กระแจะ (พืช)
กระแจะ | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Tracheophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Sapindales |
วงศ์: | Rutaceae |
สกุล: | Naringi |
สปีชีส์: | N. crenulata |
ชื่อทวินาม | |
Naringi crenulata (Roxb.) D.H. Nicolson | |
ชื่อพ้อง | |
กระแจะ พญายา หรือ ทานาคา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Naringi crenulata) เป็นพืชในวงศ์ส้ม ลักษณะเป็นไม้ต้นขนาดเล็กหรือกึ่งไม้พุ่ม ไม่ผลัดใบ สูง 2–15 เมตร ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็ง เปลือกต้นสีน้ำตาลขรุขระ ใบแบบใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับกัน มีใบย่อยรูปรีแกมรูปไข่กลับ 4–13 ใบ ขนาด 1.5–3 x 2–7 เซนติเมตร โคนและปลายใบสอบแคบ ขอบใบหยักฟันเลื่อยตื้น ๆ ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวรวมเป็นกระจุกตามกิ่ง กลีบดอกมี 4 กลีบ สีขาวหรือสีขาวอมเหลือง กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ รังไข่มี 4 ช่อง เกสรตัวผู้มี 5 อัน ดอกมีกลิ่นหอมเย็น ผลเป็นผลสดกลม ขนาด 0.5–1 เซนติเมตร เมื่ออ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จัดมีสีม่วงคล้ำ มีรสเปรี้ยว ภายในมี 1–4 เมล็ด[1][2]
กระแจะมีถิ่นกำเนิดในอินเดีย ศรีลังกา และอินโดจีน[3] เนื้อไม้เมื่อตัดมาใหม่ ๆ จะมีสีขาว หากทิ้งไว้นานจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนเหลืองอ่อน ใช้ฝนเป็นผงละเอียดทาเพื่อประทินผิว นิยมใช้กันมากในประเทศพม่า[4] เปลือกต้นมีรสขม แก้ไข้ บำรุงดวงจิต แก่นมีรสจืดเย็น ดองเหล้าดื่มแก้กระษัย ดับพิษร้อน[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ คำอธิบาย ตำราพระโอสถพระนารายณ์, ชยันต์ พิเชียรสุนทร และคณะ, หน้า 373–374, พ.ศ. 2558, สำนักพิมพ์อมรินทร์ กรุงเทพฯ
- ↑ "กระแจะ (Naringi crenulata)". ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. สืบค้นเมื่อ March 6, 2020.
- ↑ "Naringi crenulata (Roxb.) Nicolson". Plants of the World Online - Kew Science. สืบค้นเมื่อ March 6, 2020.
- ↑ แพงเงิน, ไพบูลย์ (2556). สมุนไพร รู้ใช้ไกลโรค (สมุนไพรคู่บ้าน 2). กรุงเทพมหานคร, ไทย: สำนักพิมพ์มติชน. p. 86. ISBN 9789740211228.
- ↑ "กระแจะ - Naringi crenulata". ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. สืบค้นเมื่อ March 6, 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ กระแจะ
- ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Naringi crenulata ที่วิกิสปีชีส์