กระสัง
กระสัง | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Magnoliids |
อันดับ: | Piperales |
วงศ์: | Piperaceae |
สกุล: | Peperomia |
สปีชีส์: | P. pellucida |
ชื่อทวินาม | |
Peperomia pellucida Kunth | |
ชื่อพ้อง | |
Piper concinnum Haw. |
กระสัง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Peperomia pellucida) เป็นไม้ล้มลุก ขนาดเล็ก สูงประมาณ 25 เซนติเมตร ลำต้นสีเขียวใส ใบสีเขียวอ่อน รูปหัวใจ รูปร่างคล้ายใบพลู ต้นและใบอวบน้ำ ออกดอกเป็นช่อ ขนาดเล็ก คล้ายช่อดอกของพริกไทย เมื่อถูกบดขยี้จะส่งกลิ่นคล้ายมัสตาร์ด ในทางสมุนไพรใช้ตำพอกฝี
ถิ่นอาศัย
[แก้]กระสังเป็นพืชที่ออกดอกตลอดทั้งปี พบได้ในพื้นที่ร่มรื่นและชุ่มชื้นหลากหลายแห่งทั่วเอเชียและอเมริกา พืชชนิดนี้มักเติบโตเป็นกลุ่ม เจริญได้ดีในดินร่วนชื้นและสภาพอากาศเขตร้อนถึงกึ่งเขตร้อน
การใช้ประโยชน์
[แก้]กระสังถูกนำมาใช้ประโยชน์ในทางอาหารและเป็นสมุนไพรทางยา แม้ว่าจะส่วนใหญ่จะถูกปลูกเพื่อประดับตกแต่งเพราะใบที่สวยงามเป็นหลัก แต่พืชชนิดนี้ยังสามารถรับประทานได้ทั้งต้น ทั้งในรูปแบบปรุงสุกและดิบ
เภสัชวิทยา
[แก้]กระสังมีคุณสมบัติในการบรรเทาอาการปวด ซึ่งเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์โพรสตาแกลนดิน[1] พืชชนิดนี้อาจมีศักยภาพในการเป็นยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมหลากหลายชนิด ดังที่แสดงในการทดสอบกับ Staphylococcus aureus, Bacillus subtilis, Pseudomonas aeruginosa และ Escherichia coli[2] นอกจากนี้ สารสกัดคลอโรฟอร์มจากใบแห้งของ P. pellucida ยังแสดงฤทธิ์ต้านเชื้อรา Trichophyton mentagrophytes ในการทดลองในหลอดทดลอง (in vitro)[3]
กระสังได้รับการพิสูจน์ว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ (ในรูปแบบบวมของอุ้งเท้า) และฤทธิ์บรรเทาอาการปวดจากการทดลองในหนู[4]
แม้ว่าพืชชนิดนี้อาจทำให้เกิดอาการคล้ายโรคหืดในผู้ที่มีประวัติแพ้เฉพาะต่อพืชชนิดนี้ แต่ยังไม่มีข้อมูลในรายงานใดที่บ่งชี้ถึงความเป็นพิษต่อมนุษย์
การแพทย์ท้องถิ่น
[แก้]การใช้กระสังในทางการแพทย์ท้องถิ่นนั้นมีความหลากหลาย พืชชนิดนี้ถูกใช้ในการรักษาอาการปวดท้อง, ฝี, สิว, ตุ่มหนอง, อาการปวดเกร็ง, เหนื่อยล้า, โรคเกาต์, ปวดศีรษะ, ความผิดปกติของไต และอาการปวดข้อรูมาติก[5][6] ในประเทศโบลิเวีย ชนเผ่าอัลเตโญส (Alteños) ใช้พืชชนิดนี้ทั้งต้นเพื่อหยุดอาการตกเลือด และใช้ส่วนรากเพื่อรักษาอาการไข้ นอกจากนี้ยังใช้ส่วนที่อยู่เหนือดินเพื่อปกปิดบาดแผล[7] ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล พืชชนิดนี้ถูกใช้เพื่อลดระดับคอเลสเตอรอล[8] ในกายอานาและแถบแอมะซอน พืชชนิดนี้เป็นที่นิยมในการใช้เป็นยาระงับอาการไอ, ยาทำให้ผิวนุ่ม และยาขับปัสสาวะ รวมถึงใช้รักษาโปรตีนในปัสสาวะ[9][10] และใช้เป็นยาทาภายนอกสำหรับโรคผิวหนัง เช่น สิวและตุ่มหนอง ในภาคตะวันตกของไนจีเรียมีการใช้สารสกัดจากน้ำของพืชชนิดนี้เพื่อรักษาความดันโลหิตสูง, การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ และอาการนอนไม่หลับ ในฟิลิปปินส์ พืชชนิดนี้เป็นหนึ่งในสมุนไพร 10 ชนิดที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้ใช้ โดยใช้ลดระดับกรดยูริก ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคข้ออักเสบและเกาต์[11] สามารถใช้เป็นยาต้มดื่มหรือรับประทานสดในรูปแบบสลัด
ชื่อทั่วไป
[แก้]ภาษาอังกฤษมีชื่อเรียกกระสังว่า pepper elder, silverbush, rat-ear, man-to-man, clearweed (อเมริกาเหนือ)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Aziba, Peter I.; Adedeji, A.; Ekor, M.; Adeyemi, O. (2001-01). "Analgesic activity of Peperomia pellucida aerial parts in mice". Fitoterapia (ภาษาอังกฤษ). 72 (1): 57–58. doi:10.1016/S0367-326X(00)00249-5.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Bojo AC; Albano-Garcia E; Pocsidio GN (1994). "The antibacterial activity of Peperomia pellucida (L.) HBK (Piperaceae)". Asia Life Sci. 3: 35–44.
- ↑ Ragasa CY; Dumato M; Rideout JA (1998). "Antifungal compounds from Peperomia pellucida". ACGC Chem Res Commun. 7: 54–61.
- ↑ de Fátima Arrigoni-Blank, Maria; Dmitrieva, Elena G; Franzotti, Elaine Maria; Antoniolli, Angelo Roberto; Andrade, Márcio Roberto; Marchioro, Murilo (2004-04-01). "Anti-inflammatory and analgesic activity of Peperomia pellucida (L.) HBK (Piperaceae)". Journal of Ethnopharmacology. 91 (2): 215–218. doi:10.1016/j.jep.2003.12.030. ISSN 0378-8741.
- ↑ Khan MR , Omoloso AD . Antibacterial activity of Hygrophila stricta and Peperomia pellucida . Fitoterapia . 2002;73:251-254.
- ↑ Aziba PI , Adedeji A , Ekor M , Adeyemi O . Analgesic activity of Peperomia pellucida aerial parts in mice . Fitoterapia . 2001;72:57-58
- ↑ Muñoz V , Sauvain M , Bourdy G , et al. A search for natural bioactive compounds in Bolivia through a multidisciplinary approach: Part III. Evaluation of the antimalarial activity of plants used by Alteños Indians . J Ethnopharmacol . 2000;71:123-131
- ↑ Bayma JD , Arruda MS , Müller AH , Arruda AC , Canto WC . A dimeric ArC 2 compound from Peperomia pellucida . Phytochemistry . 2000;55:779-782.
- ↑ Arrigoni-Blank Mde F , Oliveira RL , Mendes SS , et al. Seed germination, phenology, and antiedematogenic activity of Peperomia pellucida (L.) H. B. K. BMC Pharmacol . 2002;2:12-19.
- ↑ de Fatima Arrigoni-Blank M , Dmitrieva EG , Franzotti EM , Antoniolli AR , Andrade MR , Marchioro M . Anti-inflammatory and analgesic activity of Peperomia pellucida (L.) HBK (Piperaceae) . J Ethnopharmacol. 2004;91:215-218.
- ↑ https://riitmc.doh.gov.ph/health-guide/?appgw_azwaf_jsc=mtaLnrFlBjYgrw_1En84Q3K9TTDAhBixzXeSXs5ouBU