สหพันธรัฐฉาน
สหพันธรัฐฉาน | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พ.ศ. 2465–พ.ศ. 2492 | |||||||||
แผนที่รัฐฉานและกะเรนนีเมื่อ พ.ศ. 2460 | |||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาไทใหญ่ | ||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||
• การจัดตั้ง | พ.ศ. 2465 | ||||||||
• พม่าได้รับเอกราช | พ.ศ. 2492 | ||||||||
|
สหพันธรัฐฉาน หรือ แคว้นสหรัฐไทยใหญ่[1] (อังกฤษ: Federated Shan States; ไทใหญ่: မိူင်းႁူမ်ႈတုမ်ႊၸိုင်ႈတႆး Muang Hom Tum Jueng Tai) เป็นชื่อของหน่วยทางการบริหารในจักรวรรดิอังกฤษ ครอบคลุมดินแดนของรัฐฉานและรัฐกะเรนนีในพม่าปัจจุบัน ในขณะที่อังกฤษเข้ามาปกครองพม่า การจัดตั้งสหพันธรัฐเป็นการเตรียมการเพื่อถ่ายโอนอำนาจของเจ้าฟ้ามาสู่รัฐบาลพม่า สถานะของเจ้าฟ้าภายในระบบนี้เทียบได้กับราชรัฐในอินเดียที่ได้ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2431[2]
ในช่วงที่อังกฤษปกครอง เจ้าฟ้าที่ปกครองไทใหญ่มี 7 เมือง ปกครองด้วยราชวงศ์ท้องถิ่น และมีข้าหลวงอังกฤษดูแล 1 คน และได้รวมการบริหารรัฐกะเรนนีเข้ามาด้วยเมื่อ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2465 และเรียกชื่อว่าสหพันธรัฐฉาน[3] ภายใต้การดูแลของข้าหลวงใหญ่อังกฤษซึ่งยังดูแลกลุ่มรัฐว้าด้วย[4] ต่อมา ในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐเชียงตุงถูกรุกรานโดยกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ตามข้อตกลงก่อนหน้านี้ระหว่างรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามกับจักรวรรดิญี่ปุ่น ในเดือนธันวาคมของปีเดียวกันนั้น กองทัพพายัพของไทยได้เข้ายึดครองพื้นที่บางส่วนของรัฐกะเรนนีที่อยู่ระหว่างชายแดนไทยกับแม่น้ำสาละวิน ซึ่งกินพื้นที่ฝั่งตะวันออกของรัฐกันตรวดี รวมทั้งพื้นที่ของรัฐเชียงตุงและเมืองพาน ไทยเรียกดินแดนที่ถูกผนวกนี้ว่าสหรัฐไทยเดิม ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2486[5] ไทยได้คืนดินแดนนี้ให้อังกฤษใน พ.ศ. 2488
หลังจากพม่าได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2491 สหพันธรัฐฉานได้เข้าร่วมในสหภาพพม่าในฐานะรัฐฉานและรัฐกะยา โดยมีสิทธิจะแยกตัวออกจากสหภาพตามความตกลงเวียงปางหลวง หลังการรัฐประหารใน พ.ศ. 2505 สิทธิของรัฐฉานในการแยกตัวออกและสถานะต่าง ๆ ของเจ้าฟ้าถูกยกเลิกโดยรัฐบาลทหารของเนวีน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประกาศกรมบัญชาการทัพใหญ่ เรื่องยกเลิกประกาศบัญชาการทหารสูงสุด เรื่องเปลี่ยนชื่อแคว้นสหรัฐไทยใหญ่เป็นสหรัฐไทยเดิม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 62 (55ง): 1446. 2 ตุลาคม พ.ศ. 2488.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Chao Tzang Yawnghwe, The Shan of Burma: Memoirs of a Shan Exile. p.77
- ↑ "Myanmar Divisions". Statoids. สืบค้นเมื่อ 2009-04-10.
- ↑ Jean Michaud, Historical Dictionary of the Peoples of the Southeast Asian Massif, p. 213
- ↑ Shan and Karenni States of Burma