ข้ามไปเนื้อหา

การปฏิรูปปีเคโอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การปฏิรูปปีเคโอ (ญี่ปุ่น: 慶応の改革โรมาจิKeiō no Kaikaku) เป็นนโยบายใหม่ที่นำมาใช้ในช่วงปี ค.ศ. 1864 ถึง ค.ศ. 1867 โดยรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะของญี่ปุ่น[1] เพื่อตอบโต้ความรุนแรงที่เพิ่มสูงขึ้นจากแคว้นซัตสึมะและแคว้นอื่น ๆ เป็นขั้นตอนแรกที่จะกลายเป็นส่วนสำคัญในการปฏิรูปและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อมาในรัชกาลจักรพรรดิเมจิ

เมื่อโชกุนถึงแก่อสัญกรรมและจักรพรรดิเสด็จสวรรคตไล่เลี่ยกัน บากูฟู (รัฐบาลโชกุน) กำหนดการปฏิรูปปีเคโอเพื่อป้องกันมิให้ญี่ปุ่นแตกสามัคคีหรือสับสนวุ่นวาย ทั้งยังทำให้เป็นตะวันตกซึ่งระบบข้าราชการประจำ กองทัพ เศรษฐกิจ โดยมุ่งเน้นการเลื่อนขั้นในระบบราชการด้วยคุณธรรม (ไม่ใช่ชาติวุฒิ) และการปรับนโยบายการค้ากับชาติอื่น

บากูฟุหวังว่าการปฏิรูปเหล่านี้จะยุติการกบฏของซัตสึมะและโชชูซึ่งมันไม่เกิดขึ้น พวกกบฏไม่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จากบากูฟุ ซึ่งใกล้เคียงกับสิ่งที่ฝ่ายกบฏก็ต่อสู้ดิ้นรนมาโดยตลอด

ลำดับเหตุการณ์

[แก้]
  • 28 กันยายน ค.ศ. 1866 (ปีเคโอที่ 2, วันที่ 20 เดือน 8): โชกุน อิเอโมชิ ถึงแก่อสัญกรรมที่โอซาก้า: และ บากูฟุ ได้ร้องขอให้ ฮิโตสึบาชิ โยชิโนบุ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สืบทอดของ โชกุนอิเอโมชิ เนื่องจาก โชกุนอิเอโมชิ ไม่มีทายาท[2]
  • 10 มกราคม ค.ศ. 1867 (ปีเคโอที่ 2, วันที่ 5 เดือน 12): ฮิโตสึบาชิ โยชิโนบุ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นโชกุน[2]
  • 30 มกราคม ค.ศ. 1867 (ปีเคโอที่ 2, วันที่ 25 เดือน 12): จักรพรรดิโคเมเสด็จสวรรคต[2]

บรรณานุกรม

[แก้]
  1. Traugott, Mark (1995). Repertoires and Cycles of Collective Action (ภาษาอังกฤษ). Duke University Press. p. 147. ISBN 978-0-8223-1546-9.
  2. 2.0 2.1 2.2 Ponsonby-Fane, Richard. (1956). Kyoto: The Old Capital of Japan, 794–1869, p. 326.

อ้างอิง

[แก้]