ข้ามไปเนื้อหา

การตลาดดิจิทัล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การตลาดดิจิทัล (อังกฤษ: Digital marketing) เป็นรูปแบบหนึ่งของการตลาดสินค้าหรือบริการที่ใช้เทคโนโลยีด้านดิจิทัลทางอินเทอร์เน็ต ทั้งแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือ การโฆษณาด้วยการแสดงข้อความจอภาพ และสื่อดิจิทัลอื่น ๆ[1]

การพัฒนาการตลาดดิจิทัลในช่วงระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1990 และ 2000 ได้เปลี่ยนวิธีการทำแบรนด์และธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยีในการทำการตลาด[2] เมื่อดิจิทัลแพลตฟอร์มมีบทบาทมากขึ้นในแผนการตลาดและชีวิตประจำวัน[3] ผู้คนก็ต่างใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัลมากขึ้น แทนที่จะไปร้านค้าจริง ๆ[4][5] การโฆษณาการตลาดดิจิทัลจึงได้รับความนิยม โดยใช้ทั้งเอสอีโอ (SEO), การตลาดเสิร์ชเอนจิน (SEM), การตลาดด้านเนื้อหา, การตลาดโดยผู้ทรงอิทธิพล, เนื้อหาอัตโนมัติ, การโฆษณาทางการตลาด, การขับเคลื่อนข้อมูลด้วยการตลาด,[6] การตลาดอีคอมเมิร์ช, การตลาดสื่อสังคมออนไลน์, การปรับแต่งสื่อสังคมออนไลน์, การตลาดโดยอีเมล์โดยตรง, การโฆษณาด้วยการแสดงข้อความจอภาพ, หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และออปติคอลดิสก์และเกม ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป การตลาดดิจิทัลยังครอบคลุมถึงช่องทางต่าง ๆ ที่ไม่ใช่อินเทอร์เน็ต อาทิ โทรทัศน์, โทรศัพท์เคลื่อนที่ (เอสเอ็มเอสและบริการข้อความสื่อประสม), เสียงรอสาย เป็นต้น[7]

ในปัจจุบันการตลาดดิจิทัลเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเนื่องด้วยสถานการณ์โควิด 19 ทำให้ผู้คนหันมาสนใจทางด้านการตลาดออนไลน์ เพราะช่วยในเรื่องความสะดวกและยังมี digital platform หลากหลาย เรียกว่า การตลาด 5.0 (Omni Chanel) ทำให้การตลาดดิจิทัลเติบโตอย่างรวดเร็ว[8] โดยได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายทั้งในไทยและต่างประเทศ เพราะช่วยอำนวยความสะดวกในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็น ของใช้ อาหาร หรืออื่นๆ

ประเภทของการตลาดแบบดิจิทัล

[แก้]

การตลาดแบบดิจิทัลแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท โดยผู้ใช้สามารถเลือกใช้ได้ ตามความเหมาะสมของสินค้า บริการ หรืองบประมาณของตนเอง ได้แก่

  1. การทำโฆษณาออนไลน์ โดยสามารถทำได้ทั้งผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ อย่าง Google Ads, Meta Ads, Linkedin Ads และอื่นๆ โดยการตลาดประเภทนี้จะช่วยให้โฆษณาของคุณเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้รวดเร็วและแม่นยำที่สุดและง่ายที่สุด รวมถึงอาจมีการใช้งบประมาณที่สูงตามไปด้วยขึ้นอยู่กับการจัดวางโฆษณา และการวิเคราะห์ตลาด
  2. การทำ SEO ซึ่งจะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณติดหน้าแรกของ Search Engine โดย Search Engine ที่คนส่วนมากนิยมใช้คือ Google การทำ SEO ต้องมีทั้งการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น คีย์เวิร์ด หรือการสร้างเว็บไซต์ให้ถูกใจ Search Engine เพื่อผลักดันให้เว็บไซต์ของคุณติดหน้าแรกในการค้นหา โดยเน้นผลลัพธ์ในรูปแบบของการแสดงผลในระยะยาว
  3. Local SEO หรือ เป็นการทำให้หน้าร้านค้าออฟไลน์ของคุณ แสดงผลมากขึ้นเมื่อทำการค้นหาบนหน้า Search Engine หรือด้วยวิธีออนไลน์ โดยเครื่องมือที่นิยมใช้คือ Google Business Profile เน้นผลลัพธ์ในรูปแบบของการแสดงผลในระยะยาวเช่นกัน[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Definition of digital marketing". Financial Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2017. สืบค้นเมื่อ 22 August 2015.
  2. "EBSCO Publishing Service Selection Page". Eds.b.ebscohost.com. สืบค้นเมื่อ 10 January 2018.[ลิงก์เสีย]
  3. Nielsen (10 March 2016). "Digital Advertising is Rising in Canada, Requiring More Sophisticated Measures of Success". Nielsen. Nielsen. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-18. สืบค้นเมื่อ 25 March 2016.
  4. Nielsen (20 January 2016). "Connected Commerce is Creating Buyers Without Border". Nielsen Global. Nielsen Global. สืบค้นเมื่อ March 25, 2016.
  5. Dahlen, Micael (2010). Marketing Communications: A Brand Narrative Approach. Chichester, West Sussex UK: John Wiley & Sons Ltd. p. 36.
  6. How To Embrace The Five Steps Of Data-Driven Marketing Published by Forbes, October 17, 2013; accessed 17 January, 2017
  7. "Digital Marketing". Techopedia. สืบค้นเมื่อ 22 August 2015.
  8. Su, Bill (2018-06-08). "The evolution of consumer behavior in the digital age". Analytics for Humans (ภาษาอังกฤษ).{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "Data driven Marketing Specialists | Drive Your Business Forward". Marketing Bear (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-02-23.