ข้ามไปเนื้อหา

การทำงานร่วมโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การทำงานร่วมโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (อังกฤษ: computer supported cooperative work) หรือ ซีเอสซีดับเบิลยู เป็นระบบการทำงานช่วยให้ผู้ใช้งานทำงานร่วมกันได้โดยผ่านระบบคอมพิวเตอร์ และเครือข่าย อินเทอร์เน็ต ที่เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุด หรือเครือข่ายเล็กๆแบบ ระบบแลน[1] ไปจนกระทั่งเครื่องโทรศัพท์มือถือ ก็มีส่วนช่วยในการทำงานได้ เช่น วิกิ หรือ กรุปแวร์

แนวคิด

[แก้]

แนวความคิดหลักของลักษณะการทำงานแบบ CSCW คือ การทำงานแบบรวมกลุ่มกันทำงานมากกว่าที่จะทำงานคนเดียว ซึ่งจะช่วยให้สามารถทำงานกันได้ง่าย และรวดเร็วมากขึ้น ไม่ว่าผู้ทำงานแต่ละคนจะอยู่ในส่วนใดของโลกหรือที่ทำงานก็ตาม ในการทำงานลักษณะนี้จำเป็นต้องมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิด และข้อมูลในการทำงาน โดยจะมีการพูดคุยโต้ตอบ และส่งผ่านข้อมูลกันใน 2 ลักษณะ คือ

  1. แบบที่เกิดขึ้นพร้อมกัน (Synchronous) เป็นในลักษณะที่ว่า พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และข้อมูลกันแบบสดๆ นาทีต่อนาที โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ต้องมีโปรแกรมในลักษณะคล้ายๆกัน เช่น โปรแกรมที่ใช้ในการพูดคุยผ่านเมสเซนเจอร์
  2. แบบที่เกิดขึ้นไม่พร้อมกัน (Asynchronous) เป็นการทำงานแบบไม่พร้อมกันทั้งสองคน หรือคนใดคนหนึ่งทำงานแค่คนเดียว โดยในลักษณะนี้จะใช้การสื่อสารผ่านทาง กระดานข่าว และอีเมล เป็นที่สื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลกัน

ระบบการทำงาน

[แก้]

การทำงานแบบ CSCW สามารถทำงานร่วมกันได้หลายวิธี โดยผ่านทางอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน เช่น

The Virtual Design Studio

[แก้]

เมือมีการเพิ่มขึ้นของงานในส่วนต่าง ๆ ร่วมถึงการทำงานร่วมกันของสาขาอาชีพที่แตกต่างกัน จนทำให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างหุ่นส่วนต่าง ๆ ซึ่งอยู่คนละที่ ในแนวความคิดนี้ การทำงานร่วมกันบนพื้นฐานของการทำงานแยกกันแต่ละส่วน จึงจำเป็นต้องมีตัวช่วยในการประสานกันทำงานในแต่ละส่วน

ซึ่งการทำงานร่วมกันนั้น ผู้ร่วมทำงานอาจอยู่ห่างกันมาก เป็นได้ว่าว่าจะอยู่กันคนละประเทศหรือทวีปก็ตามที ดังนั้นการทำงานร่วมกันจึงจำเป็นต้องมีระบบในการทำงานแม่เวลาจะต่างกันออกไป ซึ่งการติดต่อสื่อสารอาจใช้ทั่ง แบบในทันที่หรือร่วมเวลา และแบบรอการตอบรับหรือไม่ร่วมเวลา

การทำงานร่วมกันจะต้องขึ้นอยู่กับการเข้าใจอย่างง่ายๆ และไม่ศูนย์เสียข้อมูลข่าวสารในการส่งผ่านข้อมูล ดังนั้นระบบจะต้องมีความสามารถในการเก็บข้อมูลและนำข้อมูลมาใช้ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งสถานที่การทำงานที่ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ๆ และสามารถที่จะเข้าถึงได้ตลอดเวลาบนโลกคือ อินเทอร์เน็ตดังนั้น จึงเป็นการจำลองสำนักงานในโลกจริงไว้บนโลกของอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ทุกคนในหน่วยงานหรือสำนักงานได้เข้าทำงานได้ทุกทีทุกเวลา

ข้อจำกัด

[แก้]

ข้อจำกัดในการทำงานแบบ CSCW

  1. ความแตกต่างของการแสดงผลของหน้าจอ User Interfaceในการแสดงภาพของหน้าจอคอมพิวเตอร์แต่ละชนิดไม่เหมือนกัน ทำให้ความเข้าใจในการรับรู้ภาพที่ส่งผ่านมาจากคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดหน้าจอใหญ่กว่าลดลง เนื่องจากต้องคอย pan หรือ เลื่อนหน้าจอไปมา เพื่อดูภาพ
  2. ความแตกต่างของ ฮาร์ดแวร์ และ ซอฟต์แวร์ จะทำให้ความสามารถในการประมวลผลเกิดความล่าช้า และการเก็บข้อมูลไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจาก คอมพิวเตอร์โปรแกรม ในแต่ละเครื่องอาจจะมี เวอร์ชัน ที่แตกต่างกัน
  3. การปรับให้อุปกรณ์ที่แตกต่างกันสามารถทำงานร่วมกันได้ โดยวิธีนี้อาจจะต้องมี เซิร์ฟเวอร์ เป็นตัวกลางในการแปลงข้อมูลที่ถูกส่งมาจากแต่ละเครื่องผ่านทางเครือข่าย อินเทอร์เน็ต หรือ ระบบ แลน ให้เป็นข้อมูลในแบบที่เครื่องที่มีความสามารถต่างกันสามารถรับ และใช้งานในข้อมูลนั้นได้ ก่อนที่จะถูกส่งไปยังแต่ละ ไคลเอนต์

อ้างอิง

[แก้]
  1. Carstensen, P.H. (1999). "Computer supported cooperative work: new challenges to systems design". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-25. สืบค้นเมื่อ 2007-08-03. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)