การนัดหยุดงานของสมาคมอาชีพนักเขียนแห่งอเมริกา ค.ศ. 2007–2008
การนัดหยุดงานของสมาคมอาชีพนักเขียนแห่งอเมริกา ค.ศ. 2007–2008 | |||
---|---|---|---|
สมาชิกของ WGA ประท้วงที่ฟอกซ์พลาซ่า ลอสแอนเจลิส เมื่อ 7 พฤศจิกายน 2007 | |||
วันที่ | 5 พฤศจิกายน 2007 – 12 กุมภาพันธ์ 2008 (3 เดือน 8 วัน) | ||
สถานที่ | สหรัฐอเมริกา | ||
สาเหตุ | ขาดข้อตกลงเกี่ยวกับสัญญาจ้างใหม่ระหว่าง WGA กับAMPTP | ||
เป้าหมาย | การเพิ่มค่าตอบแทนให้นักเขียน | ||
วิธีการ | การถือป้ายประท้วง (Picketing), การประท้วง | ||
ผล | ข้อตกลงสิ้นสุดการประท้วงในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2008 | ||
คู่ขัดแย้ง | |||
ระหว่างวันที่ 5 พฤศจิกายน 2007 ถึง 12 กุมภาพันธ์ 2008 นักเขียนบทภาพยนตร์และโทรทัศน์จำนวนกว่า 12,000 คน สมาชิกสหภาพแรงงานสมาคมอาชีพนักเขียนแห่งอเมริกาตะวันออก (Writers Guild of America, East; WGAE) และสมาคมอาชีพนักเขียนแห่งอเมริกาตะวันตก (Writers Guild of America West; WGAW) นัดหยุดงานประท้วง[1][2][3]
เพื่อเรียกร้องค่าตอบแทนเพิ่มให้กับนักเขียนเมื่อเทียบกับผลกำไรของสตูดิโอที่ใหญ่กว่า เป้าหมายของการประท้วงคือพันธมิตรผู้ผลิตภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ (Alliance of Motion Picture and Television Producers; AMPTP) ซึ่งเป็นสมาคมการค้า (trade association) ที่ประกอบด้วยผู้ผลิตภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์จำนวน 397 ราย[4] ในจำนวนนี้ประกอบด้วย 11 บริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการ คือ: ซีบีเอส (เลส มูนเวส), เอ็มจีเอ็ม (แฮร์รี อี. ซโลน), เอ็นบีซียูนิเวอร์ซอล (เจฟ ซัคเกรอ์), เดอะไวน์สไตน์คัมปานี (ฮาร์วีย์ และ บ็อบ ไวน์สไตน์), ไลเอินสเกต (จอน เฟลไธเมอร์), นิวส์คอร์เปอเรชั่น (พีเทอร์ เชิร์นนิน), พาราเมาท์พิคเจอส์ (แบรด เกรย์), ลิเบอร์ทีมีเดีย/สตาร์ซ (คริส แม็คเกิร์ก), โซนีพิคเจอส์ (ไมเคิล ลินตัน), บริษัทวอล์ตดิสนีย์ (บ็อบ ไอเกอร์) และ วอร์เนอร์บราเตอส์ (แบร์รี ไมเยอร์)[5]
ทีมเจรจาของกลุ่มนักเขียนได้ข้อตกลงที่เป็นไปได้ที่สุดในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2008 และคณะกรรมการของทั้งสองกีลด์ลงนามเอกฉันท์ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2008[6] นักเขียนได้ลงคะแนนเสียงกันในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2008 โดย 92.5% ลงมติให้สิ้นสุดการนัดหยุดงานประท้วง[7] ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ WGA ประกาศว่าสัญญาจ้างได้รับการอนุมัติโดยการยอมรับของสมาชิก 93.6% ของ WGA[8]
การนัดหยุดงานหระท้วงดำเนินไปสุทธิ 14 สัปดาห์ 2 วัน (100 วัน)[9] อย่างไรก็ตาม ทางออกหลังการประท้วงยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจน โดยทั่วไปคือนักเขียนได้รับค่าจ้างในร้อยละเทียบกับทุนของการผลิต ตามข้อตกลงที่กีลด์วางไว้[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Horiuchi, Vince (2007-11-04). "Writers strike to hit TV first - and hard". The Salt Lake Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2012. สืบค้นเมื่อ 20 July 2010.
- ↑ "Strike over, Hollywood writers head back to work". CNN.com. 2008-02-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 13, 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-05-06.
- ↑ Handel, Jonathan (2011). Hollywood on Strike!: An Industry at War in the Internet Age. Los Angeles, CA: Hollywood Analytics. p. 580. ISBN 978-1-4382-3385-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 12, 2001. สืบค้นเมื่อ 26 February 2011.
- ↑ "Alliance of Motion Picture and Television Producers". AMPTP. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-07-11.
- ↑ "Hollywood Moguls Claim 'Common Goals'". deadlinehollywooddaily.com. Deadline Hollywood Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-15.
- ↑ Littleton, Cynthia; McNary, Dave (2008-02-10). "Showrunners back to work Monday". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 February 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-02-11.
- ↑ Finke, Nikki (February 12, 2008). "STRIKE OVER: Hollywood Back To Work!". Deadline. สืบค้นเมื่อ February 20, 2021.
- ↑ "Letter from the Presidents". WGA. 2008-02-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-27. สืบค้นเมื่อ 2008-02-26.
- ↑ "The 100-Day Writers' Strike: A Timeline". The New York Times. 2008-02-12. สืบค้นเมื่อ 2008-02-13.
- ↑ "Who Won the Writers Strike?", The New York Times.