ข้ามไปเนื้อหา

การจลาจลในลอสแอนเจลิส พ.ศ. 2535

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การจลาจลในลอสแอนเจลิส พ.ศ. 2535
ทหารกำลังพิทักษ์ชาติ 2 นายกำลังลาดตระเวนในเมืองระหว่างเกิดการจลาจล
วันที่29 เมษายน – 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
สถานที่เทศมณฑลลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ
สาเหตุ
วิธีการการจลาจล การปล้นทรัพย์ การประทุษร้าย การวางเพลิง การประท้วง การทำลายทรัพย์สิน และการยิงกัน
คู่ขัดแย้ง
ผู้ก่อการจลาจลและปล้นทรัพย์ ส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา และชาวอเมริกันเชื้อสายฮิสปานิกและลาติน[1]
พลเมืองติดอาวุธเพื่อป้องกันตัวจากผู้ก่อการจลาจล ส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลี
ความเสียหาย
เสียชีวิต63[2]
บาดเจ็บ2,383
ถูกจับกุม12,111[3][4]

การจลาจลในลอสแอนเจลิส พ.ศ. 2535 หรือ การก่อการกำเริบในลอสแอนเจลิส พ.ศ. 2535[5] เป็นการก่อความไม่สงบที่เกิดขึ้นในเทศมณฑลลอสแอนเจลิส ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 ความไม่สงบเริ่มขึ้นในวันที่ 29 เมษายน เมื่อมีคำพิพากษาให้ตำรวจ 4 นายพ้นผิดจากข้อหากระทำการเกินกว่าเหตุและทำร้ายร่างกายขณะจับกุมรอดนีย์ คิง ชายผิวสีที่ก่อเหตุเมาแล้วขับ การจลาจลดำเนินอยู่ 6 วันก่อนจะจบลงในวันที่ 4 พฤษภาคม มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 50 คน ทรัพย์สินเสียหายคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[6]

การจลาจลในลอสแอนเจลิสในปี พ.ศ. 2535 เป็นผลพวงมาจากหลายสาเหตุ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2534 ความขัดแย้งทางเชื้อชาติระหว่างชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกากับชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีเพิ่มสูงขึ้นเมื่อซุน จาดู เจ้าของร้านค้าผู้มีเชื้อสายเกาหลียิงลาตาชา ฮาร์ลินส์ เด็กสาวผิวสีวัย 15 ปีจนเสียชีวิตหลังดูกล่าวหาว่าฮาร์ลินส์พยายามขโมยของในร้าน[7][8] เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2534 คณะลูกขุนมีความเห็นให้ดูมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา (voluntary manslaughter) มีโทษสูงสุดคือจำคุก 16 ปี แต่จอยซ์ คาร์ลิน ผู้พิพากษาตัดสินให้ดูถูกคุมประพฤติ 5 ปี บำเพ็ญงานสาธารณประโยชน์ 400 ชั่วโมง และปรับ 500 ดอลลาร์สหรัฐ[9][10] ในเดือนเดียวกับที่ดูก่อเหตุ รอดนีย์ คิงและเพื่อนอีก 2 คนถูกตำรวจจับกุมหลังเมาแล้วขับและพยายามหลบหนีการจับกุม คิงและเพื่อนถูกตำรวจรุมทำร้ายระหว่างการจับกุม ซึ่งมีผู้บันทึกวิดีโอเหตุการณ์ไว้ได้แล้วส่งไปให้สำนักข่าวท้องถิ่นเคทีแอลเอ[11]: 85  เดือนเมษายน พ.ศ. 2535 หลังอัยการเขตเทศมณฑลลอสแอนเจลิสตั้งข้อหาตำรวจ 4 นายว่ากระทำการเกินกว่าเหตุและใช้กำลังประทุษร้าย[12] คณะลูกขุนที่ส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกันผิวขาวมีความเห็นให้ตำรวจทั้ง 4 นายไม่มีความผิด[13] หลังตีความเหตุการณ์ในวิดีโอว่าคิงพยายามขัดขืนการจับกุม[14]

หลังประกาศคำพิพากษาในวันที่ 29 เมษายน เกิดการชุมนุมที่หน้ากรมตำรวจลอสแอนเจลิสและชาวผิวสีบางกลุ่มที่โกรธแค้นเริ่มไล่ทำร้ายชาวอเมริกันผิวขาวในลอสแอนเจลิสใต้ ก่อนที่วันต่อมามีการประกาศเคอร์ฟิว และความรุนแรงแผ่ขยายไปเป็นการวางเพลิงและปล้นทรัพย์ในลอสแอนเจลิสกลาง รวมถึงการปะทะกันระหว่างชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกากับชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีเมื่อมีผู้ก่อการจลาจลบุกโคเรียทาวน์ วันที่ 1 พฤษภาคม รอดนีย์ คิงเรียกร้องให้มีการยุติการจลาจล มีการเคลื่อนกำลังจากรัฐบาลท้องถิ่นและรัฐบาลกลางรวมกว่า 10,000 นายเข้ามาในเมือง วันที่ 4 ของการจลาจล (2 พฤษภาคม) มีการเพิ่มกำลังเสริมรวมเป็น 13,500 นาย ทำให้ลอสแอนเจลิสกลายเป็นเมืองที่ถูกกองประจำการสหรัฐยึดครองมากที่สุดนับตั้งแต่การจลาจลในวอชิงตัน ดี.ซี. พ.ศ. 2511[15] การจลาจลจบลงในวันที่ 4 พฤษภาคม เมื่อกองกำลังรัฐบาลควบคุมสถานการณ์ไว้ได้และยกเลิกเคอร์ฟิว แต่ให้คงกำลังไว้จนถึงวันที่ 27 พฤษภาคม[16]

หลังเหตุการณ์สงบ มีผู้เสียชีวิต 63 คน บาดเจ็บ 2,383 คน และถูกจับกุม 12,111 คน อาคารบ้านเรือนถูกเผาทำลายกว่า 3,767 แห่ง[17] กรมตำรวจลอสแอนเจลิสถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงบทบาทในการควบคุมและจัดการสถานการณ์ที่ผิดพลาดจนแดริล เกตส์ ผู้บัญชาการตำรวจประกาศลาออก[18] ด้านคดีรอดนีย์ คิงได้รับการพิจารณาใหม่ในปี พ.ศ. 2536 นำไปสู่การตัดสินโทษตำรวจ 4 นายที่เคยทำร้ายคิง โดย 2 นายได้รับโทษจำคุก 30 เดือนฐานละเมิดสิทธิพลเมือง ส่วนอีก 2 นายถูกไล่ออกจากกรมตำรวจลอสแอนเจลิส[19] ส่วนคิงได้รับเงินชดเชย 3.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[20]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Lieberman, Paul (June 18, 1992). "51% of Riot Arrests Were Latino, Study Says : Unrest: RAND analysis of court cases finds they were mostly young men. The figures are open to many interpretations, experts note". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ August 4, 2020.
  2. "Los Angeles riots: Remember the 63 people who died". April 26, 2012.
  3. Harris, Paul (1999). Black Rage Confronts the Law (ภาษาอังกฤษ). NYU Press. p. 186. ISBN 9780814735923. สืบค้นเมื่อ October 25, 2017.
  4. Rayner, Richard (1998). The Granta Book of Reportage (ภาษาอังกฤษ). Granta Books. p. 424. ISBN 9781862071933. สืบค้นเมื่อ October 25, 2017.
  5. Danver, Steven L., บ.ก. (2011). "Los Angeles Uprising (1992)". Revolts, Protests, Demonstrations, and Rebellions in American History: An Encyclopedia, Volume 3. Santa Barbara, Calif.: ABC-CLIO. pp. 1095–1100. ISBN 978-1-59884-222-7.
  6. "Los Angeles Riots Fast Facts". CNN. April 12, 2020. สืบค้นเมื่อ September 10, 2020.
  7. Jennings, Angel (March 18, 2016). "How the killing of Latasha Harlins changed South L.A., long before Black Lives Matter". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ September 10, 2020.
  8. Parvini, Sarah; Kim, Victoria (April 29, 2017). "25 years after racial tensions erupted, black and Korean communities reflect on L.A. riots". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ June 28, 2020.
  9. "Judge Who Gave Probation In a Slaying May Be Moved". The New York Times. January 24, 1992.
  10. "U.S. Looks Into Korean Grocer's Slaying of Black Published", The New York Times, November 26, 1992
  11. Lester, P. M., Visual Ethics: A Guide for Photographers, Journalists, and Filmmakers (Abingdon-on-Thames: Routledge, 2018), p. 85.
  12. Mydans, Seth (March 6, 1992). "Police Beating Trial Opens With Replay of Videotape". The New York Times. สืบค้นเมื่อ April 20, 2010.
  13. "After the riots; A Juror Describes the Ordeal of Deliberations". The New York Times. May 6, 1992. สืบค้นเมื่อ March 4, 2011.
  14. Feuerherd, Peter (February 28, 2018). "Why Didn't the Rodney King Video Lead to a Conviction?". JSTOR Daily. สืบค้นเมื่อ September 10, 2020.
  15. "Operation Garden Plot, JTF-LA Joint Task Force Los Angeles". GlobalSecurity.org. สืบค้นเมื่อ April 24, 2012.
  16. Howitt, Arnold M.; Leonard, Herman B. (2009). Managing Crises: Responses to Large-Scale Emergencies (ภาษาอังกฤษ). CQ Press. p. 191. ISBN 9781483351322.
  17. "Three black journalists talk about the L.A. riots, 24 years later". www.medium.com. Los Angeles Times. April 29, 2016. สืบค้นเมื่อ May 2, 2016.
  18. Cannon, Lou; Lee, Gary (May 2, 1992). "Much Of Blame Is Laid On Chief Gates". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ November 22, 2018.
  19. Sastry, Anjuli; Bates, Karen Grigsby (April 26, 2017). "When LA Erupted In Anger: A Look Back At The Rodney King Riots". NPR. สืบค้นเมื่อ September 10, 2020.
  20. Wallenfeldt, Jeff (July 23, 2020). "Los Angeles Riots of 1992". Britannica. สืบค้นเมื่อ September 10, 2020.