กลุ่มภาษามลายู-พอลินีเชีย
กลุ่มภาษามลายู-พอลินีเชีย | |
---|---|
ภูมิภาค: | เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียตะวันออก, มหาสมุทรแปซิฟิก, มาดากัสการ์ |
การจําแนก ทางภาษาศาสตร์: | ออสโตรนีเซียน
|
ภาษาดั้งเดิม: | มลายู-พอลินีเชียดั้งเดิม |
กลุ่มย่อย: |
|
ISO 639-5: | poz |
กลอตโตลอก: | mala1545[1] |
กลุ่มภาษามลายู-พอลินีเชียตะวันตกอื่น (ภูมิศาสตร์)
กลุ่มภาษามลายู-พอลินีเชียกลาง (ภูมิศาสตร์)
กลุ่มภาษาโอชีแอนิกตะวันตกสุด | |
กลุ่มภาษามลายู-พอลินีเชีย เป็นกลุ่มย่อยของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน มีผู้พูดทั้งหมดราว 351 ล้านคน แพร่กระจายในบริเวณหมู่เกาะตั้งแต่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงหมู่เกาะแปซิฟิก และมีจำนวนเล็กน้อยในผืนแผ่นดินของทวีปเอเชีย ภาษามาลากาซีเป็นภาษาในกลุ่มนี้ที่อยู่ห่างไกลที่สุดใช้พูดบนเกาะมาดากัสการ์ในมหาสมุทรอินเดีย
ลักษณะเฉพาะของกลุ่มภาษานี้คือมีแนวโน้มใช้การซ้ำคำทั้งหมดหรือบางส่วนเพื่อแสดงรูปพหูพจน์ การออกเสียงเป็นแบบง่าย ๆ ไม่ค่อยพบกลุ่มของพยัญชนะ เช่น str หรือ mpt ในภาษาอังกฤษ มีเสียงสระใช้น้อย ส่วนมากมีห้าเสียง
การจัดจำแนก
[แก้]หลายทศวรรษที่ผ่านมา กลุ่มภาษามลายู-พอลินีเชียถูกแบ่งเป็นกลุ่มตะวันตกและกลุ่มกลาง–ตะวันออก การแบ่งของกลุ่มตะวันตกเป็นการแบ่งโดยใช้ลักษณะทางภูมิศาสตร์โดยไม่มีความเกี่ยวพันกับหน่วยทางภาษาศาสตร์ ในปัจจุบันกลุ่มตะวันตกนี้จึงแบ่งเป็นกลุ่มนอกและกลุ่มในที่กลายเป็นสาขาย่อยของกลุ่มภาษามลายู-พอลินีเชียศูนย์กลาง กลุ่มในเรียกว่ากลุ่มภาษาบอร์เนียว-ฟิลิปปินส์ กลุ่มนอกเรียกว่า กลุ่มภาษาซุนดา-ซูลาเวซี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "มลายู-พอลินีเชีย". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.