ข้ามไปเนื้อหา

การปักธงที่อิโวะจิมะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การปักธงที่อิโวะจิมะ ภาพโดย โจ โรเซนธัล ช่างภาพจากสำนักข่าวเอพี
ภาพลายเส้นสำหรับการระบุตัวบุคคลในภาพ "การปักธงที่อิโวะจิมะ" (จากซ้าย) ไอรา เฮยส์, แฟรงคลิน เซาส์เลย์ (), ไมเคิล สแตรง (†), เรเน่ แก็กนอน, จอห์น แบรดลีย์, ฮาร์ลอน บล็อก (†)
(†) = ตายในการรบที่อิโวะจิมะ
การปักธงที่อิโวะจิมะครั้งแรก ถ่ายโดย หลุยส์ อาร์. โลเวอรี บุคคลในภาพประกอบด้วย ร้อยโท แฮโรลด์ จี. ชเรียร์, สิบเอก เออร์เนสต์ ไอ. โทมัส จูเนียร์ (นั่ง), สิบตรีกองประจำการ เจมส์ มิเชลส์ (นั่งหน้าถือปืนคาร์บิน), สิบเอก เฮนรี โอ. แฮนเซน (ยืน สวมหมวกแก๊ป), สิบโท ชาร์ลส์ ดับบลิว. ลินด์เบิร์ก (ยืนขวาสุด) อย่างไรก็ตาม สิบตรีกองประจำการ เรย์มอนด์ จาคอบ ได้โต้แย้งการระบุตัวบุคคลในภาพดังกล่าว[1] และยืนยันว่าการระบุบุคคลในภาพควรเป็นดังนี้ : สิบตรีกองประจำการ เจมส์ โรบีสัน (มุมล่างซ้าย), สิบตรีกองประจำการ เรย์มอนด์ จาคอบ (ยืนแบกวิทยุสื่อสาร), ร้อยโท แฮโรลด์ จี. ชเรียร์ (นั่งด้านหลัง ขาของพลฯ เรย์มอนด์), สิบเอก เฮนรี โอ. แฮนเซน (สวมหมวกแก๊ป), ไม่ทราบ (มือจับคันธงด้านล่าง), สิบเอก เออร์เนสต์ ไอ. โทมัส จูเนียร์ (หันหลังให้กล้อง), พลฯ เสนารักษ์ จอห์น แบรดลีย์ (สวมหมวกเหล็ก ยืนอยู่เหนือสิบเอกเออร์เนสต์), สิบตรีกองประจำการ เจมส์ มิเชลส์ (นั่งหน้าถือปืนคาร์บิน), สิบโท ชาร์ลส์ ดับบลิว. ลินด์เบิร์ก (อยู่เหนือสิบตรีฯ เจมส์ มิเชลส์)

การปักธงที่อิโวะจิมะ (อังกฤษ: Raising the Flag on Iwo Jima) เป็นชื่อของภาพถ่ายประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุทธการที่อิโวะจิมะ ถ่ายเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 โดย โจ โรเซนธัล ช่างภาพจากสำนักข่าวเอพี ภาพนี้เป็นภาพเหตุการณ์ที่ทหารนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา 5 นาย และทหารเรือเสนารักษ์ 1 นาย กำลังช่วยกันปักธงชาติสหรัฐอเมริกาเหนือยอดเขาสุริบาชิ ซึ่งเป็นจุดที่สูงที่สุดของเกาะอิโวะจิมะ

ภาพดังกล่าวนี้ได้รับการกล่าวขวัญอย่างมากในสหรัฐอเมริกาและมีการตีพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง ทั้งยังได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ในปีเดียวกันอีกด้วย ซึ่งต่อมาภาพนี้ก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่ทำให้คนนึกถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 และอาจเป็นภาพที่ถูกตีพิมพ์ซ้ำมากที่สุดตลอดกาลอีกด้วย

ทหารทั้ง 6 คนที่ช่วยกันปักธงในภาพนี้ มี 3 คน (แฟรงคลิน เซาส์เลย์, ฮาร์ลอน บล็อก, และ ไมเคิล สแตรง) ได้เสียชีวิตในการรบที่อิโวจิมาในช่วงต่อมา ส่วนอีก 3 คนที่เหลือ (จอห์น แบรดลีย์, เรเน่ แก็กนอน, และ ไอรา เฮยส์) ก็กลายเป็นผู้มีชื่อเสียงขึ้นมาจากภาพดังกล่าว ซึ่งต่อมาภาพนี้ได้ถูกนำมาใช้เป็นต้นแบบของอนุสาวรีย์ทหารนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกาที่สุสานแห่งชาติอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

อ้างอิง

[แก้]
  1. "America's Greatest Generation: Marine Heroes: Raymond Jacobs". World War II Stories — In Their Own Words. October 3, 2006. สืบค้นเมื่อ 2007-01-19.