กลุ่มยุโรปตะวันตกและอื่น ๆ
กลุ่มยุโรปตะวันตกและอื่น ๆ (อังกฤษ: Western European and Others Group; WEOG) เป็นการแบ่งกลุ่มภูมิภาคอย่างไม่เป็นทางการกลุ่มหนึ่งในสหประชาชาติ โดยทำหน้าที่เป็นกลุ่มลงคะแนนเสียงและที่ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเจรจา กลุ่มลงคะแนนเสียงภูมิภาคนี้ได้รับการก่อตั้งใน พ.ศ. 2504 เพื่อสนับสนุนการเลือกตั้งในหน่วยงานหลายหน่วยของสหประชาชาติจากกลุ่มภูมิภาค ประเทศสมาชิกเกือบทั้งหมดตั้งอยู่ในยุโรปตะวันตก แต่กลุ่มดังกล่าวไม่ปกติตรงที่ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ไม่ใช่ปัจจัยตัดสินเพียงอย่างเดียวว่าประเทศใดบ้างที่อยู่ในกลุ่มนี้ ทวีปยุโรปแบ่งออกเป็นกลุ่มกลุ่มยุโรปตะวันตกและอื่น ๆ และกลุ่มยุโรปตะวันออก นอกจากนั้น กลุ่มนี้ยังประกอบด้วยแคนาดา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งมีวัฒนธรรมและการเมืองสืบทอดมาจากรัฐยุโรปตะวันตกแต่ตั้งอยู่ห่างจากกันมาก ทางกลุ่มยังประกอบด้วยผู้สังเกตการณ์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (ซึ่งไม่สามารถลงคะแนนเสียง แต่สามารถเสนอชื่อให้กับสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้) และสมาชิกเต็มชั่วคราว ได้แก่ อิสราเอล (บนพื้นฐานของ "การต่ออายุสมาชิกภาพเต็มตัวชั่วคราวอย่างถาวร")
ใน พ.ศ. 2550 กลุ่มประกอบด้วยรัฐสมาชิก 28 ประเทศ[1] และได้รับการอนุมัติอีกครั้งหนึ่งใน พ.ศ. 2553[2]
รัฐสมาชิก
[แก้]รัฐสมาชิกถาวรในยุโรปตะวันตก
[แก้]
|
รัฐสมาชิกถาวรอื่น
[แก้]รัฐสมาชิกมีสิทธิ์ขาดในกลุ่ม บนพื้นฐานของการต่ออายุสสมาชิกภาพเต็มตัวชั่วคราวอย่างถาวร
[แก้]- อิสราเอล: ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2543 อิสราเอล ถึงแม้ว่าในแง่ของภูมิศาสตร์แล้วจะเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเอเชีย แต่ได้รับการขัดขวางโดยกลุ่มประเทศอาหรับ จึงได้ทำให้อิสราเอลกลายเป็นสมาชิกเต็มตัวของกลุ่มยุโรปตะวันตกและอื่น ๆ บนพื้นฐานชั่วคราว (สามารถเปลี่ยนแปลงกลับคืนสภาพได้) ในสำนักงานใหญ่ของกลุ่มยุโรปตะวันตกและกุล่มอื่นในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้อิสราเอลสามารถเสนอชื่อประเทศสำหรับการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในหน่วยงานทั้งหลายของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ พ.ศ. 2547 อิสราเอลได้รับการต่ออายุสมาชิกภาพอย่างถาวร[3] (ในสำนักงานใหญ่ของกลุ่มกลุ่มยุโรปตะวันตกและอื่น ๆในสหรัฐ ขณะที่ยังเป็นผู้สังเกตการณ์ในสำนักงานสหประชาชาติในเจนีวา โรม และเวียนนา)[4] 14 มิถุนายน พ.ศ. 2548 แดน กิลเลอร์แมน ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งรองประธานสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติคนที่ 60 ซึ่งชาวอิสราเอลคนสุดท้ายที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว คือ อุปทูตสหรัฐ อับบา อีบัน ใน พ.ศ. 2495 การสมัครของอิสราเอลได้รับการเสนอโดยกลุ่มกลุ่มยุโรปตะวันตกและอื่น ๆ สหประชาชาติ ในตำแหน่งดังกล่าว กิลเลอร์แมนได้มีบทบาทเป็นศูนย์กลางในการเจรจาระยะแรกของความขัดแย้งอิสราเอล-เลบานอน พ.ศ. 2549
รัฐสมาชิกมีสิทธิ์ในกลุ่ม บนพื้นฐานไม่มีสิทธิ์ขาด
[แก้]- ตุรกี ได้เป็นสมาชิกเต็มตัวทั้งกลุ่มกลุ่มยุโรปตะวันตกและอื่น ๆและกลุ่มเอเชีย แต่สำหรับจุดประสงค์ด้านการเลือกตั้งแล้ว ได้รับการพิจารณาว่าเป็นสมาชิกของกลุ่มกลุ่มยุโรปตะวันตกและอื่น ๆ[5]
ผู้สังเกตการณ์
[แก้]- สหรัฐอเมริกา: สมัครใจเลือกที่จะไม่เข้าเป็นสมาชิกของกลุ่ม[6] และเข้าร่วมการประชุมในฐานะผู้สังเกตการณ์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกาได้รับการพิจารณาว่าเป็นสมาชิกจากการเสนอชื่อในจุดประสงค์การเลือกตั้งในสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ[7][5]
ข้อเสนอในการจัดระเบียบกลุ่มใหม่
[แก้]พ.ศ. 2543 ครบรอบหนึ่งปีการดำรงสมาชิกภาพกลุ่มเอเชียของนาอูรู ทำให้ได้รับการเรียกร้องจากประเทศให้จัดตั้งกลุ่มภูมิภาคโอเชียเนียขึ้น ร่วมไปถึงออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ภายในระบบการเลือกตั้งภูมิภาคสหประชาชาติ[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ UN-HABITAT's Global Report on Human Settelments เก็บถาวร 2011-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 2007 (p. 330)
- ↑ Official UN list of Regional Groups เก็บถาวร 2011-06-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (p. 2), at UN website. UNAIDS, The Governance Handbook, January 2010 เก็บถาวร 2011-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (p. 29).
- ↑ UN Commission for Human Rights, Resolution 624.
- ↑ Justin Gruenberg: An Analysis of United Nations Security Council Resolutions เก็บถาวร 2010-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (p. 479, n. 68).
- ↑ 5.0 5.1 UN-HABITAT's Global Report on Human Settelments, 2007 เก็บถาวร 2011-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (p. 335, n. 2). UNAIDS, The Governance Handbook, January 2010 เก็บถาวร 2011-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (p. 29, first note).
- ↑ Justin Gruenberg: An Analysis of United Nations Security Council Resolutions เก็บถาวร 2010-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (p. 479).
- ↑ Official UN list of Regional Groups เก็บถาวร 2011-06-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (p. 2, note).
- ↑ See at UN website.