ข้ามไปเนื้อหา

การมีน้ำใจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เด็กสองคนแบ่งปันเครื่องดื่มที่ทำจากน้ำอัดลมที่ทำเนียบขาวเมื่อปี 1922

การมีน้ำใจ เป็นลักษณะของพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความเอื้อเฟื้อ ความใส่ใจ การให้ความช่วยเหลือ หรือความห่วงใยต่อผู้อื่น โดยไม่คาดหวังคำชมหรือรางวัลตอบแทน พฤติกรรมนี้เป็นหัวข้อที่ได้รับความสนใจในด้านปรัชญา ศาสนา และจิตวิทยา

ในหนังสือ Rhetoric เล่มที่ 2 อาริสโตเติลให้คำนิยามการมีน้ำใจไว้ว่า "การช่วยเหลือผู้อื่นในยามที่เขาต้องการ โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน และไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ของผู้ช่วยเหลือเอง แต่เพื่อประโยชน์ของผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือ"[1] ฟรีดริช นีทเชอ ถือว่าการมีน้ำใจและความรักเป็น "สมุนไพรและปัจจัยที่ช่วยเยียวยามากที่สุดในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์"[2] และความมีน้ำใจนั้นถือเป็นหนึ่งในคุณธรรมของอัศวิน[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Aristotle. Rhetoric. แปลโดย Roberts, W. Rhys. Book 2, chapter 7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 13, 2004. สืบค้นเมื่อ 2005-11-22.
  2. Nietzsche, Friedrich Wilhelm (1996) [1878]. "On the History of Moral Feelings". Menschliches, Allzumenschiles [Human, all too human: a book for free spirits]. แปลโดย Faber, Marion; Lehman, Stephen. University of Nebraska Press. Aphorism 48.
  3. Singla, Parvesh. "Character". The Manual of Life: Understanding Karma/Right Action. Parvesh singla – โดยทาง Google Books.