การทิ้งระเบิดที่เดรสเดินในสงครามโลกครั้งที่สอง
การทิ้งระเบิดที่เดรสเดินในสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ ยุทธวิธีการทิ้งระเบิดในสงครามโลกครั้งที่ 2 | |||||||
เดรสเดินหลังจากถูกระเบิด | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา | นาซีเยอรมัน | ||||||
กำลัง | |||||||
|
| ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
อากาศยาน 7 ลำ (โบอิง บี-17 ฟลายอิงฟอร์เทรส 1 ลำ และเอฟโร แลนด์แคสเตอร์ 6 ลำ รวมถึงคนขับ) | ถูกฆ่าสูงถึง 25,000 คน[1][2] |
การทิ้งระเบิดเดรสเดิน เป็นการโจมตีทิ้งระเบิดของฝ่ายบริติชและอเมริกันต่อเมืองเดรสเดิน เมืองหลวงของรัฐแซกโซนีของเยอรมนี ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ในการตีโฉบฉวยสี่ครั้งระหว่างวันที่ 13 และ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 เครื่องบินทิ้งระเบิดหนัก 722 ลำของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(RAF) และ 527 ลำของกองทัพอากาศทหารบกสหรัฐ(USAAF) ซึ่งได้ทิ้งระเบิดแรงสูงมากกว่า 3,900 ตันและอุปกรณ์ในการก่อให้เกิดเพลิงไหม้ในตัวเมือง[3] การทิ้งระเบิดครั้งนี้ก่อให้เกิดพายุเพลิงทำลายมากกว่า 1,600 เอเคอร์ (6.5 ตารางกิโลเมตร) ของส่วนกลางเมือง[4] มีประชากรที่เสียชีวิตลงถึง 25,000 คน[1][2][a] ถึงแม้ว่าจะมีการอ้างอิงถึงตัวเลขเสียชีวิตจำนวนมากขึ้น การตีโฉบฉวยของกองทัพอากาศทหารบกสหรัฐได้เพิ่มเติมอีกครั้ง จำนวนสองครั้ง เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม มุ่งเป้าหมายไปที่ลานจอดรถไฟของเมืองและการตีโฉบฉวยขนาดเล็กครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน มุ่งเป้าหมายไปที่เขตอุตสาหกรรม
โฆษณาชวนเชื่อของเยอรมันได้กล่าวออกมาทันทีว่าภายหลังจากการโจมตีและการอภิปรายหลังสงครามว่า การโจมตีนั้นมีเหตุสมควรหรือไม่นั้นที่ทำให้การทิ้งระเบิดกลายเป็นหนึ่งในเหตุผลทางศีลธรรม กรณีที่โด่งดัง (causes célèbres) ในสงคราม[6] ปี ค.ศ. 1953 กองทัพอากาศสหรัฐได้รายงานปกป้องปฏิบัติการว่า การทิ้งระเบิดที่สมเหตุต่อเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ ซึ่งพวกเขาได้สังเกตเห็นว่า เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางรถไฟและการสื่อสาร์ที่สำคัญ ที่ตั้งโรงงาน 110 แห่ง และคนงาน 50,000 คนที่สนับสนุนในความพยายามทำสงครามของเยอรมัน[7] นักวิจัยหลายคนได้อ้างว่าไม่ใช่โครงสร้างพื้นฐานคมนาคมทั้งหมด เช่น สะพาน เป็นเป้าหมาย และไม่ได้มีพื้นที่เขตอุตสาหกรรมที่กว้างขวางบนนอกใจกลางเมือง[8] มีการวิจารณ์ต่อการทิ้งระบิดครั้งนี้ได้รับการยืนยันว่าเดรสเดิน เป็นสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรม ในขณะที่ได้มองข้ามความสำคัญทางยุทธศาสตร์และอ้างว่าการโจมตีดังกล่าวเป็นการทิ้งระเบิดลงบนพื้นดินแบบไม่เจาะจงและไม่สอดคล้องกับผลประโยชน์ทางทหาร[9][10][11] แม้ว่าจะไม่ได้รับการสนับสนุนโดยมาตรฐานทางกฎหมายใดๆ ในขณะที่เดรสเดินได้รับการปกป้องและตั้งเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางทหารที่สำคัญและเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมสงครามหลายแห่ง บางส่วนอ้างว่าการตีโฉบฉวยครั้งนี้คือการก่ออาชญากรรมสงคราม[12] บางครั้ง ส่วนใหญ่ในกลุ่มเยอรมันฝ่ายขวาจัด ได้เรียกว่าการทิ้งระเบิดครั้งนี้ว่าเป็นการสังหารหมู่ เรียกว่า "การทิ้งระเบิดฮอโลคอสต์ที่เดรสเดิน"[13][14]
รูปแบบจำนวนมากในยอดผู้เสียชีวิตที่ได้มีการอ้างอิงได้ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 รัฐบาลเยอรมันได้ออกคำสั่งให้สื่อมวลชนเผยแพร่จำนวนผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวน 200,000 คน จากการตีโฉบฉวยเดรสเดิน และผู้เสียชีวิตจำนวนสูงสุดถึง 50,000 คนได้ถูกกล่างอ้างถึง[15][16][17] ผู้มีอำนาจเมืองในช่วงเวลานั้นได้ประเมินผู้ที่ตกเป็นเหยื่อถึง 25,000 คนซึ่งเป็นตัวเลขที่สนับสนุนในการสืบสวนภายหลัง รวมทั้งการศึกษาในปี ค.ศ. 2010 ที่ได้รับมอบหมายจากสภาเทศบาลเมือง[18] หนึ่งในนักเขียนหลักที่รับผิดชอบจากการเขียนจำนวนตัวเลขที่สูงเกินจริงได้ถูกเผยแพร่ในตะวันตกคือผู้ปฏิเสธฮอโลคอสต์ เดวิด ไอวิง ซึ่งได้ประกาศในภายหลัง เมื่อเขาได้ค้นพบว่าเอกสารที่เขาทำงานมานั้นได้ถูกปลอมแปลงขึ้นมาและจำนวนแท้จริงนั้นรองรับจำนวน 25,000 คน[19]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ Casualty figures have varied mainly due to false information spread by Nazi German and Soviet propaganda. Some figures from historians include: 18,000+ (but less than 25,000) from Antony Beevor in "The Second World War"; 20,000 from Anthony Roberts in "The Storm of War"; 25,000 from Ian Kershaw in "The End"; 25,000–30,000 from Michael Burleigh in "Moral Combat"; 35,000 from Richard J. Evans in "The Third Reich at War: 1939–1945".[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Dresden Historical Commission" (PDF). Abschlussbericht der Historikerkommission zu den Luftanfriffen auf Dresden zwischen dem 13 un 15 Februar 1945. สืบค้นเมื่อ 13 July 2023.
- ↑ 2.0 2.1 "Dresden historical commission publishes final report". www.dresden.de (ภาษาอังกฤษ). 19 January 2024.
- ↑ *The number of bombers and tonnage of bombs are taken from a USAF document written in 1953 and classified secret until 1978 (Angell 1953) .
- Taylor (2005), front flap,[ต้องการตรวจสอบความถูกต้อง] which gives the figures 1,100 heavy bombers and 4,500 tons.
- Webster and Frankland (1961) give 805 Bomber Command aircraft 13 February 1945 and 1,646 US bombers 16 January – 17 April 1945.(Webster & Frankland 1961, pp. 198, 108–109) .
- ↑ Harris 1945.
- ↑ Evans, Richard J. (2008). The Third Reich at War, 1939–1945 (Kindle ed.). London: Allen Lane. para. 13049.
- ↑ Selden 2004, p. 30 : Cites Schaffer 1985, pp. 20–30, 108–109 . Note: The casualty figures are now considered lower than those from the firebombing of some other Axis cities; see Tokyo 9–10 March 1945, approximately 100,000 dead, and Operation Gomorrah campaign against Hamburg July 1943, approximately 50,000 dead (Grayling 2006, p. 20)
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อUSAFHD
- ↑ McKee 1983, p. 62.
- ↑ Dresden was a civilian town with no military significance. Why did we burn its people? เก็บถาวร 21 เมษายน 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน By Dominic Selwood. The Telegraph, 13 February 2015
- ↑ Addison & Crang 2006, Chapter 9 p. 194.
- ↑ McKee 1983, pp. 61–94.
- ↑ Furlong, Ray (22 June 2004). "Dresden ruins finally restored". BBC News.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อVolkery
- ↑ Rowley, Tom (8 February 2015). "Dresden: The wounds have healed but the scars still show". The Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2017.
- ↑ Bergander 1998, p. 217.
- ↑ Taylor 2004, p. 370.
- ↑ Atkinson 2013, p. 535.
- ↑ Neutzner 2010, p. 68.
- ↑ "Wie David Irving eingestand, eine Fälschung genutzt zu haben". Dresdener Neueste Nachrichten (ภาษาเยอรมัน). 24 January 2005.