ข้ามไปเนื้อหา

การมองเห็นพร่ามัว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การมองเห็นพร่ามัว
สาขาวิชาจักษุวิทยา, การตรวจสายตา
สาเหตุข้อผิดพลาดการหักเหของแสง
ตัวอย่างอาการมองเห็นพร่ามัว
เมื่อเทียบกับการมองเห็นที่สุขภาพดี

การมองเห็นพร่ามัว เป็นอาการทางตาที่ทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจน และยากที่จะเห็นรายละเอียดเล็ก ๆ ได้อย่างชัดเจน

อาการการมองเห็นพร่ามัวชั่วคราวอาจเกิดจากตาแห้ง การติดเชื้อทางตา ภาวะพิษสุราเรื้อรัง ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือความดันโลหิตต่ำ อาการเหล่านี้อาจเชื่อมโยงกับโรคหรือภาวะทางสุขภาพอื่น ๆ เช่น ข้อผิดพลาดในการหักเหแสง ได้แก่ สายตาสั้น สายตายาวขั้นสูง สายตาเอียง สายตาขี้เกียจ สายตายาวตามวัย สายตาสั้นหลอก เบาหวาน ต้อกระจก โรคโลหิตจางจากการขาดวิตามินบี 12 การขาดวิตามินบี12 การขาดไทอามีน ต้อหิน จอประสาทตาเสื่อม ภาวะวิตามินเอเกิน ไมเกรน โรคโชเกรน ฝ้าในตา จอตาเสื่อม และอาจเป็นสัญญาณของโรคหลอดเลือดสมองหรือเนื้องอกในสมองได้[1][2][3]

สาเหตุ

[แก้]

มีสาเหตุหลายประการที่ทำให้เกิดอาการมองเห็นพร่ามัว ดังนี้:

  • สายตายาวตามวัย: เกิดจากความสามารถในการเพ่งสายตาลดลงตามอายุ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้สูงอายุมีปัญหาการมองเห็นระยะใกล้[3]
  • การมึนเมาจากแอลกอฮอล์ อาจทำให้มองเห็นไม่ชัด
  • ต้อกระจก: ความขุ่นมัวที่เกิดขึ้นที่เลนส์ตา ทำให้มองเห็นไม่ชัด เห็นแสงเป็นวงรัศมี และไวต่อแสงจ้า[5]
  • เบาหวาน: น้ำตาลในเลือดที่ควบคุมได้ไม่ดีอาจทำให้เลนส์ตาบวมชั่วคราว ส่งผลให้มองเห็นอาการมองเห็นพร่ามัว
  • โรคประสาทตา : หากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อจอตา และสูญเสียการมองเห็นได้

สาเหตุอื่น ๆ ของอาการมองเห็นอาการมองเห็นพร่ามัว

  • ฟลอเตอร์: วัตถุเล็ก ๆ ที่ลอยอยู่ในดวงตา มักไม่เป็นอันตราย แต่บางครั้งอาจเป็นสัญญาณของจอตาลอก
  • ไมเกรน: อาการไมเกรนอาจเริ่มต้นด้วยอาการเห็นแสงกระพริบ คลื่นแสง หรือแสงซิกแซก

อาการและการสังเกตที่เกี่ยวข้อง

[แก้]

การวินิจฉัย

[แก้]

ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยา หากมีอาการเบลอเฉียบพลันหรือเกิดร่วมกับอาการอื่น เช่น ปวดตา มองไม่เห็นสี หรือเห็นเงาผิดปกติ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น จอตาลอก หรือต้อหินขั้นรุนแรง

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Khurana, A. K. (2003). Comprehensive Ophthalmology. New Age International Publishers. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Khurana-Opt1" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  2. 2.0 2.1 American Academy of Ophthalmology. (2023). Vision Symptoms: Blurred Vision. Retrieved from www.aao.org อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ ":0" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Khurana, A. K. (2008). Theory and Practice of Optics and Refraction. Elsevier. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Khurana-Opt2" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  4. Rang, H.P. (2003). Pharmacology. Edinburgh: Churchill Livingstone. p. 147. ISBN 0443071454.
  5. John F., Salmon (2020). "Lens". Kanski's Clinical Ophthalmology : A Systematic Approach (9th ed.). Edinburgh: Elsevier. ISBN 978-0-7020-7713-5.
  6. John F., Salmon (2020). "Glaucoma". Kanski's Clinical Ophthalmology : A Systematic Approach (9th ed.). Edinburgh: Elsevier. ISBN 978-0-7020-7713-5.
  7. Coursey, Terry G; de Paiva, Cintia S (2014-08-04). "Managing Sjögren's Syndrome and non-Sjögren Syndrome dry eye with anti-inflammatory therapy". Clinical Ophthalmology. 8: 1447–1458. doi:10.2147/OPTH.S35685. ISSN 1177-5467. PMC 4128848. PMID 25120351.
  8. John F., Salmon (2020). "Neuro-ophthalmology". Kanski's Clinical Ophthalmology : A Systematic Approach (9th ed.). Edinburgh: Elsevier. ISBN 978-0-7020-7713-5.
  9. "Carbon Monoxide - Vermont Department of Health". healthvermont.gov. สืบค้นเมื่อ 2015-09-18.

ดูเพิ่ม

[แก้]