ข้ามไปเนื้อหา

กระสวยอวกาศโคลัมเบีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โคลัมเบีย
Columbia
โคลัมเบีย ในภารกิจสุดท้าย STS-107
รหัสOV-102
ประเทศสหรัฐอเมริกา
วันทำสัญญา26 กรกฎาคม พ.ศ. 2515
ตั้งชื่อตามRobert Gray’s Columbia Rediviva
สถานะถูกทำลาย
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546
บินครั้งแรกSTS-1
12 เมษายน พ.ศ. 2524
- 14 เมษายน พ.ศ. 2524
บินครั้งสุดท้ายSTS-107
16 มกราคม พ.ศ. 2546
- 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546
สถิติภารกิจ28
สถิติวันที่บิน300.74 วัน
สถิติโคจร4,808
ระดับโคจร201,497,772 กม.
(125,204,911 ไมล์)
เทียบดาวเทียม8
เทียบสถานีอวกาศ-

กระสวยอวกาศโคลัมเบีย (Orbiter Vehicle Designation: OV-102) เป็นกระสวยอวกาศลำแรกที่ใช้งานจริงของนาซา ซึ่งภารกิจแรกในเที่ยวบิน STS-1 เมื่อวันที่ 12 เมษายน ถึง 14 เมษายน ในปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ.1981) จนมาถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 กระสวยอวกาศโคลัมเบียได้เกิดอุบัติเหตุระเบิดขึ้นเหนือรัฐเท็กซัสขณะกลับสู่โลก หลังภารกิจครั้งที่ 28 เสร็จสิ้น ทำให้ลูกเรือในยานทั้ง 7 คนเสียชีวิต

ประวัติ

[แก้]

การสร้างยานโคลัมเบียเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2518 ที่ ในเมือง Palmdale รัฐแคลิฟอร์เนีย โคลัมเบียเป็นชื่อตั้งตามหลังจากเรือใบ honored Columbia ของฐานเรือใบเมืองBoston โดยกัปตันเรือ Robert Grey ชาวอเมริกันได้ทำการเดินทางสำรวจแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือและเป็นชาวอเมริกันคนแรกที่ใช้เรือใบสำรวจของโลก และชื่อจากโมดูลสั่งการของยานอพอลโล 11 หลังสร้างยานเสร็จยานได้ถูกส่งมาที่ศูนย์อวกาศจอห์น เอฟ. เคนเนดี ในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2522 สู่การเตรียมยิงปล่อยครั้งแรก ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2524 ในระหว่างเตรียมทดสอบ ground ได้มีสองคนงานเกิดการสลบจากการขาดอากาศขณะที่กำลังทำการล้างไนโตรเจน จนทำให้ทั้งสองเสียชีวิต

ลูกเรือโคลัมเบีย Thomas K. Mattingly และ Henry W. Hartsfield ทำความเคารพประธานาธิบดี โรนัลด์ เรแกน และ แนนซี หลังลงสู่พื้น ในปี 2525

ในปี พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) ยานโคลัมเบียได้เข้าร่วมปฏิบัติภารกิจลำกับสอง (STS-9 ในตอนนั้นมีนักท่องอวกาศหกคน หนึ่งในนั้นเป็นนักท่องอวกาศต่างชาติบนกระสวยอวกาศคือ Ulf Merbold และเมื่อมีการนำดิสคัฟเวอรีและ แอตแลนติสเข้ามาร่วม โคลัมเบียจึงไม่ได้ถูกนำมาใช้เป็นเวลาสามปี

โคลัมเบียได้กลับสู่อวกาศในวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2529 ซึ่งถูกปล่อยในเที่ยวบิน STS-61-C ในภารกิจนี้มี Dr. Franklin R. Chang-Diaz กับ Bill Nelson สมาชิกของสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกา ลองไปอวกาศด้วย

ต่อมาของภารกิจกระสวยถูกให้ชาเลนเจอร์ปฏิบัติ โดยกำหนดวันปล่อยในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2529 (ค.ศ.1986) 10 วันหลังเที่ยวบิน STS-61-C ถึงสู่โลก ภารกิจสิ้นสุดเมื่อเกิดการระเบิดหลังจากปล่อย จนเป็นปัญหากับตารางเวลากระสวยของนาซายุ่งเหยิง และโคลัมเบีย จึงไม่ได้บินอีกครั้งตั้งแต่ 2532 (ในเที่ยวบิน STS-28) ซิ่งหลังจากมันกลับเข้าที่โรงเก็บกระสวยอวกาศ

เที่ยวบิน STS-93 ถูกปล่อยในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) โดยมีผู้สั่งการคือ Lt. Col. Eileen Collins

โคลัมเบีย บนฐานปล่อยก่อนเริ่มปฏิบัติภารกิจแรก

เที่ยวบิน

[แก้]

กระสวยอวกาศโคลัมเบียใช้ปฏิบัติภารกิจมาแล้ว 28 ครั้ง รวมเวลาในอวกาศ 300.74 วัน โคจรรอบโลก 4,808 รอบ เป็นระยะเดินทางรวม 201,497,772 กิโลเมตร

โคลัมเบียไม่ได้ถูกใช้งานเทียบท่าสถานีอวกาศใน โครงการกระสวยอวกาศ–เมียร์ (Shuttle-Mir) และโครงการสถานีอวกาศนานาชาติ เช่นเดียวกับ ชาเลนเจอร์ ซึ่งประสบอุบัติเหตุก่อน และกระสวยอวกาศเอนเทอร์ไพรซ์ ซึ่งยังไม่เคยถูกใช้งานในอวกาศ ขณะที่กระสวยดิสคัฟเวอรี แอตแลนติส และ เอนเดฟเวอร์ เคยใช้ติดต่อกับสถานีอวกาศทั้งหมด

ครั้งที่ วันที่ เที่ยวบิน ฐานส่ง ลานลงจอด หมายเหตุ
1 12 เมษายน พ.ศ. 2524 STS-1 39-A ฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ด เที่ยวบินแรกของกระสวยอวกาศโคลัมเบีย
2 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 STS-2 39-A ฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ด ครั้งแรกของการนำยานอวกาศกลับมาใช้ซ้ำ
3 22 มีนาคม พ.ศ. 2525 STS-3 39-A White Sands Space Harbor -
4 27 มิถุนายน พ.ศ. 2525 STS-4 39-A ฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ด -
5 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525 STS-5 39-A ฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ด ครั้งแรกของการบรรทุกลูกเรือถึง 4 คน
6 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 STS-9 39-A ฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ด -
7 12 มกราคม พ.ศ. 2529 STS-61-C 39-A ฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ด -
8 8 สิงหาคม พ.ศ. 2532 STS-28 39-B ฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ด ปล่อยดาวเทียม KH-11 reconnaissance
9 9 มกราคม พ.ศ. 2533 STS-32 39-A ฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ด -
10 2 ธันวาคม พ.ศ. 2533 STS-35 39-B ฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ด -
11 5 มิถุนายน พ.ศ. 2534 STS-40 39-B ฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ด -
12 25 มิถุนายน พ.ศ. 2535 STS-50 39-A ศูนย์อวกาศเคนเนดี -
13 22 ตุลาคม พ.ศ. 2535 STS-52 39-B ศูนย์อวกาศเคนเนดี -
14 26 เมษายน พ.ศ. 2536 STS-55 39-A ฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ด -
15 18 ตุลาคม พ.ศ. 2536 STS-58 39-B ฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ด -
16 4 มิถุนายน พ.ศ. 2537 STS-62 39-B ศูนย์อวกาศเคนเนดี -
17 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 STS-65 39-A ศูนย์อวกาศเคนเนดี -
18 20 ตุลาคม พ.ศ. 2538 STS-73 39-B ศูนย์อวกาศเคนเนดี -
19 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 STS-75 39-B ศูนย์อวกาศเคนเนดี -
20 20 มิถุนายน พ.ศ. 2539 STS-78 39-B ศูนย์อวกาศเคนเนดี -
21 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 STS-80 39-B ฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ด -
22 4 เมษายน พ.ศ. 2540 STS-83 39-A ศูนย์อวกาศเคนเนดี -
23 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 STS-94 39-A ศูนย์อวกาศเคนเนดี -
24 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 STS-87 39-B ฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ด -
25 13 เมษายน พ.ศ. 2541 STS-90 39-B ฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ด -
26 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 STS-93 39-B ศูนย์อวกาศเคนเนดี ปล่อย กล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา
27 1 มิถุนายน พ.ศ. 2545 STS-109 39-A ศูนย์อวกาศเคนเนดี ปฏิบัติการบำรุงรักษา กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ครั้งที่ 3B
28 16 มกราคม พ.ศ. 2546 STS-107 39-A ไม่ได้ลง (กำหนดลงที่ศูนย์อวกาศเคนเนดี) ยานถูกทำลายขณะกลับสู่โลก นักบินเจ็ดคนบนยานเสียชีวิตทั้งหมด

เครื่องหมายภารกิจ

[แก้]
เครื่องหมายภารกิจสำหรับเที่ยวบินของโคลัมเบีย
STS 1
STS 2
STS 3
STS 4
STS 5
STS 9
STS 61-C
STS 28
STS 32
STS 35
STS 40
STS 50
STS 52
STS 55
STS 58
STS 62
STS 65
STS 73
STS 75
STS 78
STS 80
STS 83
STS 94
STS 87
STS 90
STS 93
STS 109
STS 107

เที่ยวบินสุดท้าย

[แก้]
ดูบทความหลักที่ โศกนาฏกรรมกระสวยอวกาศโคลัมเบีย
โคลัมเบีย ในเวลา 8:56 นาฬิกา 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 เหนือศูนย์กลางรัฐนิวเม็กซิโก และเศษฝุ่นของปีกซ้ายที่หลุดออกชัดเจน

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]