การปกครองของบริษัทในอินเดีย
การปกครองของบริษัทในอินเดีย | |||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1757–1858 | |||||||||||||||||||
คำขวัญ: Auspicio Regis et Senatus Angliae "ในกำกับของพระเจ้าแผ่นดินแลรัฐสภาอังกฤษ" | |||||||||||||||||||
สถานะ | อาณานิคมร่วมทุนโดยบริษัทอินเดียตะวันออก ในกำกับของรัฐสภาแห่งบริเตนใหญ่ | ||||||||||||||||||
เมืองหลวง | กัลกัตตา (1757–1858) | ||||||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | อังกฤษ, ฮินดี, อูรดู, เปอร์เซีย | ||||||||||||||||||
การปกครอง | บริษัทอินเดียตะวันออกอันทรงเกียรติ | ||||||||||||||||||
ข้าหลวงต่างพระองค์ | |||||||||||||||||||
• 1774–75 | วอร์เรน ฮาสติงส์ (คนแรก) | ||||||||||||||||||
• 1857–58 | ชาลส์ แคนนิง (สุดท้าย) | ||||||||||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||||||||||
23 มิถุนายน ค.ศ. 1757 | |||||||||||||||||||
16 สิงหาคม 1765 | |||||||||||||||||||
18 มีนาคม 1792 | |||||||||||||||||||
31 ธันวาคม 1802 | |||||||||||||||||||
24 กุมภาพันธ์ 1826 | |||||||||||||||||||
9 มีนาคม 1846 | |||||||||||||||||||
2 สิงหาคม 1858 | |||||||||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||||||||
1858[1] | 1,942,481 ตารางกิโลเมตร (749,996 ตารางไมล์) | ||||||||||||||||||
สกุลเงิน | รูปี | ||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | บังกลาเทศ อินเดีย ปากีสถาน มาเลเซีย พม่า สิงคโปร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เยเมน |
การปกครองของบริษัทในอินเดีย หรือบางครั้งเรียกว่า กัมปานีราช (อังกฤษ: Company Raj)[2] หมายถึงการปกครองดินแดนในอนุทวีปอินเดียของบริษัทอินเดียตะวันออกของบริเตน ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1757 ภายหลังกองทหารของบริษัทมีชัยชนะในยุทธการที่ปลาศีและได้ภาคเบงกอลมาครอบครอง และในปี 1765 บริษัทก็ได้รับสิทธิในการเก็บรายได้ในเบงกอลและพิหาร ต่อมาในปี 1773 บริษัทจัดตั้งกัลกัตตาเป็นเมืองหลวง ราชสำนักอังกฤษได้แต่งตั้งข้าหลวงต่างพระองค์คนแรก[3]
หลังได้เบงกอลและพิหารมาครอบครอง บริษัทก็ได้ส่งกองทหารไปเจรจาให้รัฐพื้นเมืองต่าง ๆ ยินยอมให้บริษัทเข้าไปทำผลประโยชน์ตามเงื่อนไขที่บริษัทต้องการ รัฐใดที่ยินยอมก็จะยังมีคงอำนาจในการปกครองตนเอง ถึงกระนั้น รัฐมากมายในอินเดียตัดสินใจต่อสู้กับบริษัทและต่างพ่ายแพ้ เจ้าผู้ครองรัฐถูกริบอำนาจ รัฐตกไปอยู่ภายใต้การปกครองของบริษัท บริษัทได้ยุติบทบาทในการปกครองอนุทวีปอินเดียไปภายหลังการก่อกบฎโดยชาวพื้นเมืองในปี 1857 ซึ่งนำมาสู่การตราพระราชบัญญัติรัฐบาลอินเดีย ค.ศ. 1858 ซึ่งรัฐบาลสหราชอาณาจักรได้เข้ามาปกครองอินเดียโดยตรงแทน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ John Barnhill (14 May 2014). R. W. McColl (บ.ก.). Encyclopedia of World Geography. Infobase Publishing. p. 115. ISBN 978-0-8160-7229-3.
- ↑ Oxford English Dictionary, 2nd edition, 1989: Hindi, rāj, from Skr. rāj: to reign, rule; cognate with L. rēx, rēg-is, OIr. rī, rīg king (see RICH).
- ↑ Metcalf & Metcalf, p. 56