สภาวะตื่นตัว
ส่วนหนึ่งของชุดเกี่ยวกับ |
อารมณ์ |
---|
ใน สรีรวิทยาและจิตวิทยา สภาวะตื่นตัว หรือ ความตื่นตัว (อังกฤษ: arousal) เป็นสภาวะของการตื่นตัวหรือการตอบสนองต่อตัวกระตุ้น จะมีความตื่นตัวได้ก็ต่อเมื่อมีการทำงานในระบบ reticular activating system (ตัวย่อ RAS)[1]ในก้านสมอง ในระบบระบบประสาทอิสระ (autonomic nervous system) และในระบบต่อมไร้ท่อ ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มระดับการเต้นของหัวใจและความดันเลือด และสภาวะความตื่นตัวทางความรู้สึก ทางการเคลื่อนไหว และทางความพร้อมเพรียงในการตอบสนองต่อตัวกระตุ้น
มีระบบประสาทหลายระบบที่เกี่ยวข้องกัน ที่เรียกรวมๆ กันว่า ระบบความตื่นตัวนี้ ระบบสำคัญ 4 ระบบในก้านสมอง ซึ่งมีการเชื่อมต่อกับเปลือกสมองทั้งหมด มีหน้าที่การงานเกี่ยวกับสารสื่อประสาทรวมทั้งอะเซทิลโคลิน (acetylcholine) นอเรพิเนฟรีน (norepinephrine) โดพามีน (dopamine) และเซโรโทนิน (serotonin) เมื่อระบบสำคัญเหล่านี้ทำงานอยู่ เขตประสาทส่วนต่างๆ ที่รับสารสื่อประสาทเหล่านั้น ก็จะเริ่มมีความไวและมีการตอบสนองต่อสัญญาณที่เข้ามาในเขตประสาท
ความสำคัญ
[แก้]ความตื่นตัวมีความสำคัญในการควบคุมการรับรู้ ความใส่ใจ และการประมวลข้อมูล มีความสำคัญมากในการกระตุ้นพฤติกรรมบางอย่าง เช่นการเคลื่อนไหว การแสวงหาอาหาร การตอบสนองแบบสู้หรือหนี และกิจกรรมทางเพศ
ความตื่นตัวมีความสำคัญอย่างมากในอารมณ์ด้วย จึงเป็นแนวความคิดที่ได้ถูกนำไปเป็นส่วนของทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่างๆ เช่น ทฤษฎีอารมณ์ของเจมส์-ลานจ์ (James-Lange theory of emotion) ส่วนตามทฤษฎีของฮันส์ ไอเซงค์ ความแตกต่างในระดับความตื่นตัวขั้นพื้นฐานเป็นเหตุให้บุคคลต่างๆ มีบุคคลิกเป็นผู้ใส่ใจภายนอก (extrovert[2]) และผู้ใส่ใจภายใน (introvert[3]) แต่งานวิจัยภายหลังเสนออีกอย่างหนึ่งว่า มีความเป็นไปได้มากกว่า ที่ผู้ใส่ใจภายนอกและผู้ใส่ใจภายในมีระดับการปลุกความตื่นตัวได้ที่ไม่เท่ากัน คือระดับความตื่นตัวพื้นฐานของทั้งสองพวกเท่ากัน แต่มีการตอบสนองต่อตัวกระตุ้นที่ไม่เหมือนกัน[4]
กฎของเยอร์คส-ด็อดสัน (Yerkes-Dodson Law) กำหนดว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างความตื่นตัวและสมรรถภาพในการทำงาน คือโดยสำคัญแล้ว อ้างว่า มีระดับความตื่นตัวที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการทำงาน และระดับที่มากหรือน้อยเกินไปสามารถมีผลลบต่อสมรรถภาพการทำงาน เป็นความสัมพันธ์ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยสมมุติฐานการใช้ข้อมูลของอีสเตอร์บรุก (Easterbrook Cue-Utilisation hypothesis) อีสเตอร์บรุกแสดงว่า ความเพิ่มขึ้นของการตื่นตัว กลับลดจำนวนข้อมูลจากการรับรู้ ที่สามารถจะนำไปใช้ได้[5]
ในจิตวิทยาบวก (positive psychology) ความตื่นตัวถูกนิยามว่าเป็นการตอบสนองต่อเรื่องท้าทายที่ยากลำบาก สำหรับบุคคลหรือสัตว์ที่มีทักษะพอประมาณ[6]
ความตื่นตัวและบุคคลิกภาพ
[แก้]การใส่ใจสิ่งภายนอก และการใส่ใจสภาวะจิตภายใน
[แก้]ทฤษฎีความตื่นตัวของฮันส์ ไอเซงค์พรรณนาถึงวงจรธรรมชาติของสภาวะความตื่นตัวในสมองของผู้ใส่ใจภายใน[3] เปรียบเทียบกับผู้ใส่ใจภายนอก[2] และกำหนดว่า สมองของผู้ใส่ใจภายนอกถูกกระตุ้นน้อยกว่าโดยธรรมชาติ ดังนั้น ผู้มีบุคคลิกอย่างนี้จึงมีความโน้มเอียงไปในการแสวงหาสถานการณ์ และเข้าไปมีส่วนร่วมในพฤติกรรม ที่จะกระตุ้นความตื่นตัว[7]
ดังนั้น ผู้ใส่ใจภายในเป็นผู้มีการกระตุ้นเกินส่วนโดยธรรมชาติ และเพราะเหตุนั้น จึงหลีกเลี่ยงการกระตุ้นความตื่นตัวที่รุนแรง เปรียบเทียบกับผู้ใส่ใจภายนอกผู้มีการกระตุ้นน้อยไปโดยธรรมชาติ และเพราะเหตุนั้น จึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่ปลุกความตื่นตัว แคมป์เบลล์และฮอลีย์ (ค.ศ. 1982) ศึกษาความแตกต่างระหว่างการตอบสนองของผู้ใส่ใจภายในและผู้ใส่ใจภายนอก ในเขตที่ทำงานในห้องสมุด[7] งานวิจัยนั้นพบว่า ผู้ใส่ใจภายในมักเลือกเขตที่สงบที่มีเสียงและมีคนน้อยหรือไม่มี ผู้ใส่ใจภายนอกมักเลือกเขตที่มีกิจกรรมกำลังเป็นไปอยู่ ที่มีเสียงและมีคนมากกว่า[7]
งานวิจัยของดาอูสซิสส์และแม็คเคลวี (ค.ศ. 1986) แสดงว่าผู้ใส่ใจภายใน ทำงานที่เกี่ยวข้องกับความจำแย่กว่าเมื่อมีเพลงเปิดเทียบกับที่ไม่มี ส่วนผู้ใส่ใจภายนอกได้รับอิทธิพลน้อยกว่าจากการเปิดเพลง[7] และโดยคล้ายๆ กัน เบลอเจวิค สเล็ปเซวิค และโจคอฟล์เจวิค (ค.ศ. 2001) พบว่า ผู้ใส่ใจภายในมีปัญหาเกี่ยวกับสมาธิและความเหนื่อยล้ามากกว่าในการประมวลผลทางใจ เมื่อทำงานในที่มีเสียงหรือมีสิ่งรบกวนอย่างอื่น[7] ระดับของตัวกระตุ้นต่างๆ ที่มีอยู่รอบๆ มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อสมรรถภาพการทำงานและต่อพฤติกรรม โดยผู้ใส่ใจภายในจะรับอิทธิพลมากกว่าเพราะถูกกระตุ้นมากกว่าโดยธรรมชาติ และผู้ใส่ใจภายนอกจะรับอิทธิพลน้อยกว่าเพราะถูกกระตุ้นน้อยกว่าโดยธรรมชาติ
เสถียรภาพของอารมณ์และการใส่ใจภายในภายนอก
[แก้]Neuroticism[8] หรือ อเสถียรภาพทางอารมณ์ และการใส่ใจภายนอก เป็นองค์สองอย่างในลักษณะของบุคคลิกภาพใหญ่ห้าอย่าง องค์ประกอบสองอย่างของบุคคลิกภาพนี้กำหนดพฤติกรรมและการตอบสนองของบุคคล ต่อสิ่งกระตุ้นภายนอกในสิ่งแวดล้อม ทั้งที่มีความสำคัญและไม่มีความสำคัญ
ผู้มีอเสถียรภาพทางอารมณ์ย่อมประสบการปลุกความตื่นตัวแบบตึงเครียด มีลักษณะคือความตึงเครียดและความกังวลใจ ส่วนผู้ใส่ใจภายนอก[2]ย่อมประสบการปลุกความตื่นตัวที่ให้พลัง มีลักษณะคือความกระฉับกระเฉงและมีพลัง[9]
ส่วนเกรย์ (ค.ศ. 1981) ยืนยันว่า ผู้ใส่ใจภายนอกมีความใส่ใจต่อผลดีมากกว่าผลเสีย เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ใส่ใจภายใน ความหวังในผลดีเป็นการเพิ่มพลังให้[9] ดังนั้น ผู้ใส่ใจภายนอกปกติมีความตื่นตัวที่มีพลังสูงกว่า เพราะเหตุที่มีความใส่ใจผลบวกที่มากกว่า
ความตื่นตัวและความจำ
[แก้]ความตื่นตัวมีส่วนเกี่ยวข้องในการตรวจจับ การรักษาไว้ และการค้นคืนข้อมูลที่อยู่ในระบบความทรงจำ ข้อมูลที่ประกอบด้วยอารมณ์ที่ปลุกความตื่นตัว ย่อมนำไปสู่การเข้ารหัส[10]ข้อมูลความจำที่ดีกว่า และดังนั้น จึงมีอิทธิพลต่อการรักษาข้อมูลไว้และการค้นคืนข้อมูลจากระบบความจำนั้นได้ดีกว่า ความตื่นตัวในระบบความจำมีส่วนคล้ายกับการใส่ใจแบบเลือก (selective attention[11]) ในขั้นการเข้ารหัส เพราะว่า มนุษย์มักจะเข้ารหัสข้อมูลที่ทำให้ตื่นตัว มากกว่าข้อมูลที่ประกอบกับอารมณ์เฉยๆ[12] การเลือกสรรตัวกระตุ้นที่ปลุกความตื่นตัวในการเข้ารหัส ก่อให้เกิดความทรงจำระยะยาวที่ดีกว่าการเข้ารหัสตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอารมณ์เฉยๆ [13] กล่าวโดยอีกนัยหนึ่งก็คือ กระบวนการรักษาและการสั่งสมข้อมูลความทรงจำ มีความเข้มแข็งขึ้นเมื่อประกอบกับข้อมูลหรือเหตุการณ์ที่ปลุกความตื่นตัว แม้การค้นคืนข้อมูลหรือการจำได้ก็ชัดเจนและแม่นยำกว่าด้วย[14]
ถึงแม้ว่าความตื่นตัวจะช่วยกระบวนการทรงจำในกรณีโดยมาก แต่ก็ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต้องระวัง ในการเรียนรู้ ความตื่นตัวสัมพันธ์กับการระลึกได้และการค้นคืนข้อมูลในระยะยาวดีกว่าในระยะสั้น ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยหนึ่งพบว่า สำหรับคำที่ก่อให้เกิดความตื่นตัว มนุษย์สามารถจำคำนั้นได้ถ้าระลึกถึงอาทิตย์หนึ่งหลังจากเรียนคำนั้น ดีกว่าถ้าระลึกถึงสองนาทีหลังจากเรียน [15] ส่วนอีกงานวิจัยหนึ่งพบว่า ความตื่นตัวมีอิทธิพลที่ต่างกันต่อความทรงจำในบุคคลต่างๆ กัน ฮันส์ ไอเซงค์ พบความสัมพันธ์ระหว่างความทรงจำและความตื่นตัวที่ต่างกัน ของผู้ใส่ใจภายในและผู้ใส่ใจภายนอก ความตื่นตัวที่สูงกว่าเพิ่มจำนวนคำที่จำได้ในผู้ใส่ใจภายนอก และลดจำนวนคำที่จำได้ในผู้ใส่ใจภายใน[15]
ความตื่นตัวและความชอบใจ
[แก้]เมื่อประสบกับตัวกระตุ้น ความตื่นตัวในบุคคลหนึ่งอาจจะบ่งบอกถึงความชอบใจในบุคคลนั้น งานวิจัยหนึ่งพบว่า บุคคลมักจะชอบใจตัวกระตุ้นที่คุ้นเคยมากกว่าที่ไม่คุ้นเคย ผลงานนี้บอกเป็นนัยว่า การประสบกับตัวกระตุ้นที่ไม่คุ้นเคยมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการหลีกเลี่ยง คือ ตัวกระตุ้นที่ไม่คุ้นเคยอาจจะนำไปสู่ความตื่นตัวที่สูงขึ้นและพฤติกรรมหลีกเลี่ยงในระดับที่สูงขึ้น[16]
มีงานวิจัยที่แสดงผลตรงกันข้ามว่า ความตื่นตัวที่สูงขึ้นสามารถเพิ่มพฤติกรรมการเผชิญหน้าเช่นกัน มนุษย์ทำการตัดสินใจที่เป็นไปตามสภาวะอารมณ์ คือจะเลือกทางที่นำไปสู่อารมณ์ที่ชอบใจกว่า[17]
เมื่อบุคคลมีความตื่นตัว บุคคลนั้นอาจจะพิจารณาว่า มีเหตุการณ์ต่างๆ ในวงกว้างกว่าที่น่าสนใจ[18] และพิจารณาการตัดสินใจว่าชัดเจนกว่า ซึ่งมีอิทธิพลโดยเฉพาะในสภาวะขัดแยังกันของการเผชิญหน้าและการหลีกเลี่ยง (approach-avoidance conflict[19])[17] สภาวะที่ตื่นตัวอาจจะทำให้บุคคลนั้นพิจารณาการตัดสินใจอย่างหนึ่งในทางบวกมากกว่าสภาวะที่ตื่นตัวน้อยกว่า
ทฤษฎีพลิกกลับ (reversal theory[20]) อธิบายความชอบใจในความตื่นตัวระดับสูงและระดับต่ำในสถานการณ์ต่างๆ กัน ความตื่นตัวระดับสูงและระดับต่ำอาจจะก่อให้เกิดความพอใจหรือไม่พอใจก็ได้ ขึ้นอยู่กับอารมณ์และเป้าหมายของบุคคลนั้นในเวลานั้นๆ [21]
ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความตื่นตัว
[แก้]ความตื่นตัวมีความสัมพันธ์กับทั้งความวิตกกังวลและความซึมเศร้า
ความซึมเศร้าอาจจะมีอิทธิพลต่อระดับความตื่นตัวของบุคคลหนึ่งๆ โดยเข้าไปรบกวนการทำงานของสมองซีกขวา งานวิจัยแสดงว่า ความตื่นตัวของลานสายตาด้านซ้ายในหญิงปรากฏว่ามีความช้าลง (คือตอบสนองต่อตัวกระตุ้นได้ช้าลง) เนื่องจากความซึมเศร้า ซึ่งแสดงถึงอิทธิพลของสมองซีกขวา[22]
ความตื่นตัวและความวิตกกังวลมีความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันจากความสัมพันธ์ของการตื่นตัวและความซึมเศร้า ผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลมักจะมีความรู้สึกตื่นตัวที่ผิดปกติและเกินกว่าเป็นจริง เมื่อมีภาวะเช่นนั้น ความรู้สึกตื่นตัวที่บิดเบียนไปก็จะก่อให้เกิดความกลัว และความรู้สึกเกี่ยวกับตนเองที่บิดเบียนไป ยกตัวอย่างเช่น บุคคลนั้นอาจจะเชื่อว่าเขาจะป่วยเพราะตื่นเต้นมากในการทำข้อสอบ การกลัวความปลุกเร้าของความตื่นเต้นและความรู้สึกที่มีต่อความปลุกเร้านั้น ก็จะเพิ่มระดับความวิตกกังวลของบุคคลนั้น[23]
ความตื่นตัวของพฤติกรรมที่เพิ่มขึ้นแบบผิดปกติ
[แก้]ความตื่นตัวของพฤติกรรมที่เพิ่มขึ้นแบบผิดปกติเป็นสภาวะที่มีเหตุมาจากการเลิกสุราหรือบาบิทเชอริท[24] โรคสมองอักเสบเฉียบพลัน การบาดเจ็บในสมองถึงภาวะโคม่า การชักแบบเฉพาะที่ในโรคลมชัก ความผิดปกติของเมแทบอลิซึมที่เกิดจากความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์ โรคอัลไซเมอร์ โรคพิษสุนัขบ้า รอยโรคในสมองของโรคหลอดเลือดสมองและโรคมัลติเพิล สเกลอโรซิส[25]
โดยกายวิภาค นี่เป็นความผิดปกติของระบบลิมบิก ไฮโปทาลามัส สมองกลีบขมับ อะมิกดะลา และ สมองกลีบหน้า[25] ไม่พึงสับสนความตื่นตัวที่ผิดปกติกับสภาวะฟุ้งซ่าน (mania[26])
หมายเหตุและอ้างอิง
[แก้]- ↑ reticular activating system (RAS) หรือ extrathalamic contr (คณิตศาสตร์)|เซต]]ของนิวเคลียสเซลล์ประสาทที่เชื่อมต่อกันในสมองของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ทำหน้าที่ควบคุมความตื่นตัว และการตื่นหลับ (sleep-wake transitions) ระบบย่อยที่สำคัญที่สุดของ
- ↑ 2.0 2.1 2.2 การใส่ใจภายนอก (Extraversion) เป็นการกระทำ สภาวะ หรือนิสัย ที่ส่วนมากใส่ใจ และแสวงหาความพอใจ จากสิ่งที่อยู่ภายนอกจากตน
- ↑ 3.0 3.1 การใส่ใจภายใน หรือ การใส่ใจสภาวะจิตภายใน (introversion) เป็นสภาวะของ หรือความโน้มเอียงไปใน การใส่ใจและความสนใจในสภาวะจิตใจของตน จะเป็นโดยส่วนมากหรือโดยทั้งหมดก็ตาม
- ↑ Randy J. Larsen, David M Buss; "Personality psychology, domains of knowledge about human nature", McGraw Hill, 2008
- ↑ Easterbrooke, J.A. (1959). The effect of emotion on cue utilization and the organization of behavior. Psychological Review, 66, 187-201
- ↑ Csikszentmihalyi, M., Finding Flow, 1997
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 Lashley, K (January 1930). "Basic Neural Mechanisms in Behavior". The Psychological Review. 37 (1): 1–24.
- ↑ Neuroticism เป็นบุคคลิกภาพพื้นฐานในจิตวิทยา มีอาการปรากฏคือความไม่สบายใจ อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ความกังวลใจ และความริษยา ผู้ที่ได้คะแนนสูงในภาค Neuroticism มักจะประสบความรู้สึกต่างๆ เช่น ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความรู้สึกผิด และความซึมเศร้า มากกว่าคนอื่น เป็นผู้ที่ตอบสนองต่อความกดดันรอบข้างแย่กว่าคนอื่น และมักจะคิดถึงสถานการณ์ต่างๆ ที่ปกติธรรมดาว่า เป็นภัย และอุปสรรคเล็กน้อยว่า ยากสุดที่จะหวัง มักจะสนใจในตัวเองมากและขี้อาย และอาจจะมีความยากลำบากในการควบคุมความต้องการระยะสั้น เพื่อจะได้ผลที่ดีกว่าในระยะยาว Neuroticism เป็นความเสี่ยงที่จะให้เกิดความผิดปกติทางจิตที่เกิดขึ้นจากการคิดมากเกินไป เช่น ความกลัวโน่นกลัวนี่ ความซึมเศร้า ความตกใจกลัวรุนแรงและบ่อยๆ และความผิดปกติเกี่ยวกับความวิตกกังวลแบบอื่นๆ
- ↑ 9.0 9.1 Zajenkowski, Marcin; Winiewski, Gorynska (5 January 2012). "Variability of the relationship between personality and mood". Elsevier. Personality and Individual Differences. 52: 858–861. สืบค้นเมื่อ 12 November 2012.
- ↑ การเข้ารหัสโดยรวมๆ ก็คือ การแปลงข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบหนึ่ง ไปเป็นข้อมูลในอีกรูปแบบหนึ่ง ตัวอย่างเช่น เข้ารหัสเสียงดนตรีไปเป็นหลุมเล็กๆบนซีดีที่ใช้เล่นเพลงนั้นได้
- ↑ การใส่ใจแบบเลือก (selective attention) คือความสามารถในการใส่ใจในตัวกระตุ้นอย่างหนึ่งในขณะที่ไม่ใส่ใจตัวกระตุ้นหลายอย่างอื่น เหมือนคนคุยกันในที่เสียงดังสามารถใส่ใจในบทความที่สนทนากันได้
- ↑ Sharot, T; E., Phelps (2004). "How arousal modulates memory: Disentangling the effects of attention and retention". Cognitive, Affective, & Behavioral Neuroscience. 4 (3): 294–306.
- ↑ Mickley Steinmetz, K; Schmidt, K., Zucker, H., & Kensinger, E. (2012). "The effect of emotional arousal and retention delay on subsequent-memory effects". Cognitive Neuroscience. 3 (4): 150–159.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Jeong, E; Biocca, F. (2012). "Corrigendum to "Are there optimal levels of arousal to memory? effects of arousal, centrality, and familiarity on brand memory in video games"". Computers in Human Behavior. 28 (4): 285–291.
- ↑ 15.0 15.1 Revelle, W. "The implications of arousal effects for the study of affect and memory". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-12. สืบค้นเมื่อ 2013-08-20.
- ↑ Ramsoy, T; Friis-Olivarius, M., Jacobsen, C., & Jensen, S. (2012). "Effects of perceptual uncertainty on arousal and preference across different visual domains". Journal of Neuroscience, Psychology, and Economics. 5 (4): 212–226.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 17.0 17.1 Suri, G; Sheppes, G., & Gross, J. (2012). "Predicting affective choice". Journal of Experimental Psychology: General.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Ariely, D; Loewenstein, G. (2006). "The heat of the moment: The effect of sexual arousal on sexual decision making". Journal of Behavioral Decision Making. 19 (2): 87–98.
- ↑ สภาวะขัดแยังกันของการเผชิญหน้าและการหลีกเลี่ยง (approach-avoidance conflict) เกิดขึ้นเมื่อมีเป้าหมายหรือเหตุการณ์ที่มีทั้งผลบวกและผลลบ หรือมีลักษณะที่ทำให้เป้าหมายนั้นน่าพึงใจและไม่น่าพึงใจในเวลาเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น การแต่งงานเป็นการตัดสินใจ เป็นเป้าหมาย เป็นเหตุการณ์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่มีทั้งผลลบและผลบวก สภาวะนี้เป็นองค์ประกอบของความเครียดที่ถูกเสนอโดยนักจิตวิทยาเคอร์ต เลวิน ผู้เป็นบิดาของจิตวิทยาสมัยปัจจุบัน
- ↑ ในจิตวิทยา ทฤษฎีพลิกกลับ (reversal theory) เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับบุคคลิกภาพ แรงจูงใจ และอารมณ์ ของมนุษย์ ทฤษฎีพิจารณาคุณสมบัติที่ไม่อยู่นิ่งๆ ของประสบการณ์ของมนุษย์ เพื่อจะพรรณนากระบวนการที่บุคคลหนึ่งๆ กลับไปกลับมาระหว่างสภาวะของจิตใจ ซึ่งสะท้อนถึงรูปแบบการจูงใจของบุคคลนั้น และความหมายที่บุคคลนั้นให้กับสถานการณ์นั้นในเวลานั้นๆ ตัวอย่างเช่น คนที่เล่นรถไฟตีลังกาบางครั้งก็ตื่นเต้น บางครั้งก็กลัว เด็กทารกที่ร้องไห้บางครั้งก็ก่อให้เกิดความสงสาร บางครั้งก็ก่อให้เกิดความรำคาญ
- ↑ Walters, J.; Apter, M., & Svebak, S. (1982). "Color preference, arousal, and the theory of psychological reversals". Motivation and Emotion. 6 (13): 193–215.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Liotti, M.; Tucker, D. (1992). "Right hemisphere sensitivity to arousal and depression". Brain and Cognition. 18 (2): 138–151.
- ↑ Thibodeau, M.; G?mez-P?rez, L., & Asmundson, G. (2012). "Objective and perceived arousal during performance of tasks with elements of social threat: The influence of anxiety sensitivity". Journal of Behavior Therapy and Experimental Psychiatry. 43 (3): 967–974.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ บาบิทเชอริท (barbiturate) เป็นยาที่กดระบบประสาทกลาง ดังนั้นจึงก่อให้เกิดผลต่างๆ มากมายหลายระดับ เริ่มตั้งแต่การระงับประสาทอย่างอ่อนๆ จนไปถึงการไม่รู้สึกตัว เป็นยาที่เกิดการติดได้ทั้งทางกายและทางใจ ปัจจุบันยังมีการใช้เป็นยาชา เพื่อโรคลมชัก และเพื่อเหตุอื่นๆ เป็นยาที่มีกำเนิดจากกรดบาบิชูริค
- ↑ 25.0 25.1 Mirr, Michelne Pheifer. "Abnormally Increased Behavioral Arousal" Cris Stewart- Amidei and Joyce A. Kunkel. Neuroscience Nursing: Human Response to Neurologic Dysfunction. W. B. Sunders Philadelphia: PA, 2001
- ↑ สภาวะฟุ้งซ่าน (mania) เป็นสภาวะที่มีอารมณ์ฉุนเฉียวได้ง่าย มีความตื่นตัวสูง และมีระดับพลังสูง เป็นสภาวะตรงข้ามกับสภาวะซึมเศร้าโดยบางส่วน