กลุ่มรัฐกะเหรี่ยงแดง
กลุ่มรัฐกะเหรี่ยงแดง | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ประมาณพุทธศตวรรษที่ 22–พ.ศ. 2502 | |||||||||
แผนที่ของกลุ่มรัฐกะเหรี่ยงแดงเมื่อ พ.ศ. 2460 | |||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษากะยา | ||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||
• รัฐแบบจารีตที่เป็นเอกราชของชาวกะเหรี่ยงแดง | ประมาณพุทธศตวรรษที่ 22 | ||||||||
• การสละตำแหน่งของเจ้าฟ้า | พ.ศ. 2502 | ||||||||
พื้นที่ | |||||||||
1901 | 8,106 ตารางกิโลเมตร (3,130 ตารางไมล์) | ||||||||
ประชากร | |||||||||
• 1901 | 45795 | ||||||||
|
กลุ่มรัฐกะเหรี่ยงแดง (พม่า: ကရင်နီပြည်နယ်များ; อังกฤษ: Karenni States) หรือเรียก เมืองยางแดง เป็นชื่อเรียกกลุ่มรัฐของชาวกะเหรี่ยงแดง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของรัฐกะยา ประเทศพม่า ดินแดนนี้อยู่ทางใต้ของสหพันธรัฐชานและทางตะวันออกของพม่าของอังกฤษ รัฐบาลของบริติชอินเดียและพระเจ้ามินดงแห่งราชวงศ์อลองพญา ได้ลงนามในสนธิสัญญารับรองเอกราชของกลุ่มรัฐกะเหรี่ยงแดงใน พ.ศ. 2418 ดินแดนนี้ไม่เคยถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของพม่าของอังกฤษ เมื่อพม่าได้รับเอกราช กลุ่มรัฐกะเหรี่ยงแดงกลายเป็นรัฐกะยา[1]แต่ตั้งแต่ 29 เมษายน พ.ศ. 2502 ทั้งรัฐชานและรัฐกะยาถูกปกครองโดยรัฐบาลพม่าโดยตรง[2]
ประวัติศาสตร์
[แก้]ไม่มีข้อมูลทางประวะติศาสตร์ที่ชัดเจนของกลุ่มรัฐกะเหรี่ยงแดงก่อนพุทธศตวรรษที่ 24 จากหลักฐานยุคต้นของกลุ่มรัฐเหล่านี้ปรากฏเพียงว่ากลุ่มรัฐเหล่านี้ปกครองโดยเจ้าฟ้าและอยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าฟ้าไทใหญ่
การปกครองของอังกฤษในพม่า
[แก้]ใน พ.ศ. 2407 เจ้าฟ้ากะเหรี่ยงแดงได้ร้องขอให้อังกฤษเข้ามาอารักขา แต่อังกฤษไม่ได้แสดงความสนใจ หลังจากเจ้าฟ้าพระองค์นั้นสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. 2412 โอรสทั้งสององค์หวั่นเกรงการรุกรานของพม่าจึงร้องขอการคุ้มครองจากอังกฤษ แต่อังกฤษปฏิเสธ เมื่อพม่าต้องการรวมเขตของกะเหรี่ยงแดงเข้ามาในการปกครอง อังกฤษได้รับรองความเป็นเอกราชของรัฐทั้งสี่ ซึ่งต่อมา รัฐกะเหรี่ยงแดง 4 รัฐคือบอละแค นามเมกอน นองปาเล และเจโบจี ถือเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษตั้งแต่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2418 ส่วนกันตรวดีถือว่าเป็นเอกราชแต่ไม่อยู่ภายใต้การอารักขาของอังกฤษ[3]
กลุ่มรัฐกะเหรี่ยงแดงมีสถานะเป็นเมืองขึ้นของพม่าของอังกฤษใน พ.ศ. 2435 เมื่อผู้ปกครองของกลุ่มรัฐเหล่านี้ยอมรับข้าหลวงจากรัฐบาลอังกฤษ ต่อมา ในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2465 กลุ่มรัฐกะเหรี่ยงแดงและรัฐชานได้รวมกันเป็นสหพันธรัฐชาน[4]ภายใต้การดูแลข้าหลวงอังกฤษซึ่งดูแลกลุ่มรัฐว้าด้วย
ในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐเชียงตุงถูกรุกรานโดยกองทัพพายัพของไทย[5] ต่อมา สนธิสัญญาระหว่างจักรวรรดิญี่ปุ่นกับจอมพล ป. พิบูลสงครามของไทยในเดือนธันวาคม ปีเดียวกันนั้น ได้ยกดินแดนเชียงตุงและเมืองพานรวมทั้งกะเหรี่ยงแดงตะวันออก การผนวกเกิดขึ้นเมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2486[6] ไทยได้คืนดินแดนที่ผนวกนี้ใน พ.ศ. 2488 และยกเลิกการอ้างสิทธิเหนือเชียงตุงอย่างเด็ดขาดในพ.ศ. 2489 เพื่อเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ และถอนตัวจากการต้องเป็นผู้แพ้สงครามเพราะเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ[7]
หลังจากพม่าได้รับเอกราช
[แก้]รัฐธรรมนูญของสหภาพพม่า พ.ศ. 2490 ได้ให้กลุ่มรัฐกะเหรี่ยงแดงรวมเข้ากับสหภาพพม่าในฐานะรัฐเดียวคือรัฐกะเหรี่ยงแดงและสามารถแยกตัวออกมาได้หลังจากรวมกันแล้ว 10 ปี ใน พ.ศ. 2495 ดินแดนเมืองไปที่เคยอยู่ในรัฐชานได้ถูกนำมารวมกับรัฐกะเหรี่ยงแดงและเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐกะยา
รัฐ
[แก้]รัฐในกลุ่มรัฐกะเหรี่ยงแดงมี 5 รัฐ โดยแบ่งเป็นสองบริเวณคือ
- กะเหรี่ยงแดงตะวันตก อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน ประกอบด้วย 4 รัฐคือ บอละแค นามเมกอน นองปาเล และเจโบจี
- กันตรวดี อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน บางครั้งเรียกกะเหรี่ยงแดงตะวันออก เคยถูกผนวกรวมกับสหรัฐไทยเดิมของไทยระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Map of Shan States c.1910
- ↑ Shan and Karenni States of Burma
- ↑ Imperial Gazetteer of India, v. 15, p. 36.
- ↑ "Myanmar Divisions". Statoids. สืบค้นเมื่อ 2009-04-10.
- ↑ "Thailand and the Second World War". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-27. สืบค้นเมื่อ 2014-12-16.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Shan and Karenni States of Burma
- ↑ David Porter Chandler & David Joel Steinberg eds. In Search of Southeast Asia: A Modern History. p. 388