ข้ามไปเนื้อหา

กลุ่มอาการไดออจอินีส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลุ่มอาการไดออจอินีส
ชื่ออื่นกลุ่มอาการคนชราซกมก (Senile squalor syndrome)
ห้องที่เต็มไปด้วยขยะ
สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์, เวชศาสตร์สูงวัย

กลุ่มอาการไดออจอินีส (อังกฤษ: Diogenes syndrome) กลุ่มอาการคนชราซกมก (อังกฤษ: senile squalor syndrome; ตรงตัว: โรคซกมกวัยชรา) เป็นความผิดปกติที่ประกอบด้วยความไม่ใส่ใจตนเอง (self-neglect) อย่างรุนแรง, ปล่อยเคหสถานสกปรกซกมก (domestic squalor), ถอยห่างจากสังคม (social withdrawal), ความเฉยชาไร้อารมณ์ (apathy), เก็บสะสมขยะ (compulsive hoarding of garbage) หรือ การเก็บสะสมสัตว์ (Animal hoarding) และขาดความละอาย (lack of shame) ผู้ป่วยอาจแสดงอาการเคลื่อนไหวน้อยหรือมากเกิน (Catatonia)[1][2]

อาการนี้เป็นที่รับรู้ครั้งแรกในปี 1966[3] และตั้งชื่อว่าโรคไดออจอินีสโดยคลาร์กและคณะ[4] ชื่อของโรคนั้นตั้งตามชื่อของไดออจอินีส นักปรัชญากรีกโบราณ ผู้ยึดถือลัทธิซีนิก (Cynicism) และผู้ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย (simple living) ขั้นสุด มีการบันทึกไว้ว่าไดออจอินีสอาศัยอยู่ในไกขนาดใหญ่ในเมืองเอเธนส์ เขาไม่เพียงแต่ไม่ใช่คนที่สะสมข้าวของแต่ยังไขว่คว้าหาความสัมพันธ์กับผู้คนด้วยการเสี่ยงภัยไปกลับ Agora ทุกวัน ดังนั้นการนำชื่อเขามาตั้งเป็นชื่อโรคนี้จงถือว่าผิดที่ผิดทาง (misnomer)[5][6][7] ชื่ออื่น ๆ ที่มีการเสนอใช้คือ ความแตกหักในวัยชรา (senile breakdown), Plyushkin's Syndrome (ตั้งชื่อตามตัวละครสมมติชื่อ Plyushkin),[5] ความแตกหักจากสังคม (social breakdown) และ อาการซกมกในวัยชรา (senile squalor syndrome)[8] Orrell และคณะ (1989) พบว่าความผิดปกติที่สมองกลีบหน้าอาจมีผลต่อการเกิดอาการนี้ได้[9]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Cybulska, E; Rucinski, J (1986). "Gross Self-neglect in Old Age". Br J Hosp Med. 36 (1): 21–23. PMID 3535960.
  2. Rosenthal, M; Stelian, J; Wagner, J; Berkman, P (1999). "Diogenes syndrome and hoarding in the elderly: case reports". The Israel Journal of Psychiatry and Related Sciences. 36 (1): 29–34. PMID 10389361.
  3. Macmillan, D; Shaw, P. (1966). "Senile breakdown in standards of personal and environmental cleanliness". BMJ. 2 (5521): 1032–7. doi:10.1136/bmj.2.5521.1032. PMC 1944569. PMID 5919035.
  4. Clark, AN; Mankikar, GD; Gray, I (1975). "Diogenes syndrome A clinical study of gross neglect in old age". Lancet. 1 (7903): 366–368. doi:10.1016/S0140-6736(75)91280-5. PMID 46514.
  5. 5.0 5.1 Cybulska, E (1998). "Senile Squalor: Plyushkin's not Diogenes Syndrome". Psychiatric Bulletin. 22 (5): 319–320. doi:10.1192/pb.22.5.319.
  6. (01-28-2006) by Alicia M. Canto, in: "Uso y abuso de Diógenes"
  7. Marcos, M; Gomez-Pellin, MC. (2008). "A tale of a misnamed eponym: Diogenes syndrome". Int J Geriatr Psychiatry. 23 (9): 990–1. doi:10.1002/gps.2005. PMID 18752218.
  8. Cooney, C; Hamid, W (1995). "Review: diogenes syndrome". Age and Ageing. 24 (5): 451–3. doi:10.1093/ageing/24.5.451. PMID 8669353.
  9. Orrell, M; Sahakian, B. (1991). "Dementia of frontal type". Psychol Med. 21 (3): 553–6. doi:10.1017/S0033291700022170. PMID 1946843.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]