แนวคิดว่าด้วยกัมพูชาในช่วงการปฏิวัติขอม
ประวัติศาสตร์กัมพูชามาจากพระราชพงศาวดารกรุงกัมพูชา และบันทึกราชทูตคังไถ่ราชฑูตชาวจีนในสมัยอาณาจักรอู๋ และบันทึกของ โจว ต้ากวน ราชฑูตจีนในสมัยราชวงศ์เหวียนที่เข้ามายังเมืองพระนครหลวงในสมัย พระเจ้าอินทรวรมันที่ 3 โดยพระราชพงศาวดารกรุงกัมพูชาฉบับรบากษัตริย์ระบุว่าพระเจ้าแตงหวานหรือพระบาทสมเด็จพระศรีสุริโยพันธุ์ที่ 1 เป็นพระปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรเขมร แม้พระองค์จะทรงปกครองเพียงช่วงเวลาสั้นๆ แต่ก็เป็นช่วงเวลาสำคัญของการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์กัมพูชา
แนวคิดว่าด้วยกัมพูชาในช่วงการปฏิวัติขอมนั้นเกิดจากการวิเคราะห์จากนักวิชาการและนักประวัติศาสตร์ไทยหลายคน ซึ่งมองว่าพระราชพงศาวดารกรุงกัมพูชาอาจไม่มีความน่าเชื่อถือ แต่ได้นำพงศาวดารของสยาม จามปา และจีน ที่มีการบันทึกช่วงเวลาเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกันกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในกัมพูชาบางเหตุการณ์ที่มีความสอดคล้องกันกับช่วงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นมาวิเคราะห์จนเกิดเป็นแนวคิดขึ้นมา ต่อมาการพิสูจน์หลักฐานในเชิงพันธุกรรม ของชาวเขมรโบราณก็ค้นพบว่า ชาวเขมรไม่มีส่วนร่วมกับอารยธรรมอินเดียโบราณ ต่างจาก ไทย เวียดนาม หรือประเทศอื่นๆในอาเซียน และมีความเป็นไปได้ว่า ชาวเขมรเป็นเพียงแรงงานที่ซื้อขายมาจากหมู่เกาะในอินโดนีเซียเท่านั้น [1][2] รวมถึงบันทึกของ โจว ต้ากวน ก็ค่อนข้างระบุชัดเจนในความแตกต่างระหว่างชาวสยาม และ ชาวพื้นเมือง อีกทั้งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบในประเทศไทย ทั้ง อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เมืองโบราณอู่ทอง ปราสาทหินพิมาย ปราสาทเมืองต่ำ ที่มีความเก่าแก่มากกว่านครวัด อีกทั้งบนกำแพงนครวัดก็มีการสลักคำว่า เสียมกุ๊ก หรือ สยามประเทศ ซึ่งแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรสยามโบราณได้อย่างชัดเจน
เส้นเวลาในแต่ละช่วง
[แก้]การปฏิวัติและการสิ้นสุดของอิทธิพลของอินเดียในกัมพูชา
[แก้]ตามพระราชพงศาวดารของกรุงกัมพูชาหลังจากการปฏิวัติในอาณาจักรพระนครเพื่อโค่นล้มอำนาจการปกครองของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์มหิธรปุระ นำโดยตระซ็อกประแอม ผู้เป็นพระราชบุตรเขยได้ลอบปลงพระชนม์พระเจ้าชัยวรมันที่ 9 พระสัสสุระด้วยหอกและสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่ของอาณาจักรพระนครหลวง ตระซ็อกประแอม เป็นกษัตริย์องค์แรกของ ราชวงศ์ตรอซ็อกผแอม ซึ่งถือเป็นปฐมกษัตริย์ต้นราชวงศ์ของ ราชสกุลนโรดม[3][4]
จากบันทึกของ โจว ต้ากวน ราชทูตจีนที่เดินทางมายังเมืองพระนครหลวงในสมัย พระเจ้าอินทรวรมันที่ 3 บันทึกว่าในเมืองนี้มีทาสมากกว่านายทาส [5] ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่บรรดาทาสกล้าก่อกบฏเพื่อปลดปล่อยตัวเองจากชนชั้นปกครอง โดยกลุ่มทาสใด้ร่วมกันสังหารนายทาสทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ต่อมาในปี ค.ศ. 1336 ได้ปรากฏพระนามของกษัตริย์พระองค์ใหม่คือ พระบาทศรีสุริโยพันธุ์ หรือ พระเจ้าแตงหวาน หรือ ตระซ็อกประแอม[6][7] ในพระราชพงศาวดารของกัมพูชาระบุว่าพระเจ้าแตงหวานทรงมีพระราชโอรส 2 พระองค์ที่ได้ครองราชสมบัติคือ พระบรมนิพพานบท และ พระสิทธานราชา
สงครามกับอาณาจักรอยุธยา
[แก้]รัชสมัยของพระบรมนิพพานบท พระราชโอรสของพระเจ้าตรอซ็อกผแอม (พระเจ้าแตงหวาน) เมื่อพระองค์ทรงขึ้นครองราชสมบัติแทนพระบิดาแล้วนั้นฝ่ายละโว้อโยธยาได้ส่งเจ้าใส้เทวดาเป็นราชทูตมาเพื่อเจริญไมตรี พระบรมนิพพานบทมิไว้วางพระทัยจึงให้ฆ่าฑูตนั้นเสียซึ่งเป็นการประพฤติผิดจารีตธรรมเนียมการฑูต และเป็นการไม่ไว้ด้วยพระราชไมตรีต่อกัน เหตุนี้ทำให้กองทัพละโว้อโยธยาได้ยกทัพมาล้อมพระนครไว้ได้ 1 ปีเศษแต่ยังตีชิงเอาเมืองมิได้พระบรมนิพพานบททรงปริวิตกเป็นอันมากเนื่องจากภายในกำแพงพระนครเกิดการขาดแคลนเสบียงอาหาร ทรงตรอมพระทัยประชวรเสด็จทิวงคตในปี ค.ศ. 1346 ท่ามกลางข้าศึกที่ยังล้อมพระนครไว้ พระสิทธานราชา พระอนุชาจึงขึ้นสืบราชสมบัติรักษาพระนครทัพละโว้อโยธยาจึงยกทัพกลับ พระสิทธานราชาทรงครองราชสมบัติเพียง 1 ปีจึงสละราชสมบัติให้ พระบรมลำพงษ์ราชา ในปี ค.ศ. 1348
ปี ศ.ศ 1351 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หลังจากได้ตั้งราชธานีใหม่ที่กรุงศรีอยุธยาแล้ว ได้มีพระบัญชาให้พระราเมศวรยกทัพเข้ามาตีเมืองพระนครหลวง ตรงกับรัชสมัยของพระบรมลำพงษ์ราชาธิราชของกัมพูชา แต่ทัพยังมาไม่ถึงเมืองพระนครความทราบถึงฝ่ายเขมร จึงมีบัญชาให้พระศรีสุริโยทัย อนุชาในพระบรมลำพงษ์ราชาเป็นแม่ทัพฝ่ายเขมร ยกทัพไปตีสกัดทัพฝ่ายอยุธยาที่ยกมาแตกพ่ายไปสิ้นคนทิศ พระบรมลำพงษ์ราชานึกนอนใจว่าศัตรูไม่อาจทำอะไรได้อีก จึงทรงบัญชาให้ถอนทัพ เมื่อทัพอยุธยายกทัพกลับมาอีกครั้งโดยขุนหลวงพะงั่ว หรือสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1ในเวลาอันกระชั้นชิดฝ่ายเมืองพระนครจึงระดมเกณฑ์พลไม่ทันการ จึงทำการกวาดต้อนราษฎรนอกกำแพงพระนครให้เข้ามาไว้ในกำแพงเมือง ทัพจากอยุธยาได้เข้าล้อมเมืองพระนครหลวงเป็นเวลา 1 ปี 5 เดือนเศษ ภายในกำแพงพระนครเกิดขาดแคลนเสบียงอาหารอย่างหนัก พระบรมลำพงษ์ราชาจึงตัดสินพระทัยแต่งทัพออกสู้โดยให้พระศรีสุริโยวงษ์เป็นทัพหน้า สมเด็จพระบรมลำพงษ์ราชาเป็นทัพหลวง และพระศรีสุริโยวงษ์เป็นทัพหลัง ได้แต่งทัพออกสู้สุดกำลังแต่เนื่องจากการขาดแคลนอาหารเนื่องจากการถูกล้อมเป็นเวลานานไพร่พลเหล่าทหารจึงอ่อนแรงจนไม่อาจต้านทานกองกำลังฝ่ายอยุธยาใด้ พระบากษัตรแม่ทัพจากอยุธยาสามารถตีทัพหน้าของพระศรีสุริโยวงษ์ได้และทลายประตูเมืองพระนครส่วนพระศรีสุริโยวงษ์ทรงสิ้นพระชนม์ในสนามรบ กองทัพฝ่ายอยุธยารุกเข้าตีทัพหลวงของพระบรมลำพงษ์ราชาและพระองค์ก็สวรรคตด้วย ฝ่ายพระศรีสุริโยวงษ์เห็นว่ามิอาจต้านทานรักษาพระนครไว้ได้แล้ว จึงสั่งเหล่าราชครูปุโรหิตมหาอำมาตย์พากันนำเครื่องราชย์กกุธภัณฑ์ อันมีพระขรรค์ราช พระแสงหอกลำแพงชัย ตีฝ่ากองทัพสยามหนีออกไปทางชายแดนล้านช้าง เมืองพระนครหลวงแตกในปี ค.ศ. 1352 บุตรของสมเด็จพระรามาธิบดีทั้ง 3 คือ บาสาต บาอัฐ และ กำปงพิสี ขึ้นเสวยราชย์สืบต่อกันในเมืองพระนครตั้งแต่ปี ค.ศ. 1352 ถึง ค.ศ. 1357 [8]
พระศรีสุริโยวงษ์อนุชาพระลำพงราชาซึ่งเสด็จหนีราชภัยออกไปได้เมื่อกรุงแตกได้รวบรวมทัพเขมรที่หนีพ่ายและยกทัพมาตีเมืองพระนคร โดยรวบรวมไพร่พลที่ชายแดนล้านช้างและยกทัพไปตีเอาเมืองพระนครหลวงได้คืนในปี ค.ศ. 1357 เจ้ากำปงพิสีทรงสิ้นพระชนม์ในสนามรบ จากนั้นพระองค์ทรงขับไล่สยามออกจากพระนครหลวง และเมืองพิมายได้สำเร็จ พระบาทสุริโยวงศ์ทิวงคตในปี ค.ศ. 1363 พระบรมรามาพระอนุชาของพระองค์ ตามด้วยพระบาทศรีธรรมาโศกราชตามลำดับ
ต่อมาทัพอยุธยานำโดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ได้ยกมาล้อมพระนครอีกครั้งได้ 7 เดือนกรุงจึงแตก ฝ่ายสยามได้ยกพระยาอินทราชาขึ้นครองเมืองพระนครหลวงโดยให้ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาภายหลังพระยาอินทราชาทรงสิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคปัจจุบันกษัตริย์อยุทธยาจึงตั้งพระยาแกรกขึ้นครองเมืองพระนคร ฝ่ายพระบรมราชา (เจ้าพระยาญาติ)โอรสพระองค์หนึ่งของพระศรีสุริโยวงษ์เสด็จหนีไปได้โดยหนีไปอาศัยอยู่ ณ บ้านตันหัก แลนายบ้านนั้นชื่อขุนพลาไชย พาพรรคพวกมาพิทักษ์รักษาพญาญาติไว้ ครั้นอยู่มาวันหนึ่งพญาญาติแต่งกลอุบายเอาดาบใส่ในแง (ภาชนะใส่เหล้า) สุราผนึกปลอมเข้าไปกับของทั้งปวงเข้าไปถวายพระอินทราชาให้เปิดแงออก ผู้ซึ่งเอาของนั้นก็ชักเอาดาบในแงเข้าฟันพระอินทราชาจนสิ้นพระชนม์[9] จากนั้นได้รวบรวมไพร่พลแล้วทรงยกทัพมาตีเอาเมืองพระนครคืน เมื่อขึ้นครองราชสมบัติแล้วทรงตัดสินพระทัยในการย้ายราชธานีไปที่เมืองบาสาณ ก่อนจะย้ายไปยังเมืองจตุมุข[10]
การสิ้นสุดของยุคอังกอร์
[แก้]ในปี พ.ศ. 1974 เมื่อพระบรมราชา (เจ้าพระยาญาติ) ใด้ครองราชสมบัติแล้วนั้นทรงดำริว่า เมืองพระนครนี้ถูกข้าศึกโจมตีหลายครั้งหลายคราเกิดความเสียหายเป็นอันมากจะบูรณะขึ้นมาก็ไม่งามแล้ว อีกทั้งอยู่ใกล้กับชายแดนอยุธยาจะยกทัพมาอีกเมื่อใหร่ก็ได้ พระองค์จึงตัดสินพระทัยย้ายราชธานีไปที่เมืองบาสาณ ต่อมาเมืองบาสานเกิดภัยน้ำท่วมใหญ่จึงย้ายราชธานีอีกครั้งไปที่เมืองจตุมุข ถือเป็นการสิ้นสุดยุคอาณาจักรขอมอันยิ่งใหญ่ พระมหากษัตริย์องค์ต่อๆหลายพระองค์มีความพยายามจะย้ายราชธานีกลับไปที่พระนครหลวงอีกครั้งแต่ไม่ประสบความสำเร็จ เมืองพระนครจึงถูกทิ้งร้างนานหลายร้อยปี ปิดฉากอดีตยุคแห่งความรุ่งเรืองของจักรวรรดิเขมร อารยธรรมฮินดูอันยิ่งใหญ่และอารยธรรมขอมโบราณเข้าสู่ ยุคหลังนครวัด[11][4]
ลำดับวงศ์ตระกูลของกษัตริย์กัมพูชาในสมัยปฏิวัติอังกอร์
[แก้]พระนางจันทรวรเทวี พระราชธิดาในพระเจ้าชัยวรมันที่ 9 | พระเจ้าแตงหวาน r.1336-1340 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระบรมนิพพานบท r.1340-1346 | พระสิทธานราชา r.1346-1347 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระศรีสุริโยวงษ์ r.1357-1363 | พระบรมลำพงษ์ราชา r.1347-1352 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระศรีสุริโยวงษ์ 2 | พระบรมรามา r.1363-1373 | พระเจ้าธรรมโศรกราช r.1373-1393 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระบรมราชา (เจ้าพระยาญาติ) 1396–1466 r.1432-1463 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Changmai, Piya; Pinhasi, Ron; Pietrusewsky, Michael; Stark, Miriam T.; Ikehara-Quebral, Rona Michi; Reich, David; Flegontov, Pavel (2022-12-29). "Ancient DNA from Protohistoric Period Cambodia indicates that South Asians admixed with local populations as early as 1st–3rd centuries CE". Scientific Reports (ภาษาอังกฤษ). 12 (1): 22507. doi:10.1038/s41598-022-26799-3. ISSN 2045-2322.
- ↑ Godinez, Cyrill John P.; Layos, John King N.; Yamamoto, Yoshio; Kunieda, Tetsuo; Duangjinda, Monchai; Liao, Lawrence M.; Huang, Xun-He; Nishibori, Masahide (2022-08-26). "Unveiling new perspective of phylogeography, genetic diversity, and population dynamics of Southeast Asian and Pacific chickens". Scientific Reports (ภาษาอังกฤษ). 12 (1): 14609. doi:10.1038/s41598-022-18904-3. ISSN 2045-2322.
- ↑ Phoeun, Mak (1984). Chroniques royales du Cambodge : Volume 1 (des origines légendaires jusqu'à Paramaraja) (ภาษาฝรั่งเศส). p. 117. ISBN 2-85539-537-2.
- ↑ 4.0 4.1 ภักดีคำ, ศานติ (2011). "เขมรรบไทย". มติชน. p. 272.
- ↑ Zhou, Daguan (2007). A Record of Cambodia. Translated by Peter Harris. University of Washington Press. ISBN 978-9749511244.
- ↑ บัวคำศรี, ธิบดี. พงศาวดารกัมพูชาที่แปลชำระและที่นิพนธ์เป็นภาษาไทย พ.ศ. 2339-2459 กับหน้าที่ที่มีต่อชนชั้นปกครองไทย.
- ↑ เชยกีวงศ์, อุดม (2009). "วัฒนธรรมขอมกับความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา". วัฒนธรรมขอมกับความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา (สำนักพิมพ์ภูมิปัญญา): 163.
- ↑ ปิดฉาก “เมืองพระนคร” บ้านเมืองล่มสลาย ผู้คนถูกกวาดต้อน เหตุสงคราม “อยุธยา” บุก “เขมร”.silpa-mag.com.เสมียนอารีย์.2565
- ↑ Kranz, Florence (2018-09). "Occupational Deprivation – Weit entfernt von bedeutungsvollen Betätigungen". ergopraxis. 11 (09): 10–11.
- ↑ ศานติ ภักดีคำ. "เอกสารกัมพูชากับการศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา" (PDF).
- ↑ Coedès, George; Coedès, George (1996). The Indianized states of Southeast Asia. Honolulu: East-West Center Pr. p. 236. ISBN 978-0-8248-0368-1.