของพรรคพีอาไอ แทบจะมั่นใจได้เลยว่าจะต้องได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งอย่างแน่นอน โดยต้องได้รับชัยชนะด้วยคะแนนเสียงที่มากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์
อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2531 พรรคพีอาไอ เกิดการแตกแยก และฝ่ายที่คัดค้านได้จัดตั้งแนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติขึ้น โดยมีพรรคฝ่ายซ้ายกลางที่เป็นคู่แข่งกัน (ปัจจุบันคือพรรคพีอาดี) ความไม่พอใจต่อพรรคพีอาไอ และคะแนนนิยมของ กูเอาเตมอค คาร์เดนาส ผู้สมัครจากแนวหน้าทำให้เกิดความกังวลว่า การ์โลส ซาลินัส เด กอร์ตาริ ผู้สมัครพรรคพีอาไอ จะไม่ได้เสียงข้างมาก และอาจพ่ายแพ้ ขณะที่กำลังนับคะแนน ระบบตารางก็ปิดตัวลงอย่างลึกลับ รัฐบาลประกาศให้ซาลินัสเป็นผู้ชนะ ซึ่งนำไปสู่การกล่าวหาว่าทุจริตการเลือกตั้ง[11]
การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาของรัฐบาลกลางในปี พ.ศ. 2540 มีสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายค้านเป็นครั้งแรก และการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2543 ทำให้ วินเซนต์ ฟอกซ์ จากพันธมิตร พีเอเอ็น/พีวีอีเอ็ม กลายเป็นผู้สมัครฝ่ายค้านคนแรกที่ชนะการเลือกตั้งนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2454 เป็นต้นมา ความพ่ายแพ้ครั้งประวัติศาสตร์นี้ได้รับการยอมรับในคืนวันเลือกตั้งโดย พีอาไอ ซึ่งมีคำกล่าวของประธานาธิบดีเซดิโย "แม้ว่าสิ่งนี้จะสงบแต่ก็เกรงว่าจะเกิดความรุนแรง" แต่ก็จุดชนวนให้เกิดคำถามเกี่ยวกับบทบาทของประธานาธิบดีในกระบวนการเลือกตั้ง และความรับผิดชอบในการยอมรับความพ่ายแพ้ควรตกเป็นของใครในการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย
ประธานาธิบดีที่ได้รับเลือก
[แก้]หลังการเลือกตั้งประธานาธิบดี พรรคการเมืองอาจต้องเผชิญกับท้าทายจากการเลือกตั้ง ความท้าทายเหล่านี้ได้รับการรับฟังโดยคณะตุลาการการเลือกตั้งแห่งอำนาจตุลาการของรัฐบาลกลาง หลังจากที่ได้ยินและตัดสินพวกเขาแล้ว ศาลจะต้องประกาศการเลือกตั้งเป็นโมฆะหรือรับรองผลการเลือกตั้ง ตามคำตัดสินของพวกเขา เมื่อศาลตัดสินว่าการเลือกตั้งถูกต้อง กอนส์ตันเซียเดมาโยริอา (Constancia de Mayoría) ให้กับผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงข้างมาก จากนั้นผู้สมัครคนนั้นจะกลายเป็นประธานาธิบดีที่ได้รับเลือก การตัดสินใจขั้นสุดท้ายนี้จะเกิดขึ้นในเดือนกันยายน 2 เดือนหลังการเลือกตั้ง[12]
อำนาจประธานาธิบดี
[แก้]รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2460 เป็นรัฐธรรมนูญที่มีการคัดลอกมาจากรัฐธรรมนูญของสหรัฐเป็นส่วนใหญ่ ทำให้มีการแบ่งแยกอำนาจอย่างชัดเจน ในขณะที่ให้อำนาจแก่ประธานาธิบดีที่กว้างกว่าของชาวอเมริกัน
ในช่วง 71 ปีแรกหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2460 ประธานาธิบดีใช้อำนาจควบคุมประเทศเกือบทั้งหมด อำนาจส่วนใหญ่มาจากสถานะผูกขาดโดยพฤตินัยของพรรคพีอาไอ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น พวกเขาเลือกผู้สืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดีได้ โดยการเสนอชื่อผู้สมัครของพรรคพีอาไอ ในการเลือกตั้งครั้งต่อไปเป็นการส่วนตัว นอกจากนี้ กฎที่ไม่ได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรของพรรคพีอาไอ ทำให้สามารถกำหนดเจ้าหน้าที่ของพรรคและผู้สมัครลงไปจนถึงระดับท้องถิ่นได้ พวกเขาจึงมีอิทธิพลสำคัญ (แต่ไม่ใช่เอกสิทธิ์) เหนือการเมืองของประเทศ (อำนาจส่วนหนึ่งต้องแบ่งปันกับสหภาพแรงงานและกลุ่มอื่น ๆ แต่ในฐานะปัจเจกบุคคล) สิ่งนี้และอำนาจตามรัฐธรรมนูญของพวกเขาทำให้นักวิจารณ์การเมืองบางคนอธิบายว่าประธานาธิบดีเป็นเผด็จการ 6 ปี และเรียกระบบนี้ว่า "ประธานาธิบดีแบบจักรวรรดิ" สถานการณ์ส่วนใหญ่ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจนถึงต้นทศวรรษ 1980 เมื่อวิกฤตเศรษฐกิจร้ายแรงสร้างความไม่สบายใจทั้งต่อประชากรและภายในพรรค และอำนาจของประธานาธิบดีก็ไม่แน่นอนอีกต่อไปแต่ยังคงน่าพึงพอใจ
ลักษณะสำคัญของระบบนี้คือประธานาธิบดีคนใหม่ได้รับเลือกโดยตรงจากประธานาธิบดีคนเก่า (เนื่องจากผู้สมัครพรรคพีอาไอ ได้รับการเลือกตั้งแน่นอน) แต่เมื่อพวกเขาขึ้นครองอำนาจ คนเก่าก็สูญเสียอำนาจและอิทธิพลทั้งหมด ("ไม่มีการเลือกตั้งใหม่" เป็นรากฐานที่สำคัญของการเมืองเม็กซิโก) ในความเป็นจริง ประเพณีเรียกร้องให้ผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีค่อย ๆ จางหายไปในเบื้องหลังระหว่างการหาเสียงเพื่อเลือกผู้สืบทอดตำแหน่ง คำสั่งที่ได้รับการปรับปรุงใหม่นี้ช่วยรักษาระเบียบวินัยของพรรคและหลีกเลี่ยงความซบเซาที่เกี่ยวข้องกับบุคคลคนเดียวที่กุมอำนาจมานานหลายทศวรรษ ทำให้มาริโอ บาร์กัส โลซา นักประพันธ์ชาวเปรู เรียกระบบการเมืองของเม็กซิโกว่า "เผด็จการที่สมบูรณ์แบบ" เนื่องจากอำนาจของประธานาธิบดีถูกปิดบังด้วยแนวทางประชาธิปไตย
ด้วยการปฏิรูปประชาธิปไตยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาและการเลือกตั้งที่ยุติธรรมมากขึ้น อำนาจของประธานาธิบดีจึงถูกจำกัดทั้งในแง่ของความเป็นจริงและในนาม วาร์กัส โลซา ระหว่างการบริหารของ ฟอกซ์ เรียกระบบใหม่นี้ว่า "ประชาธิปไตยที่ไม่สมบูรณ์" สิทธิและอำนาจในปัจจุบันของประธานาธิบดีเม็กซิโกได้รับการกำหนด จำกัด และแจกแจงโดยมาตรา 89 ของรัฐธรรมนูญดังต่อไปนี้:
- ประกาศใช้และบังคับใช้กฎหมายที่ตราขึ้นโดยสภาคองเกรส โดยจัดให้อยู่ในขอบเขตการบริหารเพื่อให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
- แต่งตั้งและถอดถอนเลขาธิการแห่งรัฐอย่างอิสระ ถอดเอกอัครราชทูต กงสุลใหญ่และพนักงานอาวุโสของกระทรวงการคลัง แต่งตั้งและถอดถอนพนักงานอื่น ๆ ของสหภาพได้อย่างอิสระซึ่งการแต่งตั้งหรือถอดถอน ไม่ได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
- แต่งตั้งเอกอัครราชทูต กงสุลใหญ่ พนักงานระดับสูงของกระทรวงการคลังและสมาชิกของหน่วยงานกำกับดูแลด้านโทรคมนาคม พลังงาน และเศรษฐกิจ โดยความเห็นชอบของวุฒิสภา
- แต่งตั้งพันเอกและนายพลและเจ้าหน้าที่ธงของกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ โดยความเห็นชอบของวุฒิสภา
- รักษาความมั่นคงของชาติภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมายนั้น ๆ และมีกองกำลังถาวรทั้งหมด ได้แก่ กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ เพื่อความมั่นคงภายในและการป้องกันภายนอกของสหพันธรัฐ
- กำหนดให้หน่วยพิทักษ์ชาติมีหน้าที่และความรับผิดชอบเช่นเดียวกัน ในบทบัญญัติหมวดที่ 4 มาตรา 76
- ประกาศสงครามในนามของสหรัฐเม็กซิโกโดยได้รับความยินยอมจากรัฐสภาแห่งสหภาพ
- แทรกแซงการแต่งตั้งอัยการสูงสุดแห่งสหรัฐเม็กซิโกและสามารถถอดถอนในแง่ของบทบัญญัติของมาตรา 102 หมวด A ของรัฐธรรมนูญนี้
- ดำเนินนโยบายต่างประเทศและสรุปสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ประณาม ระงับ แก้ไข ยุติข้อสงวนและออกแถลงการณ์ตีความในนั้น แล้วส่งเพื่อขอความเห็นชอบจากวุฒิสภา ในการดำเนินนโยบายดังกล่าว ประธานเจ้าหน้าที่บริหารจะต้องปฏิบัติตามหลักการเชิงบรรทัดฐานดังต่อไปนี้ การเห็นชอบโดยประชาชน การไม่แทรกแซง การระงับข้อพิพาทอย่างสันติ การห้ามการคุกคามหรือการใช้กำลังในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความเสมอภาคทางกฎหมายของรัฐ ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา ความเคารพ การคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและการต่อสู้เพื่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
- ประชุมรัฐสภาเป็นวาระพิเศษ เมื่อเห็นชอบโดยคณะกรรมาธิการสามัญ
- ให้ความช่วยเหลือแก่ฝ่ายตุลาการที่พวกเขาต้องการสำหรับการปฏิบัติหน้าที่อย่างรวดเร็ว
- เปิดใช้งานท่าเรือทุกประเภท กำหนดศุลกากรทางทะเลและชายแดน และกำหนดตำแหน่งที่ตั้ง
- ตามกฎหมาย ให้อภัยโทษแก่อาชญากรที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดตามเขตอำนาจศาลของศาลรัฐบาลกลาง
- ให้สิทธิพิเศษเฉพาะในระยะเวลาจำกัดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แก่ผู้ค้นพบ นักประดิษฐ์ หรือผู้เป็นเลิศในสาขาใด ๆ ของอุตสาหกรรม
- เมื่อวุฒิสภาไม่ได้อยู่ในสมัยประชุม ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐอาจทำการแต่งตั้งตามที่กล่าวไว้ในมาตรา 3 4 และ 9 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมาธิการเสมอ
- เลือกรัฐบาลผสมที่มีพรรคการเมืองอย่างน้อยหนึ่งพรรคเป็นตัวแทนในสภาคองเกรสได้ทุกเมื่อ
- สามารถยื่นต่อวุฒิสภาให้รายชื่อผู้สมัครทั้ง 3 คนให้แต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกาและยื่นใบถอดถอนเพื่อขออนุมัติใบอนุญาตจากวุฒิสภา
- คัดค้านการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการที่ตั้งผู้ค้ำประกันมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญนี้ที่วุฒิสภากำหนดภายใต้ข้อกำหนดที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้และกฎหมาย
- อื่น ๆ บัญญัติไว้โดยชัดเจนตามรัฐธรรมนูญนี้
กฤษฎีกาเป็นเครื่องมือทางกฎหมายที่มีวันหมดอายุและออกโดยหนึ่งใน 3 หน่วยงานของรัฐบาล สภาคองเกรสอาจออกกฤษฎีกา และประธานาธิบดีอาจออกกฤษฎีกาเช่นกัน อย่างไรก็ตาม พวกเขามีอำนาจทั้งหมดของกฎหมาย แต่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้นอกจากอำนาจที่ออกกฎหมายให้กฤษฎีกามีขอบเขตจำกัดมาก กฤษฎีกาประการหนึ่งคืองบประมาณของรัฐบาลกลางซึ่งออกโดยสภาคองเกรส สำนักงานของประธานาธิบดีอาจเสนองบประมาณ แต่ท้ายที่สุด สภาคองเกรสยังคงเป็นผู้กำหนดวิธีการเก็บภาษีและวิธีใช้จ่าย คำตัดสินของศาลฎีกาเกี่ยวกับการยับยั้งงบประมาณปี พ.ศ. 2547 ของบิเซนเต ฟอกซ์ ชี้ให้เห็นว่าประธานาธิบดีอาจมีสิทธิ์ยับยั้งกฤษฎีกาจากสภาคองเกรสได้
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 สภาคองเกรสเป็นพหูพจน์ โดยปกติแล้วพรรคฝ่ายค้านจะได้เสียงข้างมาก การปฏิรูปที่สำคัญ (ภาษี พลังงาน) ต้องผ่านสภาคองเกรส และประธานาธิบดีผู้ปกครองมักพบว่าความพยายามของพวกเขาถูกปิดกั้น เช่น เซดิโย จากพรรคพีอาไอ คัดค้านสมาชิกสภาคองเกรส พีเอเอ็น/พีอาดี และต่อมา ฟอกซ์ จากพรรคพีเอเอ็น โดย พีอาไอ พีอาดี และพีเอเอ็น จะผลักดันการปฏิรูปที่ พีอาไอ ปฏิเสธและในทางกลับกัน สถานการณ์นี้ถือเป็นเรื่องใหม่ในประเทศที่สภาคองเกรสถูกครอบงำโดยพรรคของประธานาธิบดีเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลาเกือบตลอดศตวรรษ ซึ่งนำไปสู่การวิเคราะห์ทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจของประธานาธิบดี ก่อนหน้านี้เกือบจะเป็นเผด็จการ (เพราะพรรคพีอาไอ มีอิทธิพล) เวลาปัจจุบันแสดงอำนาจของประธานาธิบดีค่อนข้างจำกัด ในปี พ.ศ. 2547 ประธานาธิบดีฟอกซ์ ขู่ว่าจะยับยั้งงบประมาณที่ได้รับอนุมัติจากสภาคองเกรส โดยอ้างว่างบประมาณเกินขอบเขตอำนาจของเขาในการเป็นผู้นำประเทศ เพียงเพื่อจะได้รู้ว่าไม่มีหน่วยงานใดของรัฐบาลมีอำนาจยับยั้งกฤษฎีกาที่ออกโดยหน่วยงานรัฐบาลอื่น (แม้ว่าจะเป็นหน่วยงานอื่น ตามการวินิจฉัยนอกหลักนิติศาสตร์ระบุสามารถคืนงบประมาณพร้อมข้อสังเกตได้)
คำสาบานของตำแหน่ง
[แก้]เมื่อเข้ารับตำแหน่ง ประธานาธิบดีจะยกแขนขวาขึ้นสูงในระดับไหล่และกล่าวคำสาบานดังต่อไปนี้
Protesto guardar y hacer guardar la Constitución Política de los Estados Unidos Mexicanos y las leyes que de ella emanen, y desempeñar leal y patrióticamente el cargo de Presidente de la República que el pueblo me ha conferido, mirando en todo por el bien y prosperidad de la Unión; y si así no lo hiciere que la Nación me lo demande.
แปลเป็นภาษาไทยได้ความว่า
ข้าพเจ้าขอสาบานว่าจะปฏิบัติตามและยึดมั่นในรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐเม็กซิโกและกฎหมายที่มาจากรัฐธรรมนูญ และจะปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอย่างซื่อสัตย์และรักชาติซึ่งประชาชนได้มอบให้แก่ข้าพเจ้า ในทุกการกระทำเพื่อดูแลความสงบสุข และความเจริญรุ่งเรืองของสหภาพ และถ้าหากข้าพเจ้าไม่ทำตามคำสาบาน ประเทศชาติจะเรียกร้องเอาจากข้าพเจ้าก็ได้
สายสะพายและธงประจำตำแหน่ง
[แก้]สายสะพายของประธานาธิบดีเม็กซิโก มีลักษณะเป็นสีธงชาติเม็กซิโก 3 แถบที่มีความกว้างเท่ากัน ด้านบนสีเขียว สีขาวตรงกลาง และสีแดงด้านล่าง คาดจากไหล่ขวาถึงเอวซ้าย นอกจากนี้ยังรวมถึงตราแผ่นดินด้วยด้ายสีทองที่จะสวมใส่ในระดับหน้าอก ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 34 เพื่อจัดลำดับสีของสายสะพายใหม่ มีการสร้างสายสะพายใหม่โดยให้สีของสายสะพายกลับไปสู่ลำดับก่อนหน้าที่ใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2467 ถึง พ.ศ. 2552[13] ในพิธีสาบานตน ประธานาธิบดีคนปัจจุบันจะถอดสายสะพายให้กับประธานสภาผู้แทนราษฎรคนปัจจุบัน ซึ่งจะมอบให้กับประธานาธิบดีคนใหม่หลังจากที่เข้าสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง สายสะพายเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจบริหารของรัฐบาลกลาง และมีเพียงผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนปัจจุบันเท่านั้นที่สามารถสวมใส่ได้
ตามมาตรา 35 ของกฎหมายว่าด้วยอาวุธ ธงชาติ และเพลงชาติ ประธานาธิบดีต้องสวมสายสะพายในโอกาสต่าง ๆ เช่น พิธีสาบานตน ทำรายงานสถานะประจำปีของสหภาพต่อสภาคองเกรส ในระหว่างการรำลึกถึง กริโตเดโดโลเรส ในวันที่ 15 กันยายนของทุกปี และเมื่อได้รับหนังสือรับรองทางการทูตของเอกอัครราชทูตและรัฐมนตรีต่างประเทศที่ได้รับการรับรอง หรืออาจจะสวมใส่ "ในพิธีอย่างเป็นทางการที่เคร่งขรึมที่สุด" สายคาดเอวสวมจากไหล่ขวาถึงสะโพกซ้าย และควรสวมไว้ใต้เสื้อโคต ข้อยกเว้นประการเดียวคือในระหว่างพิธีสาบานตน เมื่อสวมเสื้อคลุมเพื่อให้ประธานาธิบดีที่พ้นจากตำแหน่งสามารถถอดสายสะพายออกและคลุมประธานาธิบดีที่เข้ามาใหม่ได้ง่าย (มาตรา 36)
นอกจากสายสะพายประธานาธิบดีแล้ว ประธานาธิบดีแต่ละคนยังได้รับธงประจำตำแหน่งประธานาธิบดีอีกด้วย ธงได้ประทับคำว่า "Estados Unidos Mexicanos" (สหรัฐเม็กซิโก) ด้วยตัวอักษรสีทองและและตราแผ่นดินก็เป็นสีทองเช่นกัน
ทำเนียบประธานาธิบดี
[แก้]ที่พำนักอย่างเป็นทางการและที่ทำงานของประธานาธิบดีคือ พระราชวังแห่งชาติ ซึ่งเป็นอาคารที่หันหน้าเข้าหา จัตุรัสรัฐธรรมนูญ (Zócalo) ในเม็กซิโกซิตี สถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งของศูนย์กลางทางอำนาจมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิแอซเท็ก โดยวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารถูกนำมาจากพระราชวังของจักรพรรดิมอกเตซูมาที่ 2 แห่งแอซเท็ก[14] ประธานาธิบดียังใช้พระราชวังชาปุลเตเปก ซึ่งเดิมเคยเป็นพระราชวังของจักรวรรดิเม็กซิโกที่ 2 และต่อมาเป็นที่พำนักอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีเม็กซิโกจนถึงปี พ.ศ. 2477 เมื่อ ลาซาโร การ์เดนัส สร้างที่พำนักของประธานาธิบดีที่ โลสปิโนส ต่อมา อันเดรส มานูเอล โลเปซ โอบราดอร์ ก็ทำการย้ายที่พำนักของประธานาธิบดีกลับมาที่ พระราชวังแห่งชาติ อีกครั้งหลักเข้าดำรงตำแหน่งในปี พ.ศ. 2561[15]
การสืบทอดตำแหน่ง
[แก้]มาตรา 84 และ 85 ของรัฐธรรมนูญเม็กซิโกระบุว่า "ในกรณีที่ไม่มีประธานาธิบดี" สิ่งต่อไปนี้ควรจะเกิดขึ้น
- เลขาธิการกระทรวงมหาดไทย (Secretario de Gobernación) จะใช้อำนาจบริหารชั่วคราว (Presidente Provisional) จนกว่าสภาคองเกรสจะแต่งตั้งประธานาธิบดีชั่วคราว (Presidente Provisional) แต่จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีได้หากไม่ได้รับคำแนะนำและความยินยอมจากวุฒิสภา พวกเขาต้องจัดทำรายงานอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการกระทำของตนภายในสิบวันหลังจากออกจากตำแหน่ง สภาคองเกรสต้องเลือกประธานาธิบดีชั่วคราวหรือประธานาธิบดีแทนภายใน 60 วันนับจากวันที่ขาดผู้ดำรงตำแหน่ง กระทรวงมหาดไทยไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมดสำหรับตำแหน่งประธานาธิบดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกเขาไม่จำเป็นต้องมีอายุตามข้อกำหนดด้านอายุหรือถิ่นที่อยู่ หรือข้อกำหนดที่จะไม่ดำรงตำแหน่งรัฐบาลบางตำแหน่ง (เลขาธิการรัฐ ปลัดกระทรวงของรัฐ ฯลฯ)
- หากสภาคองเกรสไม่อยู่ในเซสชั่น คณะกรรมาธิการถาวรจะเรียกสภาคองเกรสเข้าสู่เซสชั่นวิสามัญ ซึ่งกระบวนการจะดำเนินต่อไปตามด้านล่าง
- หากการขาดตำแหน่ง (การเสียชีวิต การถอดถอน ฯลฯ) โดยเกิดขึ้นใน 2 ปีแรกของวาระ (หากอยู่ในสมัยประชุม หรือหลังจากได้รับการเรียกเข้าสู่สมัยวิสามัญโดยคณะกรรมาธิการถาวร) รัฐสภาจะต้องเลือกโดยใช้คะแนนเสียงข้างมากในการลงคะแนนลับโดยมีสมาชิกอย่างน้อย 2 ใน 3 เป็นองค์ประชุม (Presidente Interino) สภาคองเกรสต้องเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งภายในเวลาไม่น้อยกว่า 14 เดือนและไม่เกิน 18 เดือนหลังจากที่ประธานาธิบดีไม่อยู่ บุคคลที่ชนะการเลือกตั้งเหล่านั้นจะได้เป็นประธานาธิบดีตามวาระที่เหลืออยู่ของประธานาธิบดีเดิม คือ 6 ปี
- หากการขาดหายไปเกิดขึ้นในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาของวาระ สภาคองเกรส (หากอยู่ในสมัยประชุมหรือหลังจากได้รับการเรียกเข้าสู่สมัยวิสามัญโดยคณะกรรมาธิการถาวร) จะเลือกประธานาธิบดีแทน (Presidente Substituto) โดยการลงคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในการลงคะแนนลับ ดังกล่าวข้างต้น ประธานาธิบดีแทนจะเป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐเม็กซิโกจนกว่าจะสิ้นสุดวาระประธานาธิบดีเดิม 6 ปี ซึ่งจะมีการเลือกตั้งตามปกติ
- หากประธานาธิบดีที่ได้รับการเลือกตั้งไม่สามารถดำรงตำแหน่งได้ก่อนที่จะสาบานตน ประธานวุฒิสภาจะเข้ารับตำแหน่งบริหารเป็นการชั่วคราวจนกว่ารัฐสภา (หากอยู่ในสมัยประชุมหรือหลังจากที่คณะกรรมาธิการถาวรเรียกเข้าสู่สมัยประชุมวิสามัญ) จะสามารถเลือกประธานชั่วคราวได้ตามที่ระบุไว้ ข้างบน
ตามมาตรา 83 ห้ามมิให้บุคคลที่เคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแล้ว ไม่ว่าจะได้รับเลือก ชั่วคราว หรือรักษาการแทน ดังนั้นประธานาธิบดีเฉพาะกาลข้างต้นจึงจะไม่สามารถดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีได้อีก
การแต่งตั้งเลขาธิการมหาดไทยเป็นผู้สืบทอดโดยตรงมีผลตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 หลังมีการเผยแพร่การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญในวารสารทางการของสหพันธ์
บทบัญญัติการสืบทอดตำแหน่งเข้ามามีบทบาทเพียง 2 ครั้งนับตั้งแต่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ. 2471 หลังจากการลอบสังหาร อัลบาโร โอเบรกอน ซึ่งเป็นประธานาธิบดีที่ได้รับเลือก สภาคองเกรสจึงได้แต่งตั้ง เอมิลิโอ ปอร์เตส กิล เป็นประธานาธิบดีชั่วคราว เอมิลิโอ ปอร์เตส กิล ดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 14 เดือนจนกระทั่งมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ ปัสกวล ออร์ติซ รูบิโอ ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีในการเลือกตั้งพิเศษที่ตามมาในปี พ.ศ. 2473 แต่เขาก็ทำการลาออกในปี พ.ศ. 2475 จากนั้น อาเบลาร์โด เอเล. โรดริเกซ จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานาธิบดีชั่วคราวเพื่อดำรงตำแหน่งที่เหลืออยู่ตามวาระของ ออร์ติซ รูบิโอ (ภายใต้กฎหมายปัจจุบัน โรดริเกซ จะเป็นประธานาธิบดีแทน แต่ในเวลานั้นไม่มีความแตกต่างระหว่างประธานาธิบดีเฉพาะกาล ประธานสำรอง และประธานชั่วคราว)
หลังดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
[แก้]อดีตประธานาธิบดีของเม็กซิโกยังคงถูกเรียกว่า "ประธานาธิบดี" ต่อไปจนกว่าจะถึงแก่กรรม แต่ไม่ค่อยมีใครนิยมเรียก แต่พวกเขาถูกเรียกกันทั่วไปว่า"อดีตประธานาธิบดี" อีกทั้งพวกเขายังได้รับความคุ้มครองจากการเป็นอดีตประธานาธิบดีอีกด้วย ก่อนปี พ.ศ. 2561 อดีตประธานาธิบดีเคยได้รับเงินบำนาญตลอดชีพเช่นกัน แม้ว่าพวกเขาจะปฏิเสธได้เหมือนที่ เอร์เนสโต เซดิโย ได้ทำ อย่างไรก็ตามเงินบำนาญนี้ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว ในปี พ.ศ. 2561[16]
ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เกิดขึ้นในหลาย ๆ ประเทศ คืออดีตประธานาธิบดีของเม็กซิโกไม่ได้เป็นบุคคลสำคัญระดับชาติอีกต่อไปเมื่อพ้นจากตำแหน่ง และมักจะใช้ชีวิตอย่างสุขุมรอบคอบ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพวกเขาไม่ต้องการแทรกแซงรัฐบาลของประธานาธิบดีคนใหม่ และอีกส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะพวกเขาอาจมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อสาธารณชน[17] ประเพณีนี้สามารถสืบย้อนไปถึงตำแหน่งประธานาธิบดีของ ลาซาโร การ์เดนัส โดยอดีตประธานาธิบดี ปลูตาร์โก เอลิอัส กาเยส ได้เลือกเขาเป็นผู้สืบทอดเป็นการส่วนตัว และหวังว่าจะสามารถควบคุมสิ่งต่าง ๆ จากเบื้องหลังเหมือนกับที่เขามีมาตลอด 5 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เมื่อ การ์เดนัส ต้องการที่จะแสดงให้เห็นว่าเขากำลังจะปกครองทั้งในนามจริงและในนาม กาเยส ก็วิจารณ์เขาต่อสาธารณชน ทำให้ การ์เดนัส ต้องให้ตำรวจทหารพา กาเยส ออกนอกประเทศ[18] การ์เดนัส เองยังคงนิ่งเฉยต่อนโยบายของ มานูเอล อาบิลา กามาโช ผู้สืบทอดตำแหน่ง โดยสร้างประเพณีว่าอดีตประธานาธิบดีจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้สืบทอดตำแหน่ง
ตัวอย่างเช่น เอร์เนสโต เซดิโย มีตำแหน่งสำคัญในสหประชาชาติและในภาคเอกชน แต่อยู่นอกเม็กซิโก สันนิษฐานว่าเขาอยู่ในการเนรเทศตัวเองเพื่อหลีกเลี่ยงความเกลียดชังของเพื่อนสมาชิกบางคนของ พีอาไอ ที่ยอมรับความพ่ายแพ้ของ พีอาไอ ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี พ.ศ. 2543[19] การ์โลส ซาลินัส เด กอร์ตาริ ยังคงอาศัยอยู่ในประเทศไอร์แลนด์หลังถูกเนรเทศด้วยตนเอง แต่ก็กลับมายังเม็กซิโกเพื่อรณรงค์อย่างเข้มข้นให้น้องชายของเขา ราอุล ซาลินัส เป็นอิสระหลังจากที่เขาถูกจำคุกในช่วงแรก ๆ ของการดำรงตำแหน่งของ เซดิโย โดยถูกกล่าวหาว่าค้ายาเสพติดและวางแผนลอบสังหาร โฮเซ ฟรานซิสโก รุยซ์ มาสซิเยอ การ์โลส ซาลินัส ยังเขียนหนังสือเกี่ยวกับเม็กซิโกเสรีนิยมใหม่ ได้รับตำแหน่งในบริษัทดาวโจนส์ในสหรัฐ และทำงานเป็นศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงหลายแห่งในประเทศนั้น เอร์เนสโต เซดิโย และ เฟลิเป กัลเดรอน สองอดีตประธานาธิบดีที่ยังมีชีวิตรอดอาศัยอยู่ในสหรัฐและสอนในมหาวิทยาลัยที่พวกเขาศึกษาอยู่ โดย เซดิโย ที่มหาวิทยาลัยเยล และ กัลเดรอน ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
นอกจาก การ์โลส ซาลินัส เด กอร์ตาริ แล้ว อดีตประธานาธิบดีอีก 2 คนที่ยังมีชีวิตอยู่ (บิเซนเต ฟอกซ์ และ เอนริเก เปญญา นิเอโต) ยังคงอาศัยอยู่ในเม็กซิโก โดยเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2549 เอเชเวอร์เรีย ถูกกักบริเวณในบ้านพักภายใต้ข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จากบทบาทของเขาในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยระหว่างการสังหารหมู่ที่ตลาเตโลลโก ในปี พ.ศ. 2511[20] โดยการกักบริเวณในบ้านถูกยกเลิกในปี พ.ศ. 2552
รายชื่อประธานาธิบดีเม็กซิโก
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ At an exchange rate of 20.94 pesos to one dollar, approximately $9,960.40 per month; the salary after taxes is listed as MXN$142,256.56 (US$6,793.53)."Portal de Obligaciones de Transparencia". 17 August 2017. สืบค้นเมื่อ 26 October 2020.
- ↑ Article 80, Constitution of Mexico. "Constitución Política de los Estados Unidos Mexicanos" (PDF) (ภาษาสเปน). Cámara de Diputados. p. 55. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 January 2013. สืบค้นเมื่อ 22 September 2011.
- ↑ Fabian Coehlo, "Sufragio efectivo, no reelección" [Effective suffrage, no reelection], Cultura Genial (ภาษาสเปน), สืบค้นเมื่อ 28 July 2019
- ↑ "Reelección inicia en 2018, ¿cómo funcionará?" [Reelection begins in 2018; how will it work?], Politico.mx (ภาษาสเปน), 15 June 2017, สืบค้นเมื่อ 28 July 2019
- ↑ "México: Así quedaron los resultados oficiales de la elección presidencial, ¿por cuánto ganó AMLO según el INE?" [Mexico: Here are the official results of the presidential election; How much did AMLO win by, according to INE?] (ภาษาสเปน). Fayer Wayer. 7 July 2018. สืบค้นเมื่อ 28 July 2019.
- ↑ "Enrique Pena Nieto wins Mexican presidential election". The Daily Telegraph (London). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2022. สืบค้นเมื่อ 12 December 2012.
- ↑ "2006 Presidential Electoral Results". Political Database of the Americas, Center for Latinamerican Studies, Georgetown.edu. 26 November 2007. สืบค้นเมื่อ 28 July 2019.
- ↑ "Elecciones de 2000, una advertencia para el PRI en 2018" [2000 election, a warning for PRI in 2018] (ภาษาสเปน). Politico MX. 4 April 2018. สืบค้นเมื่อ 28 July 2019.
- ↑ "Elecciones en México 1979 – 2015" [Elections in Mexico 1979–2015] (ภาษาสเปน). Historia Electoral.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-13. สืบค้นเมื่อ 28 July 2019.
- ↑ Manuel Suarez Mier (7 July 2006). "México: Elecciones 1988 y 2006" [Elections 1988 and 2006] (ภาษาสเปน). El Cato.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-13. สืบค้นเมื่อ 28 July 2019.
- ↑ Buckman, Robert T. (2007). The World Today Series: Latin America 2007. Harpers Ferry, West Virginia: Stryker-Post Publications. ISBN 978-1-887985-84-0.
- ↑ "About Us". Electoral Tribunal of the Federal Judicial Branch. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 March 2013. สืบค้นเมื่อ 20 July 2012.
- ↑ Canal del Congreso México (1 December 2018), Banda Presidencial, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 December 2021, สืบค้นเมื่อ 1 December 2018
- ↑ Casas nuevas de Moctezuma เก็บถาวร 2018-09-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Historia.palacionacional.info
- ↑ "¿Cómo es la nueva residencia oficial del presidente de México?" [How is the new official residence of the President of Mexico?] (ภาษาสเปน). La Voz de Michoacan. 14 December 2018. สืบค้นเมื่อ 28 July 2019.
- ↑ El Debate (14 September 2018). "Oficial: Eliminan pensión de ex-presidentes" (ภาษาสเปน). Debate. สืบค้นเมื่อ 2 December 2018.
- ↑ "Por qué se van de México los expresidentes" [Why ex-presidents leave Mexico]. BBC News Mundo (ภาษาสเปน). 5 December 2012. สืบค้นเมื่อ 23 May 2022.
- ↑ Cruz Rivera, Dulce Liliana. "El exilo de Plutarco Elías Calles" [The exile of Plutarco Elías Calles]. Instituto Nacional de Estudios Históricos de la Revolución Mexicana (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 23 May 2022.
- ↑ Krauze, Enrique (19 March 2012). "Un digno expresidente" [A worthy former president]. Letras Libres (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 23 May 2022.
- ↑ "Echeverría, bajo prisión preventiva domiciliaria – El Universal – México". El Universal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-23. สืบค้นเมื่อ 19 September 2012.